วันเสาร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

เด็กที่มีพฤติกรรมอารมณ์ที่รุนเเรง


เด็กที่มีปัญหาทางพฤติกรรมหรืออารมณ์
1) ความหมายของเด็กที่มีปัญหาทางพฤติกรรม
เด็กที่มีปัญหาทางพฤติกรรม คือ เด็กที่ประพฤติตนไปในทางที่ไม่พึงประสงค์ อาจจะเป็นไปในลักษณะก้าวร้าว เกเร ก่อกวน หรือเป็นไปในทาง ถดถอย หนีความจริง เงื่องหงอย เพ้อฝัน หรือเซื่องซึม พฤติกรรมที่จะถือว่ามีปัญหานั้น ได้แก่พฤติกรรม ทุกพฤติกรรมที่เบี่ยงเบนไปจากเกณฑ์ปกติ อันจะสร้างปัญหาให้แก่ตัวเด็กเองและผู้อื่น

2. ลักษณะของเด็กที่มีปัญหาทางพฤติกรรมหรืออารมณ์
1. การก้าวร้าว-ก่อกวน เด็กมักแสดงออกในทางก้าวร้าว ก่อกวนความสงบสุขของผู้อื่น พฤติกรรมที่แสดงออกในทางก้าวร้าวอาจรวมไปถึงการแสดงออกซึ่งความโหดร้าย ทารุณสัตว์ ชกต่อย ทำร้ายร่างกายตนเองและผู้อื่น ขู่ คุกคาม หวีดร้อง กระทืบเท้า ไม่เคารพเชื่อฟังครูและพ่อแม่ ฝ่าฝืนคำสั่งของครูหรือพ่อแม่ เด็กที่มีพฤติกรรมในลักษณะนี้ มักมีความขัดแย้งกับคนใกล้เคียง พฤติกรรมอาจรุนแรงขึ้นหากไม่ได้รับการแก้ไข
2. การเคลื่อนไหวที่ผิดปกติ หมายถึง การไม่อยู่นิ่ง เคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลาโดยปราศจากจุดหมาย และไม่ได้รับอนุญาตจากครู เด็กที่มีปัญหาทางพฤติกรรม อาจมีพฤติกรรมในลักษณะนี้ นอกจากนี้ยังมีความสนใจสั้น สนใจบทเรียนได้ไม่นาน ขาดสมาธิในการเรียน หันเหความสนใจไปสู่สิ่งอื่นได้ง่าย เด็กที่มีการเคลื่อนไหวที่ผิดปกตินี้ อาจมีปัญหาการก้าวร้าวร่วมด้วยก็ได้
3. การปรับตัวทางสังคม เด็กมีการปรับตัวทางสังคมที่ไม่ถูกต้อง หมายถึง การฝ่าฝืนกฎเกณฑ์ที่เป็นที่ยอมรับของสังคม แก๊งอันธพาล การทำลายสาธารณสมบัติ การลักขโมย การหนีโรงเรียน การต่อสู้ของนักเรียนระหว่างโรงเรียนคู่อริ การประทุษร้ายทางเพศ เป็นต้น พฤติกรรมลักษณะนี้มักเกิดขึ้นกับเด็กวัยรุ่นเป็นส่วนใหญ่
4. ความวิตกกังวลและปมด้อย เด็กอาจไม่กล้าพูดกล้าแสดงออกในชั้นเรียน บางคนมีความประหม่าอย่างเห็นได้ชัดเมื่อออกไปรายงานหน้าชั้น บางคนมีอาการตัวร้อนและเป็นไข้เมื่อถึงเวลาไป
โรงเรียน บางคนขาดความมั่นใจในตนเองอย่างเห็นได้ชัด บางคนร้องไห้บ่อย พฤติกรรมเหล่านี้จัดเป็นพฤติกรรมที่เกิดจากความวิตกกังวล หรือเกิดจากปมด้อยของแต่ละบุคคล
