วันอาทิตย์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ก า ร เ ล่ น ข อ ง เ ด็ ก autism

 ก า ร เ ล่ น ข อ ง เ ด็ ก autism

การประยุกต์ใช้ IPG model ในโรงเรียน
ครูประจำชั้นมักมีคำถามเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เกี่ยวกับออทิสติก เพราะว่าเด็กจำนวนมากถูกจะบุว่าอยู่ในกลุ่ม autism spectrum (Center for Disease Control and Prevention, n.d.) ครูอยากได้ซึ่งแนวทางการบำบัด ที่สามารถทำมาปรับใช้ในโรงเรียนเกี่ยวกับความบกพร่องในการสื่อสาร และพฤติกรรมทางสังคมที่ผิดปกติ อย่างเช่น พฤติกรรมย้ำคิดย้ำทำ พฤติกรรมซ้ำๆ เป็นต้น


The importance of play in Children’s Development
กระบวนการเล่นนั้นสำคัญต่อพัฒนาการของเด็กซึ่งส่งผลต่อความสามารถหรือทักษะทางสังคมในเวลาต่อมา (Stone & La Greca, 1986) อย่างไรก็ตามบ่อยครั้งที่นักการศึกษาก็ไม่อาจพิจารณาได้ถึงทักษะทางการเล่นสำหรับจัดทำโปรแกรมการเล่นให้กับเด็กเล็กในกลุ่มออทิสติก จากการเล่น ประสบการณ์ ความคิดของเด็ก สังคม ภาษา การเคลื่อนไหว และพัฒนาการทางอารมณ์ (Furmen & Robbins, 1985; Rubin,1980; Rubin, Fein&Vandenberg, 1983) กิจกรรมนี้สำคัญใสการที่จะนำเด็กไปสูงการสำรวจบทบาททางสังคมที่หลากหลายและกฎระเบียบ และนำพวกเขาไปสู่โอกาสในการทำงานผ่านความวิตกกังวลและความขัดแย้งทางสังคม (Sroufe, Cooper&DeHart,1996) ปฏิสัมพันธ์ทางด้านบวกขณะเล่นกับเพื่อนจะช่วยพัฒนาในด้านความมั่นใจในตนเองและความสามารถทางสังคม (Cosaro&Schwartz, 1991; Furman&Robbins)
แบบอย่างที่เป็นไปตามธรรมชาติของพัฒนาการเด็กในการเล่นพบว่าจะมีความพึงพอใจ จินตนาการและปฏิสัมพันธ์ทางสังคมในทางตรงกันข้าม เด็กออทิสติกไม่ได้เป็นไปตามนั้นเด็กที่มีความบกพร่องมักขาดความสามารถในการเล่นที่เกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติและจินตนาการความคิด จึงทำให้มีข้อจำกัดในการเล่น บ่อยครั้งที่จะมีการเล่นซ้ำๆ เล่นไม่ถูกวิธีและไม่มีการเลียนแบบพฤติกรรมทางสังคม (APA, 2000) เด็กออทิสติกมีการเล่นที่ไม่หลากหลาย สนใจแต่รายละเอียดเล็กๆน้อยๆและสนับสนุนส่งเสริมให้เกิดลักษณะเหล่านั้นมากกว่า ลักษณะการเล่นที่เป็นแบบอย่างขอบเด็กทั่วไปหรือเด็ก Downs syndrome (Jackson et al.,2003; Williams, Reddy&Costall, 2001)


เด็กออทิสติกมีลักษณะที่ขัดขวางต่อพัฒนาการทางการเล่น คือ
1. เด็กที่มีทักษะทางการสื่อสารที่บกพร่องทำให้จำกัดบทบาทในการปฏิสัมพันธ์ทางการเล่น (e.g. Guralnick, 1990)
2. บ่อยครั้งที่เด็กออทิสติกยากที่จะตีความหมายหรือคาดเดาความคิด ความรู้สึกและพฤติกรรมของเด็กคนอื่นๆ ซึ่งเรียกว่า theery of mind ซึ่งผลกระทบต่อพัฒนาการของมิตรภาพของเพื่อน (Tager-Flusberg, 1999)
3. เนื่องจากความบกพร่องนี้ทำให้บ่อยครั้งที่ขัดขวางต่อความสนใจ พวกเขามักจะต่อต้านต่อการสำรวจการเล่นใหม่ๆ ร่วมกับเพื่อนคนอื่น
4. เมื่อเด็กที่มีความบกพร่องเหล่านี้ได้รับการชักชวนให้มาเล่น แต่ระดับการเล่นของเขานั้นต่ำกว่าของเด็กคนอื่น พวกเขาจึงไม่เข้าใจที่จะเล่น (Beckman&Kohl, 1987; Guralnick&Groom,1987)

ท้ายที่สุดเด็กเหล่านั้นก็ไม่เลือกที่จะปฏิสัมพันธ์กับเด็กที่มีความบกพร่องดังกล่าว (e.g.,Guralnick, Connor, Hammond, Gottman&Kinnish, 1995) หรือ มีความจำเป็นต้องฝึกฝนให้เกิดประสิทธิภาพในการเล่นแก่พวกเขา (Myles, Simpson, Ormsbee&Erikson, 1993)
ในที่สุดนักการศึกษาได้เลือกการจัดโปรแกรมในห้องเรียนโดยมีเป้าหมายคือ พัฒนาการและประโยชน์ทางด้านสังคมการเล่น เมื่อมีการพัฒนาจุดประสงค์สำหรับเด็กเล็กที่เป็นออทิสติก อย่างไรก็ตาม มีหลายๆ หลักการที่จะนำมาใช้สอนทักษะการเล่น ที่กำลังได้รับความนิยมอยู่ขณะนี้มี 2 วิธี คือ
1. ใช้เด็กปกติเป็นตัวอย่าง หรือการสอนโดยตรง
2. การใช้การรักษาในการจัดสิ่งแวดล้อมตามปกติธรรมดา
เพื่อสนับสนุนให้เกิดกระบวนการเกิดทักษะทางสังคมของเด็ก (e.g. Goldstein, Kaczmarek, Penningtan&Shafer, 1992; Kamps et al., 2002; Odom et al., 1999; Rogers, 2000; Strain, Kerr&Ragland, 1979) ในบทความนี้เราได้แนะนำ IPG ซึ่งพัฒนาโดย Pamela Wolfberg ซึ่งได้มีการพบก่อนหน้านี้ เราได้อธิบายถึงทำอย่างไรที่จะประสบความสำเร็จในการประยุกต์ใช้โปรแกรมนี้ในโรงเรียน


Description of Integrated Play Groups
IPG เป็นพื้นฐานจาก Lev Vygotsky’s social constructivist theory วัตถุประสงค์แรกของ IPG คือเพื่อปรับปรุงทักษะทางสังคมและ Symbolic play ในเด็กออทิสติก อายุระหว่าง 3-11 ปี สิ่งที่ยากสำหรับการเล่นคือ โมเดลนี้ให้ความสำคัญกับพัฒนาการการเล่นที่มาจากแรงขับภายในของตัวเด็กเองที่จะเล่นและปฏิสัมพันธ์กับคนอื่นๆ (Wolfberg, 1999)
ตามที่ Wolfberg และทีมงานได้มีการจัดเตรียมเด็กที่มีความสามารถต่างๆ กันมาช่วยกันคิดกิจกรรมการเล่นทั้งหมดร่วมกัน สิ่งที่จะนำไปสู่ทักษะทางสังคมและจินตนาการ รวมไปถึงความสนุกสนานและการมีเพื่อน สิ่งนี้เป็นอะไรที่น่าสนใจที่สามารถนำมาประกอบในคู่มือในหัวข้อ Peer Play and the Autism Spectrum: The Art of Guiding Children’s Socialization and Imagination, โดย Pamela Wolfberg (2003) สำหรับเป็นข้อมูลแนะแนวทางในการใช้โมเดลนี้


Composition and Structure of IPGs (ส่วนประกอบและโครงสร้างของ IPG)
IPG ประกอบด้วย Guides, Expert players, Novice players

  • Guides คือ กลุ่มผู้กระตุ้น ผู้ซึ่งจะฝึกและดำเนินการเกี่ยวกับ IPG model ซึ่งเป็นบุคคลที่มีประสบการณ์ในการทำงานกับเด็กออทิสติก


  • Expert players คือ กลุ่มเด็กที่มีทักษะทางสังคมดี การสื่อสารดี และมีทักษะจินตนาการการเล่นที่ดี โดยเลือกกลุ่มเด็กเหล่านี้จากหลายๆ ความสามารถและความสนใจ


  • Novice players ประกอบด้วยเด็กในกลุ่มออทิสติกและในกลุ่มที่มีความสามารถใกล้เคียงกัน



  • ในกลุ่มประกอบด้วยผู้เล่น 3-5 คน และมีอัตราส่วนของ Expert players มากกว่า Novice players
    IPG จัดขึ้นอย่างน้อย 2ครั้ง / สัปดาห์ แต่ละครั้งใช้เวลาประมาณ 30นาที ถึง 1 ชั่วโมง ในสิ่งแวดล้อมธรรมดาที่จัดขึ้น เช่น โรงเรียน ชุมชน ศูนย์พัฒนาการเด็กหรือที่บ้าน กลุ่มนี้คือ กลุ่มที่มากไปด้วยองค์ประกอบ มีความคงที่ของบทบาทและกฎ ข้อตกลง และร่วมกับการช่วยเหลือแบบซ้ำๆ เป็นรายบุคคลในเด็กออทิสติก กลุ่มนี้ถ้าเป็นไปได้จะทำในสถานที่เดียวกัน กับผู้ร่วมกลุ่มกลุ่มเดียวกัน จุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุด ถูกใช้เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับผู้ร่วมกลุ่มในการกำหนดหัวข้อในการเล่น บทบาทและข้อตกลง และวางแผนสำหรับครั้งต่อไป สิ่งสนับสนุนทางสายตา เช่น picture schedules และ choice board ถูกนำมาใช้แสดงถึงเรื่องที่จะทำในแต่ละครั้งรวมถึงการเตรียมสำหรับการสื่อสารและการชี้นำพฤติกรรมของผู้ร่วมกลุ่ม IPG โปรแกรมมีระบบการประเมินที่ค่อนข้างกว้าง มีจุดประสงค์เพื่อ