5. การหนีสังคม หรือการปลีกตัวออกจากสังคม เป็นพฤติกรรมที่เบี่ยงเบนอย่างหนึ่งของเด็ก สังเกตได้จากการที่เด็กไม่พูดคุย ไม่เล่นกับเพื่อน ไม่ร่วมกิจกรรมที่ทางโรงเรียนจัดขึ้น เด็กประเภทนี้มีลักษณะเป็นคนขี้อาย พูดไม่เก่ง ไม่กล้าพูดต่อหน้าสาธารณชน ไม่กล้าพูดในที่ประชุม บางคนเป็นคนเจ้าอารมณ์ เด็กเหล่านี้ขาดทักษะที่จำเป็นในการติดต่อกับผู้อื่น ขาดความเชื่อในตนเองในด้านการพูด เด็กจึงชอบอยู่คนเดียว ทำงานคนเดียว เด็กเหล่านี้อาจมีปฏิสัมพันธ์กับเด็กอื่นได้ แต่มักเป็นไปในลักษณะแสดงอาการก้าวร้าว ไม่มีวุฒิภาวะ หรือไม่ก็แสดงพฤติกรรมทางสังคมที่ไม่เหมาะสม
6. ความผิดปกติในการเรียน สังคมมักกำหนดว่า หน้าที่สำคัญของเด็กคือการเรียน เด็กที่มีผลการเรียนดี มักเป็นที่ชื่นชอบของครู ผู้ปกครอง และเพื่อน เด็กที่เรียนไม่ดีอาจไม่ได้รับการยกย่องเท่าที่ควร ซึ่งมีผลต่อการปรับตัวของเด็ก เด็กที่เรียนไม่ดี อาจกลายเป็นเด็กที่มีปัญหา การศึกษาวิจัยเป็นจำนวนมาก ระบุว่าเด็กที่มีปัญหาทางพฤติกรรมมีผลการเรียนต่ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการอ่าน การสะกดคำ และคณิตศาสตร์
การตัดสินว่า เด็กคนใดเป็นเด็กที่มีปัญหาทางพฤติกรรมนั้น ควรพิจารณาความรุนแรงและความสม่ำเสมอของพฤติกรรมควบคู่กันไปด้วย เด็กอาจมีพฤติกรรมเพียงข้อเดียวหรือหลายข้อตามที่กล่าวมาแล้ว ก็อาจจัดเป็นเด็กที่มีปัญหาพฤติกรรมได้การติดสินใจควรใช้เกณฑ์เป็นหลักในการพิจารณาควบคู่กันไป
ตารางแสดงลักษณะของบุคคลที่มีปัญหาทางพฤติกรรมหรืออารมณ์
ลักษณะของพฤติกรรม ความรุนแรงของพฤติกรรม
ปานกลาง มาก(รุนแรง)
1. การก้าวร้าว-ก่อกวน ชกต่อย ทำร้ายร่างกาย โกรธจัด ฝ่าฝืนกฎ ระเบียบ ขู่ คุกคามผู้อื่นไม่เคารพยำเกรง ทำร้ายข้าวของ ทำร้ายตนเอง ทำร้ายร่างกายผู้อื่น ทำร้ายข้าวของเสียหาย
2. การเคลื่อนไหว ผิดปกติ อยู่นิ่งไม่ได้ ลุกลี้ลุกลน ขาดความสนใจในบทเรียนหรือสิ่งที่อยู่รอบตัวติดตามมาด้วย การก้าวร้าว และก่อกวนสมาธิของผู้อื่น มีการเคลื่อนไหวที่แปลกๆและซ้ำๆในลักษณะเดิม
3. ขาดการปรับตัวทางสังคมที่ถูกต้อง ลักขโมย ชกต่อย ทำลายสาธารณ-สมบัติ ฝ่าฝืนกฎหมาย หนีเรียน กระทำผิดทางเพศ เหมือนกันกับข้อความด้านซ้ายเพียงแต่รุนแรงกว่า