  • การสำรวจเกี่ยวกับศักยภาพของผู้เล่นอย่างเป็นระบบ


  • ช่วยในการจัดระเบียบของกลุ่ม


  • นำมาซึ่งข้อสรุปของความสามารถทางสังคมและความสามารถในการเล่นแบบ Symbolic play รวมถึงความสนใจของผู้ร่วมกลุ่ม


  • การประมาณถึงความก้าวหน้าใน Novice group



  • Guided Paticipation in IPGs (การชี้แนะการปฏิสัมพันธ์ใน IPGs)
    กิจกรรมบำบัดจะใช้การชี้แนะการปฏิสัมพันธ์ สิ่งซึ่ง Wolfberg ได้อธิบายว่า “กระบวนการนี้เป็นไปตามลำดับพัฒนาการโดยมีการเริ่มต้นการปฏิสัมพันธ์เองในกิจกรรมที่นิยมเล่น รวมถึงการชี้แนะและสนับสนุนการกระตุ้นให้เกิดการเล่นของเพื่อนในกลุ่ม ซึ่งจะผันผวนไปตามทักษะและสถานะของเขาเหล่านั้น” IPG โปรแกรมประกอบด้วย 5 วิธีการการบำบัดรักษา คือ
    1. Structuring play sessions.
    2. Monitoring play initiations.
    3. Scaffolding play.
    4. Social-communication guidance.
    5. Play guidance (Wolfberg, 2003)


    IPG ใช้การสนับสนุนจากผู้ใหญ่อยู่ 3 ระดับ คือ
    1. Modeled and directed play ผู้ใหญ่จะเข้าไปชี้แนะโดยตรงต่อกลุ่มในการปฏิสัมพันธ์
    2. Verbal guidance ใช้เสียงในการสั่งให้มีการปฏิสัมพันธ์อยู่ห่างออกไป
    3. Supervision ยังคงมองดูอยู่แต่ไม่ได้เข้าไปร่วมในกลุ่ม


    Benefits of the IPG approach (ประโยชน์ของ IPG approach)
    งานวิจัยของ IPG ได้สนับสนุนประสิทธิภาพของเทคนิคนี้ (Wolfberg, 2003) ตัวอย่างที่มีประโยชน์ต่อ novice players คือ
    1. มีความถี่และความทนได้ต่อการปฏิสัมพันธ์มากขึ้น
    2. ปรับปรุงทักษะทางภาษา
    3. มีการเล่นอย่างมีคุณภาพมากขึ้น เช่น มีการเล่นแบบ pretend play และ Symbolic play มากขึ้น
    4. มีองค์ประกอบการเล่นที่สมบูรณ์ดีขึ้น
    5. มีการพัฒนาของความเป็นเพื่อน


    ตัวอย่างของประโยชน์ทางด้านอื่นๆ คือ
    1. การรับรู้ความรู้สึกและทนทานดีขึ้นในเด็กที่มีความบกพร่อง
    2. มีพัฒนาการด้านความรู้สึก ความเอใจใส่ดีขึ้น
    3. มีพัฒนาการของความเป็นเพื่อนกับเด็กที่มีความบกพร่อง
    4. ปรับปรุงความมั่นใจในตัวเอง
    พบว่ามีเปอร์เซ็นต์ที่ดีขึ้นต่อการเล่น ของเล่นตามหน้าที่ของของเล่นใน Symbolic play และทักษะทางการเล่นหลังจากมีการบำบัดโดย IPG ในกลุ่ม novice players (Wolfberg and Schuler, 1993)

    มอนเตสซอรี่ หลักสูตรการเรียนที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ


    เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม

              ถ้าจะพูดถึงข่าวคราวการศึกษาในประเทศไทยที่มีการสำรวจจากต่างประเทศออกมาแล้วว่า เด็กไทยเรียนหนังสือหนักเป็นอันต้น ๆ ของโลก แต่แทนที่เด็กไทยจะมีผลการทดสอบทางวิชาการที่ดี กลับกลายเป็นคะแนนตกต่ำลงทุกวัน ซึ่งส่วนหนึ่งนั้นอาจเป็นผลจากการจัดระบบการเรียนการสอนที่ไม่สอดคล้องกับความต้องการของเด็ก วันนี้กระปุกดอทคอมเลยขอนำเสนอหลักสูตรการเรียนการสอนที่มีจุดมุ่งหมายในการให้การศึกษาเป็นการปลูกฝังให้เด็กได้เจริญเติบโตไปตามความต้องการตามธรรมชาติ หรือที่เรียกว่า หลักสูตรมอนเตสซอรี่

    หลักสูตรมอนเตสซอรี่ คืออะไร?


              คงเป็นคำถามที่หลายคนสงสัย...หลักสูตรนี้คือการจัดการเรียนการสอนที่มีแนวคิดคำนึงถึงความสนใจ ความต้องการและความมุ่งมั่นตั้งใจในการเรียนรู้ รวมทั้งแก้ไขข้อผิดพลาดด้วยตนเองของเด็กเพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างอิสระในขอบเขตที่กำหนดไว้ให้ ได้ใช้จิตในการซึมซับสิ่งแวดล้อมรอบตัว จนเกิดความอยากรู้ อยากเห็น และแสวงหาความรู้อย่างมีสมาธิ มีวินัยในตนเอง ให้เด็กเกิดการพัฒนาการทุก ๆ ด้านไปในเวลาเดียวกัน

    ที่มาของหลักสูตร มอนเตสซอรี่

              โดยหลักสูตรมอนเตสซอรี่ เกิดขึ้นจากการที่ ดร.มาเรีย มอนเตสซอรี่ แพทย์หญิงคนแรกชาวอิตาลี ได้ทำงานกับเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา จึงค้นพบว่า ได้สังเกตเด็กในสภาพที่เป็นจริงของเด็ก ไม่ใช่สภาพที่ผู้ใหญ่ต้องการให้เด็กเป็นและควรเอาใจใส่ดูแลเด็กมากกว่าสนใจเรื่องเหตุทางการแพทย์ จึงได้พัฒนาวิธีการสอน การจัดเตรียมสิ่งแวดล้อม และอุปกรณ์การสอนต่างๆ ขึ้นมาใช้ เพื่อช่วยให้เด็กมีพัฒนาการทางสติ ปัญญา และอารมณ์ โดยเริ่มต้นจากการทดลองที่โรงเรียนที่มอนเตสซอรี่เข้าไปรับผิดชอบ ที่เรียกว่า Casa Dei Bambini หรือ Children's House แล้ววิธีการสอนนี้จึงได้แพร่หลายต่อไปจนทั่วโลกเช่นในปัจจุบัน

              สำหรับการสอนเด็กโดยใช้หลักสูตรมอนเตสซอรี่นั้น จะเน้นเรื่องความต้องการของเด็กในการเรียน จึงต้องมีการเตรียมสิ่งแวดล้อม จัดห้องเรียนให้เหมาะสมกับวัยของเด็ก ต้องมีพื้นที่ว่างสำหรับให้เด็กได้ทำงานทั้งบนเก้าอี้ บนพรม บนเสื่อ มีเครื่องมืออุปกรณ์ต่าง ๆ ที่มีสีอ่อนและน้ำหนักเบาเพื่อให้เด็กได้สามารถควบคุมการใช้วัสดุเหล่านั้นด้วยตัวเอง ซึ่งจะเน้นให้เด็กรับรู้ถึงโครงสร้างของอุปกรณ์ที่จัดไว้ เพื่อทําให้เกิดการรับรู้โดยผ่านทางประสาทสัมผัส และการเคลื่อนไหว อุปกรณ์แต่ละชิ้นครูจะต้องสาธิตวิธีการใช้อุปกรณ์ให้เด็กดูก่อน ด้วยวิธีการที่ทําให้เด็กเกิดความสนใจและอยากทํางานกับอุปกรณ์นั้นมาใช้ต่อไป อุปกรณ์จะมีลําดับความยากง่ายต่อเนื่องกันไปและมีความสัมพันธ์กับวิชาที่เรียนต่อไปซึ่งตอบสนองความต้องการสําหรับช่วงเวลาหลักของชีวิต


    การแบ่งหลักสูตรมอนเตสซอรี่

              ทั้งนี้ มีการแบ่งหลักสูตรพื้นฐานสำหรับเด็กอายุ 3-6 ปีเป็นสามกลุ่มใหญ่ ๆ ได้แก่

               1.การศึกษาทางด้านทักษะกลไก (Motor Education)

               2. การศึกษาทางด้านประสาทสัมผัส (Education of the Senses)

               3. การตระเตรียมสำหรับการเขียนและคณิตศาสตร์ (Preparation for Writing and Arithmetic)

              โดยการสอนแบบมอนเตสซอรี่เพื่อเชื่อมโยงภาษากับอุปกรณ์หรือสิ่งของจะมี 3 ขั้นตอนด้วยกัน คือ

               ขั้นที่ 1 การสังเกตเห็นลักษณะเฉพาะของสิ่งนั้น ทํ าให้เชื่อมโยงสิ่งที่ครูสาธิตให้ดูกับ ชื่อของสิ่งนั้นได้"นี่คือ........"

               ขั้นที่ 2 การสังเกตเห็นความแตกต่าง เพื่อให้มั่นใจว่า เด็กเข้าใจเมื่อบอกเด็กว่า "อันไหน....."

               ขั้นที่ 3 การ เห็นความแตกต่างระหว่างสิ่งที่คล้ายคลึงกัน และสามารถบอกชื่อของสิ่งของสิ่งนั้นได้ขั้นตอนนี้เพื่อจะได้ทราบว่า เด็กจําชื่อสิ่งต่างๆ ที่ครูสาธิตให้ดูได้หรือไม่ เช่น ชี้ที่สิ่งของแล้วถามว่า "อันนี้อะไร ....."


     หลักสูตรมอนเตสซอรี่ ใช้กับเด็กกลุ่มการศึกษาใดได้บ้าง

              การเรียนการสอนแบบมอนเตสซอรี่ สามารถพัฒนาเด็กตั้งแต่วัยทารกจนถึงระดับมัธยม ทั้งเด็กที่มีความต้องการพิเศษและเด็กปกติ ทุกชนชาติ ศาสนา แต่ส่วนใหญ่รูปแบบการสอนนี้จะใช้กันอย่างแพร่หลายในระดับเด็กเล็ก หากปัจจุบันบางประเทศเช่น เยอรมนี และสหรัฐอเมริกา ได้นำเอารูปแบบการสอนแนวมอนเตสเซอรี่ไปใช้กับเด็กในระดับประถม และมัธยมแล้ว ส่วนในประเทศไทยเองก็มีโรงเรียนที่เปิดสอนด้วยหลักสูตรนี้อยู่ที่โรงเรียนอนุบาลกรแก้ว ซึ่งตั้งอยู่ 124 ซอยระนอง 1 ถนนพระรามที่ 5 เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300 และเปิดสอนมากว่า 15 ปีแล้ว
             
              เป็นอย่างไรบ้างกับการได้รู้จักหลักสูตรมอนเตสซอรี่ หลายคนคงเห็นแล้วว่าหลักสูตรนี้มีการเรียนการสอนที่น่าสนใจและหากได้นำมาประยุกต์กับการเรียนการสอนในระบบการศึกษา ก็น่าจะช่วยพัฒนาคุณภาพการศึกษาบ้านเราไปไม่มากก็น้อย

    อนาคตของฉัน

    ฉันเคยเป็นครูการศึกษาพิเศษ สอนคอมพิวเตอร์เด็กพิการทางหู..เด็กพิการทางหู(หูหนวก) ส่วนมากจะเป็นใบ้พูดไม่ได้..นอกจากเปร่งเสียงออกมาอย่างไม่มีความหมาย ฟังไม่รู้เรื่องเพราะเขาไม่เคยได้ยินมาก่อนทำให้ไม่สามารถเรียนแบบเสียงพูดเป็นภาษาได้.เด็กพิการทางหูก็เหมือนเด็กปกติทั่ว  ๆ  ไป  รูปร่าง หน้าตาน่ารัก มีหัวเราะ ร้องไห้ งอแง เหมือนเด็กปกติทั่วไป...เด็กพิการชั่งน่าสงสารเหลือเกินเขาจะไม่มีโอกาสได้อยู่กับพ่อแม่เหมือนกับเด็กปกติ เพราะเขาต้องมาเรียนรู้ตั้งแต่ตัวเล็ก ๆ  เรียนอนุบาลก็ต้องมาอยู่โรงเรียนประจำกิน-นอนแล้ว เพราะการศึกษาพิเศษจะจัดการศึกษาตั้งแต่แรกพบอาการ จะบอกว่าใครที่มีบุตร หลาน พิการต้องส่งมาฝึก สอน เรียน ที่โรงเรียนศึกษาพิเศษเลยก็ว่าได้..พ่อแม่เป็นห่วงก็ต้องฝืนใจและอดทนที่จะต้องส่งลูกมาอยู่ประจำ เพื่อที่จะให้ลูกสามารถช่วยตัวเองได้ อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข เมื่อเขาโตขึ้นเขาสามารถมีอาชีพ ประกอบอาชีพได้เหมือนคนปกติทั่วไป....ตลอดระยะเวลา ปี ที่ฉันเป็นครูการศึกษาพิเศษ มันทำให้ฉันเรียนรู้และเข้าใจชีวิตมากขึ้น รู้จักรัก  รู้จักการให้..และฉันก็รู้สึกดีทุกครั้งที่นึกถึงอดีตที่เคยได้ดูแลเด็กพิการ..ครั้งหนึ่งทางโรงเรียนจัดกิจกรรมเข้าค่ายให้อยู่ร่วมกันระหว่างเด็กพิการทุกประเภท..เด็กพิการทางหู เด็กพิการทางสายตา(ตาบอด) เด็กออทิสติก(ปัญญาอ่อน) ...มาอยู่ร่วมกันในค่าย ฉันมีหน้าที่เป็นครูพี่เลี้ยงร่วมกับครูอื่น ๆ  พาเด็กจัดกิจกรรม เดินทางไกล ทัศนศึกษา..ฯลฯ เราเห็นเด็กสนุกเราก็มีความสุขไปด้วย เด็กน้อยช่างไร้เดียงสาเสียเหลือเกิน เด็กออทิสติกตัวเล็ก ๆ  เราคุยเล่นด้วยพานั่งพัก..เขาก็เข้ามาคลอเคลียเรานอนหนุนตัก..มากอด..มาหอมแก้ม.(ตอนที่น่ารักนะ แต่ตอนดื้อนี่สิค่ะวิ่งไล่จับไม่ทันเลย!!!)  เด็กพิการทางสายตาพูดเก่งมาก..ร้องเพลงเสียงดัง    แต่เขาไม่สามารถมองเห็นได้ต้องมีเพื่อนและครูคอยนำทาง มีเพื่อนจับมือเวลาเดินเพราะเดี๋ยวจะชนกัน ...จะบอกว่าฉันสอนเด็กพิการทางหูมานานไม่เคยร้องไห้ แต่พอมาเจอเด็กพิการทุกประเภท..มันทำให้ฉันถึงกับกลั้นไม่อยู่ กลับมาพักผ่อนที่บ้านพัก.นอนร้องไห้โฮ..มันคงเป็นเพราะฉันมันอ่อนแอเกินไป ยิ่งนึกถึงเด็กพิการทางสายตา เวลาเขานั่งหลับบนรถเขาเอนหัวมาซบไหล่เรา เขาตื่นขึ้นมาเมื่อถึงที่เที่ยว ด้วยความที่เราอยากให้เขาได้ดู ได้เห็น แต่เขากับมองไม่เห็น..  ฉันมันไม่สามารถเป็นครูการศึกษาพิเศษที่ดีได้   ฉันมันอ่อนแอเกินไป  ฉันมันไม่เข้มแข็งพอ ครูการศึกษาพิเศษไม่ใช่ใครก็เป็นได้ ครูการศึกษาพิเศษต้องเป็นครูที่เสียสละมาก ๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเวลางานหรือเวลาส่วนตัว ต้องดูแลเด็ก   ๆ  เหมือนเป็นลูกของตัวเอง  ครูการศึกษาพิเศษต้องเข้มแข็งทั้งกาย และใจ  (ครูบางคนทำงานจนลืมแต่งงานเพราะต้องอยู่กับเด็กตลอด) ฉันขอชื่นชมครูการศึกษาพิเศษทุกคน ที่สามารถทำงานเพื่อเด็กพิการได้.....อย่างไรก็ตามถ้าหากฉันมีเวลา  ถ้าทุก ๆ อย่างลงตัว ฉันจะหาโอกาสทำสิ่งดี ๆ  ให้กับเด็กพิการบ้าง คิดถึงลูกศิษย์ตัวน้อย ๆ ....(ครูน้อง)

    วันเสาร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

    ครูการศึกษาพิเศษ

    สมรรถนะเฉพาะและตัวบ่งชี้ของครูการศึกษาพิเศษ

    ร่างสมรรถนะเฉพาะและตัวบ่งชี้ของครูการศึกษาพิเศษครับสมรรถนะที่ 1 การจัดการเรียนรู้
            การจัดการเรียนรู้ หมายถึง กระบวนการจัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนพิเศษมีศักยภาพสูงสุด ตามนโยบาย เป้าหมายการจัดการศึกษาพิเศษ โดยใช้ความรู้ด้านจิตวิทยาพัฒนาการ จิตวิทยาการศึกษาพิเศษ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับคนพิการและการศึกษาพิเศษ มาใช้ในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา การจัดทำแผนการศึกษาเฉพาะครอบครัว (Individualized Family Service Plan : IFSP) และหรือแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (Individualized Education Program :IEP) และแผนการสอนเฉพาะบุคคล (Individual Implementation Plan :IIP) รวมทั้งใช้ สื่อ สิ่งอำนวยความสะดวก บริการ และความช่วยเหลือ
    อื่นใดทางการศึกษา เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก (Assistive Technology) เพื่อพัฒนาผู้เรียนตามความต้องการจำเป็นพิเศษของแต่ละบุคคลตัวบ่งชี้
         
    1. มีความรู้เกี่ยวกับกฎหมาย นโยบาย และเป้าหมายการจัดการศึกษาพิเศษ รวมทั้งกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับคนพิการ
         2. มีความรู้เกี่ยวกับจิตวิทยาพัฒนาการ และจิตวิทยาการศึกษาพิเศษ
         3. สามารถพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา
         4. สามารถจัดทำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะครอบครัว (IFSP) และหรือแผนการ
    จัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP) และแผนการสอนเฉพาะบุคคล (IIP)
        5. สามารถจัดการเรียนรู้ วัดและประเมินผลการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับแผนการ
    จัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP) ของผู้เรียนแต่ละประเภทความพิการ
       6. มีความรู้และสามารถใช้เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก (Assistive Technology) สื่อ สิ่งอำนวยความสะดวก บริการ และความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษาสำหรับเด็กพิเศษแต่ละประเภทความพิการสมรรถนะที่ 2 จิตสำนึกความเป็นครูการศึกษาพิเศษ
         
    จิตสำนึกความเป็นครูการศึกษาพิเศษ หมายถึง เป็นผู้ที่มีความรัก ความศรัทธา และความภาคภูมิใจในความเป็นครูการศึกษาพิเศษ มุ่งมั่น อดทน และรับผิดชอบ ใฝ่รู้ ใฝ่เรียน แสวงหาความรู้ ก้าวทันต่อความก้าวหน้าทางวิชาการ เพื่อช่วยเหลือพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพ มีสุขภาพจิตที่ดี มีเจตคติที่ดีต่อบุคคลพิการและครอบครัว ตัวบ่งชี้
         