4. ความวิตกกังวล ปมด้อย ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง หลีกเลี่ยง สถานการณ์บางอย่าง ร้องไห้บ่อย ๆ มีความวิตกกังวลสูง ความสามารถด้านทักษะเสื่อมลง แสดงความผิดหวังอย่างรุนแรงต่อความเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย
5. การหนีสังคม ไม่พูดคุยกับเพื่อนหรือผู้ใกล้ชิด ไม่ยอมพบเพื่อนหรือผู้ใกล้ชิดปฏิเสธทุกคนที่เกี่ยวข้อง เหมือนกันกับข้อความด้านซ้ายเพียงแต่รุนแรงกว่า
6. ความผิดปกติทางการเรียน ผลการเรียนดีต่ำลงทุกวิชา ความสามารถทางสมองเสื่อมลง สมองเฉื่อยชา ความจำเสื่อม มีความบกพร่องทางภาษา
3) ความต้องการพิเศษของเด็กที่มีปัญหาทางพฤติกรรมหรืออารมณ์
1. ความต้องการความปลอดภัยและมั่นคง
1.1 ความมั่นคงในครอบครัว คือ ต้องการมีพ่อแม่ที่ให้ความรัก และเข้าใจตนและครอบครัว
ที่ไม่มีความแตกแยกกัน
1. ความปลอดภัยในสถานที่ที่เด็กต้องไปเกี่ยวข้องและคุ้นเคย ดังนั้นโรงเรียนที่สอนเด็ก เหล่านี้ ต้องทำให้เด็กเกิดความอบอุ่นใจ และมั่นใจว่าเด็กมีความปลอดภัยขณะที่จะมาเรียนหรืออยู่ในโรงเรียน
2. ต้องการความมั่นคงและปลอดภัย ขณะที่อยู่กับครูและเพื่อน ๆ
3. ต้องการความมั่นคงในกิจวัตรประจำวัน เช่น ต้องการทำอะไรด้วยตนเองได้
2. ต้องการได้รับความรักและเป็นผู้ให้ความรัก เด็กที่มีปัญหาทางพฤติกรรมหรืออารมณ์มีความคำนึงถึงความรักมากกว่าปกติ เพราะเด็กจะถามครูอยู่ทุก ๆ วัน ว่ารักเขาไหม และจะไม่ยอม ถ้าครูบอกว่าไม่รัก เป็นต้น ถ้าเด็กรักครูหรือเพื่อคนใด จะพยายามหาสิ่งของต่าง ๆ มาให้ เพื่อให้ครูและเพื่อนรักตนด้วย นอกจากนี้ยังต้องการความสนในเป็นพิเศษ โดยเฉพาะเด็กที่มีปัญหาทางพฤติกรรมหรืออารมณ์ที่พ่อแม่ทอดทิ้ง จะมีความต้องการความรักจากครูและเพื่อนเพิ่มขึ้นอีกเป็นทวีคูณ
3. ต้องการเป็นที่ยอมรับในกลุ่มเพื่อนฝูง ต้องการให้เพื่อนยอมรับเป็นสมาชิกของกลุ่ม ถ้าเพื่อน ๆ ไม่ยอมรับเข้ากลุ่ม เด็กจะเสียใจมาก เด็กที่มีปัญหาทางพฤติกรรมหรืออารมณ์ส่วนมากจะไม่เป็นที่ยอมรับของเพื่อนฝูง ทั้งนี้ เพราะพูดกับเพื่อน ๆ ที่เป็นเด็กปกติไม่รู้เรื่อง คำพูดก้าวร้าว บุคลิกภาพผิดปกติ ขาดวุฒิภาวะ นอกจากนี้มักจะมีพฤติกรรมต่าง ๆ ที่แสดงออกในทางที่ไม่ดีให้เป็นที่ยอมรับของเพื่อน กล่าวคือ มีความกล้าที่จะไปตีรันฟันแทงคนอื่น มีความกล้าที่จะหยิบฉวยของคนอื่น ๆ เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อเพียงแต่ให้เพื่อน ๆ ยอมรับเข้ากลุ่มเท่านั้น
4. ต้องการได้รับความยกย่องนับถือว่าเป็นคนมีความสามารถ เรื่องนี้เป็นการยากมากสำหรับเด็กที่มีปัญหาทางพฤติกรรมหรืออารมณ์ แต่เพื่อสนองความต้องการพิเศษที่จำเป็นต้องยกย่องชมเชยเด็ก เมื่อสามารถทำบางสิ่งบางอย่างสำเร็จ แม้จะเห็นว่าเป็นสิ่งง่าย ๆ ครูต้องชมเด็กทุกครั้งที่เด็กสามารถตอบคำถาม แม้จะเพียงเล็กน้อยก็ตาม ครูจะต้องพูดติดปากเสมอว่า เก่ง ดี ดีมาก วาดรูปได้สวย ทำถูกต้องแล้ว น่ารัก ขยัน เป็นต้น หากครูไม่เข้าใจ แต่กลับใช้ถ้อยคำที่ทำให้เด็กท้อถอย เด็กเหล่านี้จะไปแสดงออกในทางที่ไม่ดีนอกโรงเรียน เช่น ไปขโมยของผู้อื่น ทั้งนี้เพื่อ ทดแทนแต่เพียงคำพูดชมเชยของเพื่อ ๆ ที่ไม่ดีเท่านั้น
5. ต้องการความเป็นอิสระ และต้องการเป็นผู้รับผิดชอบในงานต่าง ๆ บ้าง ทั้งนี้เพราะบุคคลที่มี ปัญหาทางพฤติกรรมหรืออารมณ์ต้องคอยอาศัยคนอื่นๆ อยู่ตลอดเวลาไม่ค่อยเป็นตัวของตัวเอง ดังนั้น หากเด็กเหล่านี้ต้องการความเป็นอิสระบ้างครูควรจัดให้โดยครูเป็นผู้ให้ คำแนะนำไม่ใช่คอยควบคุม เพื่อให้เด็กได้ทำอะไรได้ด้วยตนเอง และฝึกให้มีความรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายอีกด้วย
6. ต้องการประสบการณ์แปลก ๆ ใหม่ ๆ และกิจกรรมใหม่ ๆ บ้าง สิ่งเหล่านี้เด็กปกติสามารถคิดค้นและสร้างสรรค์ได้ แต่เด็กที่มีปัญหาทางพฤติกรรมหรืออารมณ์ไม่สามารถทำได้ ดังนั้นครูที่สอนต้องพยายามจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้เด็กเหล่านี้ได้มีประสบการณ์แปลก ๆ ใหม่ ๆ เพื่อเป็นการฝึกหัดให้เด็กคิดบ้าง
4) สาเหตุของพฤติกรรมที่เป็นปัญหา
1. พันธุกรรม บทบาทของพันธุกรรมที่มีต่อพฤติกรรมจะเห็นได้ชัดในเรื่องพัฒนาการทางร่างกาย เด็กที่มีร่างเล็กและไม่แข็งแรงอันเนื่องมาจากบิดาหรือมารดาที่มีรูปร่างเตี้ยมักจะเป็นคนเก็บตัว และไม่ชอบร่วมในกิจกรรมที่ต้องใช้แรงกาย ยังไม่มีหลักฐานการวิจัยที่พอจะยืนยันได้ว่า การเกเร ความเป็นอันธพาล หรือลักษณะทางพฤติกรรมอันไม่พึงปรารถนาอื่นๆเป็นลักษณะที่ถ่ายทอดโดยทางกรรมพันธุ์แต่ นักวิทยาศาสตร์ยืนยันว่าลักษณะบางประการ เช่น ระดับสติปัญญาและอารมณ์สามารถถ่ายทอดได้โดยทางกรรมพันธุ์