    1. รัก ศรัทธา และภาคภูมิใจในความเป็นครูการศึกษาพิเศษ
         2. ใฝ่รู้ ใฝ่เรียน แสวงหาความรู้ ก้าวทันต่อความก้าวหน้าทางวิชาการ
         3. มีสุขภาพจิตที่ดี
         4. มีเจตคติที่ดี ไม่รังเกียจและไม่เลือกปฏิบัติต่อบุคคลพิการและครอบครัว
         5. มุ่งมั่น อดทนต่อพฤติกรรมและแก้ปัญหาเฉพาะรวมทั้งปกป้องภยันตรายที่จะเกิดแก่เด็กพิเศษแต่ละประเภทความพิการ
         6. รับผิดชอบต่อผลการพัฒนาผู้เรียนตามแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP)
         7. ประสานงานความร่วมมือกับ ผู้ปกครอง บุคคล องค์กรที่เกี่ยวข้องในการจัดการศึกษาพิเศษ

    เด็กพูดไม่ชัดทามยังดีอ่ะ

    <iframe width="560" height="315" src="http://www.youtube.com/embed/AGyXqSEJZv0" frameborder="0" allowfullscreen></iframe>
    <iframe width="560" height="315" src="http://www.youtube.com/embed/-429hYQp28E" frameborder="0" allowfullscreen></iframe>

    การพูดไม่ชัด
    การพูดไม่ชัด
    เป็นความผิดปกติเกี่ยวกับการเปล่งเสียงพูด ซึ่งมีทั้งเสียงสระ พยัญชนะ และเสียงวรรณยุกต์

    ลักษณะการพูดไม่ชัด
    แบ่งได้ออกเป็น 4 ลักษณะ
     พูดอออกเสียงโดยใช้เสียงพยัญชนะหรือเสียงสระอื่นแทนเสียงที่ควรพูด เช่น ใช้ อ อ่าง แทน ก ไก่ เมื่อพูดคำว่า “ไก่” จึงออกเสียงเป็น “ไอ่” หรือใช้สระ เอ แทน สระ แอ พูด “เกง” แทน “แกง”
     พูดออกเสียงไม่ครบทุกเสียง มีการเว้นไม่ออกเสียงพยัญชนะบางเสียง เช่น “กลาง” พูดเป็น “กาง” “นอน” พูดเป็น “นอ”
    พูดผิดเพี้ยนไปจนฟังไม่ออกว่าเป็นเสียงสระ หรือเสียงพยัญชนะใด
     พูดเติมเสียงสระ หรือพยัญชนะเข้าไปในคำ เช่น พูด “กะริน” แทน “กิน”

    สาเหตุการพูดไม่ชัด
    1. โครงสร้าง หรือการทำงานของอวัยวะเกี่ยวกับการพูด หรือการฟังผิดปกติ ได้แก่
     เกิดความบกพร่องในการทำงานของระบบประสาท และกล้ามเนื้อที่ช่วยควบคุมการเคลื่อนไหวของอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการพูด ได้แก่ ลิ้น เพดานอ่อน หรือลิ้นไก่ เป็นอัมพาตอ่อนแรง ทำให้ออกเสียงพยัญชนะ และสระผิดเพี้ยนไป
     ปากแหว่ง เพดานโหว่ ทำให้พูดไม่ชัด เพราะเด็กใช้อวัยวะไม่ถูกต้องในการออกเสียงพูด การพูดไม่ชัด ในกรณีนี้เป็นปัญหาร่วมกับการพูดเสียงขึ้นจมูก
     มีความผิดปกติที่อวัยวะในช่องปาก เช่น เส้นยึดใต้ลิ้นสั้นมาก เพดานโหว่
    หูพิการ ไม่ได้ยินเสียงพูดของผู้อื่นหรือได้ยินแต่ไม่ชัดทำให้การเลียนแบบไม่ถูกต้อง ตัวผู้พูดเองไม่ได้ยินเสียงของตนเอง ทำให้ไม่สามารถปรับการพูดของตนเองให้ถูกต้อง ชัดเจน
     ปัญญาอ่อน เด็กที่ระดับสติปัญญาไม่ดี มักมีปัญหาการพูดไม่ชัด
    2. การเรียนรู้การพูดไม่ถูกต้อง
    เด็กจำนวนมากพูดไม่ชัดเนื่องจากสาเหตุเด็กเหล่านี้มีโครงสร้างและการทำงานของอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการพูดเป็นปกติ บางรายอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ไม่ดี เช่น อยู่กับคนที่พูดไม่ชัด ผู้ที่อยู่ใกล้ชิดไม่ได้ กระตุ้นให้เด็กพูดให้ถูกต้องชัดเจนตั้งแต่แรก เด็กขาดโอกาสในการเลียนแบบการพูดที่ดี สิ่งแวดล้อม และการเลี้ยงดูจึงมีส่วนในการทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้การพูดไม่ชัดเจนติดเป็นนิสัย

    เกณฑ์การพิจารณาการพูดไม่ชัด
    ได้มีผู้ทำการศึกษาเรื่องการออกเสียงพูดของเด็กช่วงอายุต่างๆ พบว่า เด็กสามารถออกเสียงสระได้ชัดเจนทุกเสียง และผันวรรณยุกต์ได้ทุกเสียง ตั้งแต่อายุก่อน 3-5 ปี ส่วนเสียงพยัญชนะ มีลำดับขั้นพัฒนาการดังนี้
    พัฒนาการด้านการออกเสียง

    อายุ เสียงที่ออกไม่ชัด
     2.1-2.6 เดือน
     2.7-3 เดือน
     3.1-3.6 เดือน
     3.7-4 เดือน
     4.1-4.6 เดือน
     4.7-5 เดือน
     5.1-5.6 เดือน
     อายุ 7 ปี ขึ้นไป  ม น ห ย ค อ
     เพิ่มเสียง ว บ ป ก
     เพิ่มเสียง ท ต ล จ พ
     เพิ่มเสียง ง ด
     เพิ่มเสียง ฟ
     เพิ่มเสียง ช
     เพิ่มเสียง ส
     เพิ่มเสียง ร

    พัฒนาการของการออกเสียงสระ พยัญชนะ และวรรณยุกต์ ของเด็กไทย สามารถใช้เป็นเกณฑ์ในการพิจารณาว่าเด็กรายใดที่พูดไม่ชัด สมควรจะต้องได้รับการแก้ไขด้วยการฝึกพูด

    การฝึกพูด
    เมื่อผู้ที่พูดไม่ชัดได้รับการทดสอบจากนักแก้ไขการพูดและได้รับคำแนะนำให้เด็กมาฝึกพูดแล้ว นักแก้ไขการพูดจะฝึกให้เด็กออกเสียงสระ หรือเสียงพยัญชนะแต่ละเสียงโดยอาศัยความรู้เกี่ยวกับฐานเสียงจากอวัยวะต่างๆ ลักษณะในการเปล่งเสียงพูดออกมา การวางลิ้นให้ถูกต้องตามตำแหน่งในการออกเสียงและลักษณะของลมหายใจ ตลอดจนทิศทางของลมในช่องปากขณะออกเสียงพยัญชนะ หรือสระแต่ละเสียงสอนให้รู้จักฟังเปรียบเทียบเสียงพูดของตนเองกับผู้สอน หรือเปรียบเทียบกับเสียงที่ถูกต้องชัดเจน การฝึกจะทำตั้งแต่ระดับที่เป็นหน่วยเสียงจนเป็นคำ วลี ประโยค ให้เด็กสามารถออกเสียงได้ถูกต้องทุกระดับ ตั้งแต่สามารถออกเสียงได้ถูกต้องเมื่ออยู่ในห้องฝึกจนกว่าจะใช้เสียงที่แก้ไขนั้นได้ในการพูดคุยสนทนาในชีวิตประจำวัน
    ในรายที่ไม่จำเป็นต้องได้รับการฝึกจากนักแก้ไขการพูด พ่อแม่ หรือผู้ปกครองเด็กจะได้รับคำแนะนำการปฏิบัติต่อเด็กขณะอยู่บ้าน ดังนี้
    1. ควรกระตุ้นการพูดให้ชัดเจนด้วยการให้ทุกคนที่เกี่ยวข้องกับเด็กพูดให้ชัดเจนเป็นตัวอย่าง
    2. เตือนเด็กเมื่อเด็กพูดไม่ชัด แต่ไม่ให้ดุว่า หรือเคี่ยวเข็ญเด็กให้พูดให้ชัด
    3. ไม่ล้อเลียนการพูดไม่ชัดของเด็ก
    ส่วนมากเด็กที่พูดไม่ชัดในช่วงอายุ 3-4 ปี จะมีพัฒนาการจากการกระตุ้นเองที่บ้าน ถ้าเกินกว่าช่วงอายุนี้แล้ว ควรแก้ไขด้วยการฝึกพูดจากนักแก้ไขการพูด
    ประเภทของยาที่ใช้ในเด็กสมาธิสั้น

     ยาที่ออกฤทธิ์นาน
    ยาที่ออกฤทธิ์นานโดยทั่วไป สามารถออกฤทธิ์ได้นานถึง 10-12 ชั่วโมงในการใช้ยาเพียง 1 ครั้งต่อวัน เหมาะกับเด็กสมาธิสั้นที่ไม่สะดวกจะรับประทานยาในช่วงกลางวัน
    ·        Vyvanse
    ยาตัวล่าสุดที่ผลิตมาใช้กับเด็กสมาธิสั้น(ADHD) คือ Vyvanse  ซึ่งเป็นยาที่ออกฤทธิ์ได้นานคล้ายกับ Adderall ซึ่งใช้ส่วนประกอบตัวหนึ่งที่เหมือนกัน คือ lisdexamfetamine dimesylate มีชนิดแคปซูลขนาด 20mg, 30mg, 40mg, 50mg, 60mg, 70mg
    ·        Adderall XR
    Adderall XR เป็นยาที่ผลิตขึ้นเพื่อใช้ในเด็กสมาธิสั้นที่อายุมากกว่า 6 ปี ในขณะที่ Adderall แบบธรรมดา สามารถใช้กับเด็กสมาธิสั้นที่อายุ 3-5 ปี Adderall XR เป็นยาที่ผลิตออกมาให้อออกฤทธิ์ได้นานกว่า Adderall ซึ่งประกอบด้วยตัวยา dextroamphetamineและ amphetamine มีแคปซูลขนาด 10mg, 15mg, 20mg, 25mg, และ 30mg และสามารถแกะแคปซูลออกมาเพื่อผสมกับน้ำให้เด็กที่มีปัญหาสมาธิสั้นรับประทานได้ เหมาะสำหรับเด็กสมาธิสั้นที่ไม่ชอบยาเม็ด
    ·        Concerta
    Concerta เป็นยาที่ผลิตออกมาให้ออกฤทธิ์ได้นานกว่า methyphenidate หรือ Ritalin มีแคปซูลขนาด 18mg, 36mg และ 54mg ที่สามารถออกฤทธิ์ได้นาน 12 ชั่วโมง เด็กสมาธิสั้นที่อยู่ในช่วงวัยรุ่น สามารถใช้ยาขนาด 36mg 2 เม็ดเพื่อให้ได้ขนาดยา 72 mg ซึ่งเหมือนกับ Adderall ที่ผลิตเพื่อเด็กสมาธิสั้นที่มีอายุมากกว่า 6 ปี
    ·        Daytrana
    Daytrana ใช้ตัวยา methyphenidate หรือ Ritalin ในรูปแบบการใช้แบบแปะ ซึ่งตัวพลาสเตอร์ จะมีขนาด 10mg, 15mg, 20mg, และ30mg ซึ่งใช้แปะไว้ที่บริเวณสะโพกของเด็กที่มีปัญหาสมาธิสั้นและออกฤทธิ์ได้นานประมาณ 9 ชั่วโมง และสามารถออกฤทธิ์ได้ต่อประมาณ 1-2 ชั่วโมงหลังจากดึงพลาสเตอ์ออก ซึ่งผู้ปกครองควรพิจารณาจากลักษณะหรือเวลาการใช้ที่เหมาะสมกับเด็กมากที่สุด
                    ข้อดีของ พลาสเตอร์Daytrana คือเหมาะสำหรับเด็กสมาธิสั้นที่ไม่ชอบการรับประทานยา และสามารถปรับเปลี่ยนเหมาะตามสาถานการณ์ เช่น บางวันอาจจะใช้ พลาสเตอร์Daytrana ประมาณ 2-3 ชั่วโมงแล้วอีกวันหนึ่งใช้พลาสเตอร์Daytrana มากกว่าเดิมประมาณ 1-2 ชั่วโมงเพราะต้องทำการบ้านมากขึ้น (ตราบเท่าที่จะไม่รบกวนเวลาการนอนของเด็ก)
    ·        Focalin XR
    เป็นยาที่ผลิตออกมาให้ออกฤทธิ์ได้นานกว่า Focalin ซึ่งใช้ตัวยา dexmethylphenidate hydrocholoride ที่ใช้ใน methylphenidateหรือ Ritalin มีขนาดแคปซูล 5mg, 10mg, 15mg, และ 20mg
    ·        Metadate CD และ Ritalin LA
    เป็นยาที่ผลิตออกมาให้ออกฤทธิ์ได้นานกว่า methylphenidate หรือ Ritalin Ritalin LA มีขนาดแคปซูล 10 mg, 20 mg, 30 mg, และ40mg และสามารถแกะแคปซูลออกมาเพื่อผสมกับน้ำให้เด็กที่มีปัญหาสมาธิรับประทานได้ ในเด็กที่ไม่ชอบยาเม็ด

    ยาที่ออกฤทธิ์สั้นหรือออกฤทธิ์ทันที
    ถึงแม้ว่า การใช้ยาที่ออกฤทธิ์นานจะมีความสะดวกมากกว่า เนื่องจากการใช้เพียง 1 ครั้งต่อวัน แต่สิ่งสำคัญก็คือ ยาเหล่านั้นก็ไม่ได้มีประสิทธิภาพมากไปกว่ายาที่ออกฤทธิ์สั้นหรือออกฤทธิ์ทันที
    ยาที่ออกฤทธิ์สั้นหรือออกฤทธิ์ทันที  :
    • Ritalin (Methylphenidate HCl)
    • Ritalin SR
    • Methylin แบบเคี้ยวและแบบน้ำ
    • Metadate ER
    • Methylin ER
    • Focalin: ซึ่งประกอบด้วยตัวยา dexmethylphenidate hydrocholoride, เป็นตัวเดียวกับที่ใช้ในยา Ritalin มีขนาด 2.5mg, 5mg, และ 10mg
    • Dexedrine (Dextroamphetamine sulfate)
    • Dextrostat
    • Adderall
    • Dexedrine spansules
    เคล็ดลับการประหยัดในการใช้ยา
    การจ่ายเงินในการซื้อยาขึ้นอยู่กับจำนวนของเม็ดมากกว่าปริมาณของตัวยาที่เป็นมิลลิกรัม ดังนั้น แทนที่จะใช้ยา 10 mg วันละ 2 เม็ด (1 เดือน 60 เม็ด) ก็สามารถใช้ยา ขนาด 20 mg เพียงครึ่งเม็ด 2 ครั้งต่อวัน(1 เดือน 30 เม็ด)
     ** ทั้งหมดนี้ควรอยู่ภายใต้คำแนะนำของแพทย์เท่านั้น**
    องค์การอาหารและยาสหรัฐเตรียมประกาศห้ามใช้ "ยาสมาธิสั้น" รักษาเด็กที่มีอาการซนผิดปกติ ให้มีสมาธิหรือนิ่งอาจส่งผลทำให้ "ตายเฉียบพลัน" ไม่ทราบสาเหตุ อย.ควบคุมปริมาณการสั่งนำเข้ามาจำหน่ายในไทย
    วารสารทางการแพทย์ของสหรัฐอเมริกา เผยผลการศึกษา พบว่า การใช้ "ยาสมาธิสั้น" อาจสัมพันธ์กับสาเหตุของการ "ตายอย่างเฉียบพลัน"  ไม่ทราบสาเหตุในเด็ก องค์การอาหารและยาสหรัฐ (US FDA) เตรียมจะประกาศผลการศึกษา รวมถึงผลสรุปว่าจะห้ามใช้ยานี้หรือไม่ภายในเดือนธันวาคมปีนี้ ล่าสุดคาดว่าจะเลื่อนการรายงานไปเป็น สิงหาคม 2553 ขณะที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ติดตามเฝ้าระวังการใช้ยาอย่างใกล้ชิด เฉพาะควบคุมปริมาณการสั่งนำเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทย ไม่ให้เพิ่มในอัตราที่เกินความเหมาะสม เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค ทำให้หลายคนเข้าใจผิดว่า อย.ทำให้ยาขาดแคลน จึงขอความร่วมมือสถานพยาบาลทุกแห่งให้เบิกยาแค่พอใช้ หากมีการประกาศห้ามใช้จะได้ไม่ต้องสูญเสียยามากเกินไป

    นพ.พิพัฒน์ ยิ่งเสรี เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) และคณะร่วมกันแถลงว่า  "ยาสมาธิสั้น" ที่ใช้รักษาเด็กที่มีอาการซนผิดปกติให้มีสมาธิหรือนิ่งมากขึ้น และมีข่าว ว่า ขาดแคลน อย. สั่งยาเข้ามาในประเทศจำนวนน้อย เนื่องมาจาก อย.ได้ติดตามรายงานจากวารสารทางการแพทย์ที่ตีพิมพ์ในสหรัฐอเมริกา เมื่อเดือนมิถุนายน 2552  ซึ่งองค์การอาหารและยาสหรัฐ ได้ให้มหาวิทยาลัยโคลัมเบียศึกษาวิจัยถึงสาเหตุของความชุกจากผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นมากมายกับเด็ก โดยใช้เวลาศึกษานานพอสมควร และพบว่า

    "การใช้ยาสมาธิสั้นมีความสัมพันธ์กับการเสียชีวิตอย่างเฉียบพลัน โดยไม่ทราบสาเหตุในเด็ก ซึ่งองค์การอาหารและยาสหรัฐ มีความวิตกกังวลกับเรื่องนี้มาก ถึงขั้นอาจห้ามใช้ยานี้ แต่อย่างไรก็ตาม ได้ให้มีการศึกษาทบทวนอีกครั้งทั้งในเด็กและในผู้ใหญ่ ซึ่งเดิมจะประกาศผลการศึกษา รวมถึงผลสรุปว่าจะห้ามใช้ยานี้หรือไม่ ภายในเดือนธันวาคมปีนี้"