2. สารเคมีในร่างกาย ความไม่สมดุลของสารเคมีในร่างกายมีอิทธิพลต่อการพัฒนาบุคลิกภาพและ
พฤติกรรมบางอย่าง เด็กบางคนมีพฤติกรรมไปในทางก้าวร้าวน่ากลัว หรือมีพฤติกรรมไปในทางด้านโหดร้ายทารุณ อาจจะเนื่องมาจากสมองพิการหรือระบบประสาทได้รับความกระทบกระเทือนอย่างรุนแรงหลังจากได้รับอุบัติเหตุ ความพิการทางสมอง ความไม่สมดุลของสารเคมีในร่างกาย จะทให้เกิดความผิดปกติในด้านความคิด การรับรู้ และด้านอารมณ์ ความสามารถในการเรียนรู้ ความสัมพันธ์กับบุคคลอื่น และ บุคลิกภาพของเด็ก
3. สภาพทางครอบครัว ครอบครัวมีบทบาทสำคัญต่อพฤติกรรมของเด็กมาก เด็กที่มาจากครอบครัวยากจน อาจขโมยของคนอื่น เด็กที่มาจากครอบครัวที่บิดามารดาหย่าร้างหรือแยกกันอยู่ อาจจะขาดความอบอุ่น มีผลต่ออารมณ์และทำให้ผลการเรียนต่ำ การอบรมเลี้ยงดูก็มีความสำคัญต่อพฤติกรรมของเด็กมาก เด็กที่มาจากครอบครัวที่บิดามารดาตามใจ อาจทำอะไรไม่เป็นต้องพึ่งผู้อื่นเสมอ เด็กที่มาจากครอบครัวที่บิดามารดาอารมณ์ร้าย อาจมีพฤติกรรมไปในทำนองเดียวกัน นอกจากนี้ยังมีปัญหาอื่นอีก เช่น การทะเลาะวิวาทกันของบิดามารดา การแข่งขันชิงดีชิงเด่นกันระหว่างพี่น้อง การรักลูกไม่เท่ากัน บิดามารดาขาดการดูแลเอาใจใส่ลูก เป็นต้น
4. สภาพทางสังคมและสิ่งแวดล้อม สภาพทางสังคมและสิ่งแวดล้อมเป็นองค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของเด็กมาก เป็นที่น่าสังเกตว่า เด็กที่เติบโตสังคมชนบทสร้างปัญหาแก่สังคมน้อยกว่าเด็กที่เติบโตในสังคมเมือง อาจเป็นเพราะไม่มีสิ่งยั่วยุให้เด็กเสียคนได้ง่าย ประกอบกับประชาชนมีอัธยาศัยไมตรีต่อกัน เมื่อมีเด็กปะพฤติผิดก็ช่วยว่ากล่าวตักเตือน ตรงข้ามกับสังคมเมืองใหญ่ที่มีสิ่งยั่วยุมาก การดำรงชีพต้องอาศัยเงินเป็นสำคัญ ทุกคนก็ดิ้นรนเพื่อเอาตัวรอด ทำให้ประพฤติผิดได้ง่าย ปัจจุบันชาวชนบทจำนวนมากอพยพเข้ามาเรียนและทำงานในเมือง อาจปรับตัวกับสิ่งแวดล้อมใหม่ไม่ได้ทำให้เกิดปัญหาตามมา เด็กที่อาศัยในสภาพแวดล้อมไม่ดี เช่น ชุมชนแออัด เพื่อนบ้านเกเร ค้าของผิดกฎหมาย อาจถูกชักจูงให้ทำผิดได้ง่าย
5. ความต้องการของบุคคล ความต้องการของบุคคลมีผลต่อพฤติกรรมของบุคคลนั้น ความต้องการ
พื้นฐานของมนุษย์มี 4 อย่าง คือ ต้องการอาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค แต่นักจิตวิทยาสมัยใหม่ได้ผนวกเอาความต้องการทางเพศเป็นอย่างที่ 5 ความต้องการของมนุษย์แต่ละคนมีไม่เท่ากัน เมื่อมีความต้องการก็พยายามทุกวิถีทางที่จะให้ได้มาซึ่งสิ่งนั้น บางคนที่ไม่สามารถสนองความต้องการของตนได้ถูกต้องก็อาจหาทางออกไปในทางที่ผิดได้ นอกจากความต้องการพื้นฐานดังกล่าว มนุษย์เรายังต้องการสิ่งอื่นอีก เช่น ต้องการความรัก การยอมรับในสังคม เด็กที่ไม่ได้รับการยอมรับจากครูหรือเพื่อน อาจจะแสดงออกเพื่อให้เป็นจุดเด่นและได้รับความสนใจ บางครั้งอาจมีพฤติกรรมไปในทางขัดกับสังคม เช่น ไม่มีปมเด่นทางการเรียน อาจหาเรื่องทะเลาะวิวาท ก้าวร้าว ส่งเสียงดังเพื่อให้คนอื่นสนใจตน ทั้งหมดนี้ล้วนเกิดจากความต้องการของแต่ละบุคคล
5) การวินิจฉัยปัญหาทางพฤติกรรม
ความหมายของการวินิจฉัย
การวินิจฉัยปัญหาทางพฤติกรรม หมายถึง การตรวจตราหาสาเหตุของพฤติกรรม วิเคราะห์รายละเอียดต่างๆเกี่ยวกับพฤติกรรมนั้นๆ เพื่อนำสู่การตัดสินใจหาทางแก้ไขและปรับพฤติกรรมนั้นๆ ผู้วินิจฉัยปัญหาทางพฤติกรรมต้องดำเนินการตามขั้นตอนสำคัญคือ
1. สังเกตและศึกษาสาเหตุตลอดจนทดสอบทางจิตวิทยา
2. ตรวจและวิเคราะห์สาเหตุของพฤติกรรมอันเป็นปัญหา
3. ทำนายสาเหตุและเสนอแนะวิธีการในการบำบัดรักษา
บุคลากรที่เกี่ยวข้อง
เพื่อให้การตรวจและการวินิจฉัยปัญหาทางพฤติกรรมของเด็กดำเนินไปอย่างได้ผล ควรได้รับความร่วมมือจากบุคลากรต่างๆ ดังนี้
1. ครูประจำชั้น ครูประจำชั้นเป็นบุคคลที่มีความสำคัญที่สุดในการวินิจฉัยปัญหาทางพฤติกรรมของเด็ก เพราะเป็นผู้ที่ใกล้ชิดเด็กมากที่สุด ต้องคอยสังเกตดูแลความประพฤติและปกครองเด็กทุกคนในชั้น จะมีข้อมูลเบื้องต้นที่สำคัญใช้ประกอบการวินิจฉัยเพื่อหาสาเหตุของพฤติกรรมในขั้นต่อไป ถ้าครูประจำชั้นรู้จักใช้ข้อทดสอบ รู้จักการประเมินผลทางจิตวิทยาแล้ว จะมีบทบาทอย่างมากในการวินิจฉัยปัญหาทางพฤติกรรมของเด็ก โดยเฉพาะในโรงเรียนที่ไม่มีนักจิตวิทยา และครูแนะแนว
2. ครูแนะแนว โดยทั่วไปแล้วครูแนะแนวจะเป็นผู้ทดสอบ และประเมินผลทางด้านจิตวิทยา และนำผลการทดสอบไปประกอบการวินิจฉัยหาสาเหตุของพฤติกรรมอันเป็นปัญหาของเด็ก และหาทางบำบัดแก้ไขต่อไป ครูแนะแนวจะมีหน้าที่โดยตรงในการให้คำแนะนำปรึกษาแก่เด็กนักเรียนทุกคนอยู่แล้ว ในบางโรงเรียนที่ยังไม่มีครูแนะแนว ก็เป็นหน้าที่ของฝ่ายบริหารที่จะจัดหาครูแนะแนวของโรงเรียน เพื่อจะได้ให้บริการเด็กอย่างทั่วถึง