    เทคนิครับมือกับเด็ก ADHD สำหรับที่บ้าน

    เทคนิครับมือกับเด็ก ADHD สำหรับที่บ้าน

     อย่างแรกต้องเข้าใจก่อนว่าสิ่งที่เด็กสมาธิสั้นแสดงออกมานั้น ทั้งทำเป็นไม่สนใจ สร้างความรำคาญ หรือทำให้อึดอัด นั้นไม่ได้เกิดจากความตั้งใจของเด็ก เด็กที่เป็นสมาธิสั้นต้องการที่จะนั่งอย่างเงียบๆ ต้องการให้ห้องเป็นระเบียบเรียบร้อย ต้องการทำตามที่คุณแม่ขอร้อง แต่เด็กไม่สามารถทำตามที่ตัวเองต้องการได้ ถ้าเราพยายามนึกถึงสิ่งต่างๆเหล่านี้ จะทำให้เราสามารถตอบสนองพฤติกรรมต่างในทางที่ดี และสามารถช่วยเหลือเด็กสมาธิสั้นเหล่านั้นได้
    เชื่อในตัวเด็กและช่วยเหลือเด็ก
    • พยายายามนึกถึงเด็กในสิ่งที่ดี มีคุณค่าและเป็นเอกลักษณ์ของเด็กคนนั้น
    • เชื่อว่าเด็กสามารถเรียนรู้ ปรับเปลี่ยน มีวุฒิภาวะที่เหมาะสมตามวัย และจะประสบความสำเร็จ สนับสนุนความสามารถของเด็กและส่งเสริมความสามารถในทางที่ดีเหล่านั้น ซึ่งอาจจะทำให้เด็กประสบความสำเร็จในชีวิตได้
    • ให้เด็กเรียนรู้จากการกระทำของตัวเองแต่คอยอยู่เคียงข้าง เพื่อช่วยปลอบเมื่อความผิดพลาดนั้นทำให้เด็กเกิดการบาดเจ็บ
    • ส่งเสริมการสร้างความมั่นใจ โดยการเพิ่มทักษะต่างๆที่เด็กจำเป็นต้องใช้ และบอกให้เด็กรู้ถึงความรัก การช่วยเหลือและการสนับสนุนที่เรามีให้
    มองโลกในแง่ดี
    • ระลึกเสมอว่าพฤติกรรมที่เด็กสมาธิสั้นแสดงออกมา เป็นเพราะโรคที่เด็กเป็น และส่วนใหญ่ทำโดยไม่เจตนา
    • นึกให้เป็นเรื่องสนุกเพราะพฤติกรรมที่เด็กสมาธิสั้นแสดงออกมาแล้วดูน่าอายในวันนี้ อาจเป็นเรื่องราวสนุกๆของครอบครัวในอีก 10 ปีข้างหน้าก็ได้
    • อย่าใส่ใจกับเรื่องเล็กน้อย เมื่อเด็กทำงานบางอย่างไม่สำเร็จ ถ้าหากเด็กสามารถทำงานอื่นๆได้หลายชิ้นแล้ว รวมทั้งการบ้านด้วย
    • พยายามที่จะใช้วิธีการพูดคุย ประนีประนอม บางทีเด็กอาจจะไม่ใช่คนเดียวที่ต้องมีการปรับเปลี่ยน ผู้เลี้ยงดูอาจจะต้องมีการปรับเปลี่ยนด้วย เช่น ถ้าพ่อแม่เป็นคนเจ้ากี้เจ้าการ ต้องทำตามแบบแผน
    ให้ความสนใจกับญาติ พี่น้อง
    • ให้ความรู้ ข้อมูลเกี่ยวกับเด็กสมาธิสั้น
    • สร้างกฎ กติกาที่ชัดเจน ที่ทุกคนภายในบ้านต้องทำตาม
    • ใช้เวลากับลูกๆ โดยการเล่นเกมหรือทำกิจกรรมที่ทุกๆคนชอบ
    • อย่าให้ความสำคัญกับความสำเร็จของลูกที่ไม่ได้เป็นเด็กสมาธิสั้น แต่ควรให้คำชมถึงความสามารถ ความพยายาม และผลงานที่ได้รับมากกว่า
    ให้ลูกคนที่ไม่ได้เป็นเด็กสมาธิสั้นเล่นเหมือนเด็กคนอื่นๆ ไม่ควรให้เล่นในบทบาทของผู้ช่วยของพ่อ แม่ หรือกล่าวโทษเด็กเมื่อลูกที่เป็นสมาธิสั้นมีพฤติกรรมที่ไม่ดี
    ดูแลตัวเอง
    • พยายามดูแล รักษาสุขภาพร่างกายของตัวเอง และหาทางลดภาวะความเครียดที่อาจเกิดขึ้น
    • หาตัวช่วยต่างๆที่เราสามารถใช้พึ่งพาได้
    • ให้เวลาพักกับตัวเองบ้าง เมื่อลูกที่เป็นเด็กสมาธิสั้นไม่สามารถเปลี่ยนแปลงตามทีเราต้องการได้ อย่าลืมว่าเราเป็นพ่อ แม่ ไม่ใช่นักมายากล


    เด็กสมาธิสั้น


    เด็กสมาธิสั้นและซนผิดปกติ
    (Attention Deficit&Hyperactive Disorders: ADHD)
     update 21/7/51
      ADHD
                       Attention Deficit Hyperactivity Disorder: สมาธิสั้นและซนผิดปกติ หรือเรียกสั้นๆว่า ADHD เป็นหนึ่งในหลายๆพฤติกรรมที่ผิดปกติที่สามารถเกิดขึ้นกับเด็ก เด็กส่วนใหญ่ที่มีปัญหาด้านพฤติกรรมแล้วถูกส่งไปยังผู้เชี่ยวชาญทางด้านสุขภาพจิต มักจะแสดงภาวะADHD มากกว่ากลุ่มอาการอื่นๆ ซึ่งเด็ก ADHD มักจะมีปัญหาในเรื่องของการดำรงชีวิต ทั้งที่บ้าน โรงเรียนและการรักษาความสัมพันธ์กับผู้อื่น
     ADHDคืออะไร
                       Attention Deficit Hyperactivity Disorder เป็นความบกพร่องในการทำงานของระบบประสาท ซึ่งส่งผลต่อพฤติกรรมที่แตกต่างกันไป 4 ด้าน ดังนี้
                       สมาธิ เป็นสาเหตุที่ทำให้เด้กมีปัญหาในการจดจ่อหรือมีสมาธิอยู่กับกิจกรรมที่กำลังกระทำ หรือเป็นการทำกิจกรรมนั้นๆให้สำเร็จ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในกิจกรรมที่ไม่น่าสนใจมากนัก
                      ยุกยิก เป็นสาเหตุทำให้เกิดการขาดการควบคุมตัวเอง พฤติกรรมนี้อาจส่งผลต่อความไม่มั่นคงในการรักษาความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล การทำงาน โรงเรียนหรือชีวิต
                       อยู่ไม่นิ่ง เด็ก ADHD ส่วนใหญ่ (ไม่ใช่ทั้งหมด) มักจะไม่ค่อยนิ่งกระโดดไปมา และดูเหมือนจะไม่เหนื่อยเลยทีเดียว
                      เบื่อง่าย นอกจากว่ากิจกรรมหรืองานนั้นๆน่าตื่นเต้นหรือน่าสนใจมาก เช่น การเล่นวิดีโอเกม ดูโทรทัศน์หรือการเล่นนอกบ้าน โดยสำหรับเด็กที่บกพร่อง ทางสมาธิ มักจะเบื่อการทำกิจกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการบ้าน การคำนวน การทำบัญชีรายรับ รายจ่าย และการคิดภาษี และดูเหมือนว่างานต่างๆ เหล่านี้จะ ไม่มี วันสำเร็จเลย
                       จากพฤติกรรมที่พบด้านบน มักจะพบโดยทั่วๆไป ไม่เฉพาะที่บ้านหรือที่โรงเรียน เพราะถ้าเกิดเพียงที่บ้าน อาจเป็นไปได้ว่าเด็กเกิดความเบื่อหน่ายหรือไม่ อยากจะร่วมทำกิจกรรมที่บ้านและพฤติกรรมต่างๆ เหล่านี้มักจะสังเกตได้ก่อนอายุ 7 ปี เนื่องจากADHD เป็นความผิดปกติของการทำงานของระบบประสาท เราจึง สันนิษฐานว่าเด็กๆเหล่านี้ได้เกิดมาพร้อมกับความผิดปกติ ถึงแม้ว่าพฤติกรรมหรืออาการต่างๆจะไม่ได้ส่งผลมากนักจนกระทั่งถึงชั้นประถมต้นเนื่องจากการเรียนที่ ยากมากขึ้น จึงสรุปได้ว่าพฤติกรรมต่างๆมักจะสังเกตได้ก่อนอายุ 7 ปี
    "Children, teens, and adults can all suffer from Attention Deficit Hyperactivity Disorder"
                        ภาวะสมาธิสั้นส่งผลต่อเด็กและวัยรุ่นประมาณ 5% และส่งผลต่อผู้ใหญ่ประมาณ 3% มีเด็กADDน้อยกว่าครึ่งหนึ่งที่เติบโตเป็นผู้ใหญ่ได้อย่างสมบูรณ์ ถ้าไม่ รับการรักษาอาการหรือพฤติกรรมต่างๆอาจส่งผลระยะยาวไปถึงช่วงวัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่ จาก American Psychiatric Association’s DSM IV ได้แบ่งชนิดของADHD เป็น
                          ADHD Inattentive Type
                         ADHD Impulsive-Hyperactive Type
                         ADHD Combined Type
    ซึ่งในช่วงที่ผ่านมาได้มีการใช้คำว่า ภาวะสมาธิสั้นร่วมกับภาวะอยู่ไม่นิ่ง หรือ สมาธิสั้นอย่างเดียว โดยที่ADHD มีค่อนข้างหลากหลายและแน่นอนว่า ADD และ ADHD ย่อมมีลักษณะไม่เหมือนกัน
    ภาวะสมาธิสั้นและซนผิดปกติเป็นความบกพร่องที่มาจากพื้นฐานทางระบบประสาท
    ยังมีข้อโต้แย้งค่อนข้างมากที่หลายๆคนไม่อยากจะให้มีการวินิจฉัยภาวะสมาธิสั้นและซนผิดปกติ เนื่องจากยังขาดหลักฐานทางระบบประสาทหรือการวิจัยทางการแพทย์ หรือCriteriaกว้างเกินไป จริงๆแล้วยังมีการวิจัยจำนวนมากที่สนับสนุนว่าภาวะสมาธิสั้นและซนผิดปกติมาจากความบกพร่องทางระบบประสาท
     ภาวะสมาธิสั้นและซนผิดปกติไม่ได้เป็นผลมากจากการเลี้ยงดูที่ไม่ดี หรือเป็นความท้าทาย น่ารังเกียจของตัวเด็ก
    เพราะเด็กๆทุกคนย่อมชอบที่จะท้าทายอยู่แล้วไม่ว่าเด็กคนนั้นจะมีภาวะสมาธิสั้นและซนผิดปกติหรือไม่ การท้าทาย ไม่เชื่อฟังและความเห็นแก่ตัว น่าจะมาจากเรื่อง ของนิสัยหรือศิลธรรมมากกว่าความผิดปกติทางระบบประสาท เพราะมีหลายคนที่ไม่ได้เป็น ADD, ADHD แต่ก็ยังมีนิสัยต่างๆเหล่านี้ได้
    ในความเป็นจริงแล้ว ผู้ปกครองที่ต้องดูแลเด็กๆที่มีพฤติกรรมต่างๆเหล่านี้ควรต้องได้รับการอบรมหรือทราบข้อมูลเบื้องลึกในการดูแลเด็กๆเหล่านี้อย่างสมบูรณ์ ซึ่งใน ปัจจุบันต้องยอมรับว่าพ่อแม่รุ่นใหม่ก็ได้เติบโตมาจากครอบครัวที่ไม่ค่อยมีเวลาให้กันมาก่อน โดยที่พ่อแม่เหล่านี้ก็ได้พยายามดูแลลูกๆของตัวเองอย่างดีที่สุด แต่เขาไม่ได้ มีแบบอย่างมาก่อนเลย ซึ่งปัญหาเหล่าก็สามารถแก้ไขได้โดยการอบรม                
     โมสาร์ท นักประพันธ์เพลงผู้ยิ่งใหญ่ โทมัส อัลวา เอดิสัน ผู้คิดค้นการทำงานของหลอดไฟที่ใช้กันในปัจจุบัน กระทั่ง อับบราฮัม ลินคอร์น ผู้ที่ยกเลิกระบบทาสในประเทศสหรัฐอเมริกาได้สำเร็จ ก็ล้วนมีประวัติว่าเป็นโรคสมาธิสั้นทั้งสิ้น

    สมาธิ คือ กระบวนการที่คนเรามีจุดสนใจ จดจ่อ และเอาใจใส่เฉพาะกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งอาจเลือกที่จะสนใจเป็นระยะเวลาสั้นๆ หรือเป็นระยะเวลานานๆ ก็ได้ตามความต้องการของคนๆ นั้น รวมถึงความสามารถที่จะเบนความสนใจจากสิ่งหนึ่งไปยังอีกสิ่งหนึ่งได้เมื่อเราต้องการ

    เด็ก


    ความสนใจเกี่ยวข้องกับสมาธิอย่างไร?
    ความสนใจ เป็นองค์ประกอบสำคัญอย่างหนึ่งของสมาธิ การก่อให้เกิดสมาธินั้นต้องอาศัยความสนใจเป็นหลัก รวมทั้งองค์ประกอบอื่นๆ ความสนใจจึงเป็นการรวบรวมความคิดให้จดจ่อในจุดนั้นๆ ซึ่งการรวบรวมความคิดให้ยาวนานและต่อเนื่องจึงสามารถทำให้เกิดเป็นสมาธิขึ้นมาได้


    สมาธิมีผลอย่างไรต่อเด็กในวัยเรียน 
    สมาธิเป็นสิ่งสำคัญที่สุดที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ในคนทุกวัย ไม่เพียงแต่ในเด็กเท่านั้น แต่เด็กซึ่งอยู่ในวัยที่กำลังเรียนรู้นั้นหากมีสมาธิดีจะได้เปรียบกว่า ทั้งในด้านการฟัง การคิด การรับรู้ และมีความสามารถในการจดจำได้มากกว่าเด็กที่มีสมาธิสั้น เพราะเด็กที่มีสมาธิสั้นนั้นยากที่จะบังคับจิตใจให้จดจ่อหรือสนใจอยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเป็นงานที่ต้องทำอยู่เป็นระยะเวลานาน จะวอกแวกได้ง่ายได้ ซึ่งนอกจากสมาธิสั้นจะมีผลต่อการเรียนรู้แล้ว ยังมีผลเสียอื่นๆ ที่เกิดขึ้นอีกหลายอย่างต่อตัวเด็ก และต่อครอบครัวตามมาด้วย


    สมาธิสั้นคืออะไร 
    คุณคงเคยได้ยินคุณพ่อ คุณแม่ หรือคุณครูบ่นเด็กๆ ที่อยู่ไม่นิ่งว่า “ดื้อ” “อยู่ไม่สุข” “ทำไมไม่อยู่นิ่งๆ บ้าง” “ไม่ฟังครูเลย” “ใจลอย” “ขี้ลืม” “ขี้เกียจจัง” “อย่าพูดแทรก” “ซนหกล้มอยู่เรื่อย” “ซุ่มซ่าม” แน่นอนค่ะว่าเด็กที่มีภาวะสมาธิสั้นจะส่งผลกระทบต่อครอบครัวและตัวเด็กเองเป็นอย่างมาก เพราะเด็กจะไม่รู้จักระวังอันตรายและคำนึงถึงความปลอดภัยของตนเอง ซึ่งจะทำให้พ่อแม่รู้สึกเครียดเพราะกังวลเป็นห่วงลูกตลอดเวลา เมื่อเป็นห่วงมากก็แสดงออกด้วยการตักเตือนหรือบ่นมากเป็นธรรมดา ส่งผลให้เด็กรู้สึกว่ามีปมด้อย เพราะถูกตำหนิอยู่เสมอ บางคนอาจถูกทำโทษจากพ่อแม่ หรือครู บางคนทะเลาะกับเพื่อน เข้ากับเพื่อนไม่ได้ เรียนหนังสือไม่ทัน ผลการเรียนแย่ลงอาจสอบไม่ผ่าน จึงมักจะคิดว่าตัวเองเป็นคนโง่ เรียนรู้อะไรยาก ไม่มีใครอยากคบด้วย เด็กจะยิ่งเครียด แล้วอาจแยกตัวออกไปอยู่คนเดียว เพราะรู้สึกว่าไม่ประสบความสำเร็จ ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดอาการซึมเศร้าได้

    โดยทั่วไปแล้วในเด็กวัยเรียนจะพบเด็กสมาธิสั้นได้ร้อยละ 3-5 ซึ่งพบในเด็กชายมากกว่าเด็กหญิงถึงร้อยละ 4 สำหรับในประเทศไทยพบว่ามีเด็กสมาธิสั้นร้อยละ 5 โดยเฉลี่ยแล้วในห้องเรียนห้องหนึ่งจะพบเด็กสมาธิสั้นประมาณ 2- 3 คน !

    ส่วนผู้ใหญ่ที่มีอาการสมาธิสั้นนั้นก็มีเหมือนกัน สังเกตได้ว่าจะเป็นคนที่มีความสนใจอะไรน้อยเกินไป ซึ่งอาจขาดความสนใจบางส่วนหรือทั้งหมดทำให้ขาดสมาธิในการทำงาน โดยเฉพาะงานที่ต้องทำเป็นประจำ เขาจะรู้สึกเบื่อหน่ายและไม่สามารถอดทนที่จะรอคอย หรือทำงานที่ต้องใช้ระยะเวลานานๆ ได้


    แล้วอะไรคือสาเหตุของสมาธิสั้น?
    โรคสมาธิสั้นนั้นเกิดจากการทำงานที่ไม่ปกติของระบบประสาทชีววิทยาภายในร่างกาย อันได้แก่ สมองส่วนหน้า (Frontal Lobe of Cerebral Hemisphere) ทำงานน้อยกว่าปกติ ซึ่งสมองส่วนนี้เป็นสมองส่วนที่ควบคุมความคิด การเกิดสมาธิ การจัดระเบียบและการทำกิจกรรมแบบมีจุดมุ่งหมาย ส่วนความผิดปกติอีกประการหนึ่งก็คือ การเกิดปัญหาของการหลั่งสารเคมีในสมองที่เรียกว่า Dopamine และ Norepinephrine ซึ่งเป็นสารเคมีในสมองที่ช่วยกระตุ้นทำให้มีการเคลื่อนไหว ไม่สามารถทำงานได้อย่างเป็นปกติ เนื่องจากการขาดหรือมีสารเคมีดังกล่าวในปริมาณที่ไม่สมดุล และจะส่งผลให้แสดงพฤติกรรมผิดปกติจนไม่สามารถหยุดการกระทำได้ นอกจากนี้ การเป็นโรคภูมิแพ้ การที่สมองของเด็กได้รับความกระทบกระเทือนระหว่างการคลอด หรือได้รับการติดเชื้อหลังคลอด และการที่เด็กได้รับสารเคมี ที่เป็นอันตรายต่างๆ เช่น สารตะกั่วล้วนอาจเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคสมาธิสั้นได้

    พ่อแม่บางคนที่มีลูกสมาธิสั้น มักจะโทษตัวเองว่าเป็นเพราะตนเองเลี้ยงลูกไม่ดี ....ซึ่งขออธิบายค่ะว่า การเลี้ยงดูของพ่อแม่ไม่ได้เป็นสาเหตุที่ทำให้เด็กเกิดโรคสมาธิสั้น แต่การเลี้ยงดูและการดูแลที่ไม่เหมาะสมหรือไม่ถูกต้อง สามารถส่งผลให้เด็กที่มีอาการสมาธิสั้นอยู่แล้วมีอาการมากขึ้น ซึ่งในทางตรงกันข้าม การดูแลที่ดีกลับจะช่วยให้เด็กสามาธิสั้นมีอาการดีขึ้นได้


    รู้ได้อย่าง...ว่าเด็กเป็นโรคสมาธิสั้น
    การที่จะสรุปว่าเด็กคนใดเป็นโรคสมาธิสั้นหรือไม่นั้น ต้องมีผู้เชี่ยวชาญ ได้แก่ กุมารแพทย์ และจิตแพทย์ เป็นผู้วินิจฉัย ซึ่งในประเทศไทยจะใช้คู่มือของ DSMIV 1994 (Diagnostic and Statistical Manual of Mental Disorder) ของสมาคมจิตแพทย์อเมริกัน (Psycho American Association) ซึ่งลักษณะเฉพาะของสมาธิสั้น มีอยู่ 3 อย่างคือ

    • อาการขาดสมาธิ (Inattention) จำแนกได้ 9 อาการ
    • ซุกซนไม่อยู่นิ่ง (Hyperactivity) จำแนกได้ 6 อาการ
    • อาการหุนหันพลันแล่น (Impulsiveness) จำแนกได้ 3 อาการ
    • อาการดังกล่าวต้องแสดงออกก่อนอายุ 7 ปี