3. นักจิตวิทยา นักจิตวิทยาเป็นผู้มีหน้าที่โดยตรงในการวินิจฉัยปัญหาทางพฤติกรรม และปัญหาทางจิตวิทยาอื่นๆ จะทำงานควบคู่กับครูแนะแนวในการตรวจสอบรวบรวมข้อมูลเพื่อหาสาเหตุของพฤติกรรมอันเป็นปัญหาของเด็ก
ปัญหาที่ตามมาคือ อาจไม่มีนักจิตวิทยาเพียงพอที่จะทำหน้าที่วินิจฉัยปัญหาทางพฤติกรรมของเด็กในโรงเรียน สามารถแก้ปัญหาได้โดยให้โรงเรียนขอความร่วมมือจากมหาวิทยาลัย หรือศูนย์สุขภาพจิตต่างๆ ซึ่งจะได้ส่งนักจิตวิทยามาให้ความช่วยเหลือในการแก้ไขปัญหาทางพฤติกรรมของเด็ก หรือมาช่วยฝึกบุคลากรของโรงเรียนที่เกี่ยวกับการทดสอบทางจิตวิทยา และการวัดบุคลิกภาพของเด็ก แล้วควรส่งผลการทดสอบไปให้นักจิตวิทยาประเมินผลอีกครั้งหนึ่ง วิธีการเช่นนี้จะช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนนักจิตวิทยาลงได้มาก
ขั้นตอนในการวินิจฉัยปัญหาทางพฤติกรรม
โดยทั่วไปแล้วข้อมูลสำคัญที่ใช้ประกอบการวินิจฉัยปัญหาทางพฤติกรรมของเด็กนั้นควรมาจากหลายด้าน เช่น จากการศึกษาเด็กเป็นรายบุคคล การทดสอบต่างๆทางจิตวิทยา การสัมภาษณ์ ตลอดจนวิธีการทางจิตวิทยาอื่นๆ ซึ่งจะได้กล่าวในรายละเอียดดังนี้
1. ระเบียนประวัติ ระเบียนประวัติช่วยให้เข้าใจเด็กได้ดี เพราะนักจิตวิทยาเชื่อว่าพฤติกรรมทุกอย่างของมนุษย์ย่อมมีสาเหตุ สิ่งที่จะทราบเกี่ยวกับตัวเด็กได้แก่ ชีวประวัติในวัยเด็ก การศึกษา ความสนใจในอาชีพ กิจกรรมยามว่าง พฤติกรรมทางเพศ ประวัติการเจ็บป่วย ฯลฯ ถ้าเป็นได้ควรสัมภาษณ์ซักประวัติตั้งแต่ก่อนคลอด ขณะคลอด และหลังคลอด เพราะพัฒนาของเด็กย่อมได้รับอิทธิพลจากสิ่งแวดล้อม สังคม ครอบครัว และองค์ประกอบทางจิตวิทยาอื่นๆ
2. การวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เด็กทุกคนย่อมไม่สามารถจะเรียนได้ในระดับที่เท่าเทียมกัน เนื่องมาจากความแตกต่างระหว่างบุคคล ความสามารถ ความสนใจ และระดับสติปัญญาของแต่ละบุคคล แต่ที่สำคัญคือ ผลการเรียนของเด็กย่อมมีผลต่อพฤติกรรมของเด็กเอง เด็กเรียนเก่งมักได้รับคำชมเชยจากครู ได้รับการยอมรับจากเพื่อน เด็กก็มีความภูมิใจมีกำลังใจอยากเรียนให้ดีขึ้น ในทางตรงกันข้าม เด็กที่มีผลการเรียนต่ำมักจะได้รับคำตำหนิจากครู และไม่ได้รับการยอมรับจากเพื่อน เด็กอาจมีความรู้สึกน้อยใจเป็นปมด้อย