    อาการขาดสมาธิ (Inattention) ประกอบด้วย
    1. มีความเลินเล่อในการทำกิจกรรมหรือการทำงานอื่นๆ และมักจะละเลยในรายละเอียด
    2. ไม่มีสมาธิในการทำงานหรือการเล่น
    3. ดูเหมือนไม่เชื่อฟังและไม่สนใจเมื่อมีคนพูดด้วย
    4. ทำกิจกรรมไม่เสร็จ ทำตามคำสั่งไม่จบ
    5. มีความลำบากในการจัดระเบียบงานหรือกิจกรรมที่ทำ
    6. หลีกเลี่ยงงานที่ต้องใช้สมาธิ
    7. ทำของหายบ่อยๆ
    8. วอกแวกง่าย
    9. ขี้ลืมเป็นประจำ


    เด็ก, สมาธิสั้นDonald Getz, O.D. เล่าว่า คุณแม่ของเด็กชายชาวอเมริกันชื่อเอ็ดดี้ อายุ 7 ปี บอกว่าบางทีเอ็ดดี้เขียนหนังสือได้ 1-2 ตัว ก็จะลุกขึ้นวิ่งเล่นหรือเลิกทำไปเสียเฉยๆ บางทีเขียนหนังสือหรือระบายสีได้นิดเดียวก็เปลี่ยนที่ เพราะเขาขาดสมาธิ แล้วอาจมีปัญหาทางสายตาด้วยการเขียนหนังสือกลับทาง เช่น การเขียนหนังสือจะเขียนกลับจาก “was” เป็น “saw”, “on” เป็น “no” หรือเขียนตัวเลขกลับ จาก “6” เป็น “9” หรือ “12” เป็น “21”เป็นต้น

    อาการซนไม่อยู่นิ่ง (Hyperactivity) ประกอบด้วย
    1. นั่งไม่นิ่งขยับไปมา บิดตัวไปมา
    2. ลุกจากที่นั่งในห้องเรียนหรือในที่อื่นที่ต้องนั่ง
    3. วิ่งปีนป่านในสถานการณ์ที่ไม่เหมาะสม ( มีอาการกระวนกระวาย กระสับกระส่าย)
    4. ไม่สมารถเล่นเงียบๆ คนเดียวได้
    5. เคลื่อนไหวตลอดเวลา
    6. พูดมากเกินไป


    อาการหุนหันพลันแล่น (Impulsiveness) ประกอบด้วย
    1. ไม่อดทนรอคอย
    2. พูดโพล่งออกมาในขณะที่ยังถามไม่จบ
    3. พูดแทรกขัดจังหวะการสนทนาหรือการเล่น

    ซึ่งอาการเหล่านี้ต้องปรากฏขึ้น อย่างน้อยใน 2 สถานการณ์ ไม่ว่าจะเป็นที่บ้าน ในห้องเรียน สนามเด็กเล่น หรือในที่ชุมชน ที่สำคัญข้อมูลเหล่านี้นำเสนอเพื่อให้คุณผู้อ่านใช้สังเกตลูกหลานเท่านั้น อย่างไรก็ตามการวินิจฉัยว่าเด็กเป็นสมาธิสั้นหรือไม่ยังต้องเป็นหน้าที่ของแพทย์ค่ะ


    เราจะช่วยเหลือเด็กสมาธิสั้นได้อย่างไร 
    • หากสังเกตว่าเด็กเข้าข่ายมีอาการสมาธิสั้น ไม่อยู่นิ่ง ควรพาเด็กไปพบกุมารแพทย์ หรือจิตแพทย์ เพื่อรับการตรวจวินิจฉัย นอกจากนี้แพทย์ยังจะให้ตรวจโรคทางจิตอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น การตรวจสติปัญญาของเด็ก ซึ่งในเด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้นจะมีสติปัญญาอยู่ในเกณฑ์ปกติ อาจจะมีการสัมภาษณ์คุณพ่อ-แม่ และครู หากเด็กถูกวินิจฉัยว่าเป็นโรคสมาธิสั้น แพทย์จะให้การรักษาต่อไป

    • การใช้พฤติกรรมบำบัดโดยนักจิตวิทยา ในกรณีที่เด็กมีอาการก้าวร้าวรุนแรง

    • การทำกิจกรรมกลุ่มเพื่อให้เด็กได้พัฒนาทักษะทางสังคมในการอยู่ร่วมกับเพื่อนๆ

    • ควรหลีกเลี่ยงไม่ให้เด็กรับประทานอาหารที่ใส่สี ใส่สารกันบูด สารแต่งกลิ่นรส หรือน้ำตาลมากเกินไป รวมถึงเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะกระตุ้นให้เด็กมีอาการสมาธิสั้นมากขึ้น

    • การเลี้ยงดูเด็กโดยไม่มีกฎระเบียบที่ชัดเจน เช่น การที่พ่อแม่เร่งรีบในการทำกิจวัตรประจำวัน การให้เด็กเล่นเกมส์มากๆ หรือการปล่อยให้ดูโทรทัศน์ตลอดเวลา จะมีผลทำให้เด็กที่สมาธิสั้นอยู่แล้วมีอาการมากขึ้น และอาจทำให้เด็กปกติเกิดอาการที่เรียกว่า “สมาธิสั้นเทียม”ได้ หมายถึงว่าจากเด็กที่ไม่ค่อยอยู่นิ่งอยู่แล้วจะกลายเป็นไม่อยู่นิ่งมากขึ้น และไม่รู้จักควบคุมตนเอง ดังนั้นการจัดสิ่งแวดล้อมในบ้านให้เป็นระเบียบเรียบร้อย การตั้งกฎระเบียบภายในบ้าน และการสอนให้รู้จักการทำงานให้เป็นขั้นตอน ตามลำดับก่อนหลัง จึงเป็นสิ่งจำเป็นในการเลี้ยงดูเด็ก และนอกจากนี้พ่อแม่ยังต้องเป็นต้นแบบที่ดีให้แก่เด็ก การปรับทัศนคติที่ดีต่อเด็ก มีความเข้าใจเด็ก ให้กำลังใจ และไม่ตำหนิเด็กด้วย

    • คุณครูที่โรงเรียนจะช่วยเด็กได้มากในการให้เวลากับเด็ก หาสิ่งที่เด็กชอบมาให้ทำ พร้อมทั้งให้กำลังใจ คำชมเชย และรางวัลแก่เด็ก

    สมาธิสั้นหากไม่ได้รับการรักษาจะส่งผลทำให้เด็กเกิดความรู้สึกว่าตัวเองต่ำต้อย ขาดความภาคภูมิใจและความมั่นใจในตนเอง คิดว่าตัวเองมีปมด้อย ไม่เก่ง ไม่ดีเหมือนคนอื่น ความรู้สึกนึกคิดเช่นนี้จะทำให้เด็กต่อต้านสังคม ก้าวร้าว ทำตัวผิดระเบียบ บางคนอาจถึงขั้นหันไปใช้ยาเสพติดเพื่อชดเชยความรู้สึก ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าเป็นห่วงเป็นอย่างมาก ซึ่งการรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ จะช่วยให้เด็กมีอาการดีขึ้นได้

    การรักษาโรคสมาธิสั้นอาจต้องใช้เวลาในการรักษาตั้งแต่วัยเด็กจนกระทั่งถึงวัยผู้ใหญ่ซึ่ง โรคสมาธิสั้นในวัยผู้ใหญ่ นอกจากจะได้รับการรักษาโดยยาแล้ว การรู้จักและยอมรับตนเองว่าเป็นโรคสมาธิสั้นและพยายามจัดระเบียบให้กับตนเองก็เป็นสิ่งสำคัญในการรักษา ซึ่งจะช่วยให้สามารถทำงานได้ อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขและอาจจะมีโอกาสได้แสดงความสามารถพิเศษในเรื่องใดเรื่องหนึ่งออกมาก็ได้ เพราะคนที่เป็นโรคสมาธิสั้นจะมีสติปัญญาปกติ จนถึงดีเลิศ ตัวอย่างบุคคลสำคัญที่ประสบความสำเร็จ ได้แก่โมสาร์ท นักประพันธ์เพลงผู้ยิ่งใหญ่ โทมัส อัลวา เอดิสัน ผู้ที่สามารถคิดค้นการทำงานของหลอดไฟที่ใช้กันในปัจจุบัน หรือแม้กระทั่ง อับบราฮัม ลินคอร์น ผู้ที่ยกเลิกระบบทาสในประเทศสหรัฐอเมริกาได้สำเร็จ บุคคลเหล่านี้ล้วนมีประวัติว่าเป็นโรคสมาธิสั้นทั้งสิ้น แต่พวกเขาเหล่านี้ได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งเขาสามารถแสดงศักยภาพที่โดดเด่นของเขาออกไปทั่วโลก

    ดังนั้น สมาธิสั้นรักษาได้ โดยเฉพาะการรักษาที่เริ่มตั้งแต่ในวัยเด็กจะช่วยเหลือให้เด็กมีอาการดีขึ้นได้ โดยต้องอาศัยความร่วมมือจากพ่อแม่ และครู ร่วมมือกับแพทย์ผู้รักษา ช่วยเหลืออย่างต่อเนื่อง และพยายามทำความเข้าใจอาการของโรค ทำความเข้าใจเด็ก ลดทัศนคติที่ไม่ดี และลดคำตำหนิติเตียน รวมถึงการให้กำลังใจ ให้ความสำคัญแก่เด็ก ส่งเสริมให้เด็กมีความภาคภูมิใจในตนเอง สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้เด็กมีอาการดีขึ้นได้

    นอกจากการร่วมมือช่วยเหลือกันระหว่างพ่อแม่และครูแล้ว ความเข้าใจของบุคคลในสังคมก็เป็นสิ่งสำคัญ เพราะนอกจากเราจะช่วยเหลือเด็กแล้วเรายังช่วยเหลือครอบครัวของเขาด้วย แล้วอาจจะส่งผลทำให้เด็กบางคนได้แสดงความสามารถพิเศษของเขาออกมา เขาอาจจะมีความสามารถโดดเด่นเช่น โมสาร์ทหรือบุคคลสำคัญอื่นๆ ก็เป็นได้ ซึ่งจะทำให้เกิดประโยชน์แก่สังคม และประเทศชาติต่อไปในอนาคตด้วย