และอาจหาทางชดเชยโดยการแสดงออกด้วยพฤติกรรมอันไม่พึงปรารถนา โดยทั่วไปเด็กที่มีระดับสติปัญญาสูงมักจะเรียนได้ดี แต่ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่าเด็กที่มีระดับสติปัญญาที่ต่ำกว่าจะเรียนไม่ดี ถ้าเด็กกลุ่มนี้มีความมานะพยายามก็จะสามารถเรียนได้ดีเช่นเดียวกัน ดังนั้นการวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก็เป็นเครื่องมืออันหนึ่งในการวินิจฉัยปัญหาทางพฤติกรรมของเด็กได้
3. การวัดความสามารถทางสมอง การวัดความสามารถทางสมองเป็นสิ่งที่กระทำได้ไม่ยากนัก แต่การแปลความหมายของคะแนนเป็นสิ่งที่น่าสงสัย และมีความเห็นแตกต่างกันไป การวัดความสามารถทางสมองก็เพื่อจะได้ทราบถึงระดับสติปัญญา (I.Q.)ของแต่ละบุคคล สิ่งที่สงสัยก็คือ ระดับสติปัญญาที่วัดได้มีความหมายเพียงใด เพราะเด็กที่มีระดับสติปัญญาเท่ากันอาจจะแสดงความสามารถไม่เท่ากัน ถ้ามีคำถามจากผู้ปกครองควรจะอธิบายว่าการวัดความสามารถทางสมองของเด็กนั้น เป็นการวัดความสามารถทางสมองในหลายๆด้าน ดังนั้นเด็กที่มีระดับสติปัญญาเท่ากันอาจจะเก่งในด้านที่แตกต่างกัน วิธีที่ปลอดภัยที่สุดในการตอบคำถามเกี่ยวกับการวัดระดับสติปัญญาของเด็กก็คือ บอกเพียงว่าเด็กคนนี้มีสติปัญญาในระดับสูง กลาง หรือต่ำ ปัจจุบันมีแบบทดสอบที่ใช้วัดระดับสติปัญญาของเด็กมากมายในมหาวิทยาลัยและโรงพยาบาลต่างๆ แต่ในการวัดระดับสติปัญญาของเด็กนั้นมีข้อควรคำนึงถึงหลายประการ โดยเฉพาะเกี่ยวกับเด็กที่มีปัญหาทางพฤติกรรม
4. การวัดด้านบุคลิกภาพ ปัจจุบันการประเมินผลทางด้านบุคลิกภาพกำลังได้รับความสนใจเพิ่มขึ้น ทั้งในด้านอุตสาหกรรม งานบุคคล การศึกษา สังคม ตลอดทั้งการแพทย์ แต่การวัดและประเมินผลทางด้านบุคลิกภาพเป็นเรื่องที่ค่อนข้างจะสลับซับซ้อน แม้ว่าจะเป็นประโยชน์มากที่จะนำมาใช้ในการวินิจฉัยปัญหาทางพฤติกรรมของเด็ก ควรได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดจากนักจิตวิทยาที่ได้รับการฝึกฝนมาทางนี้โดยเฉพาะ มิฉะนั้นอาจเกิดความผิดพลาดขึ้นได้
4. การตรวจทางการแพทย์ การวินิจฉัยปัญหาทางพฤติกรรมของเด็กอาจจะยากเกินไปสำหรับครูประจำชั้นหรือบุคลากรอื่นใดของโรงเรียน จึงมีความจำเป็นต้องอาศัยผู้ชำนาญมากทางด้านอื่น โดยเฉพาะทางแพทย์เข้าช่วยเหลือ ผู้บริหารโรงเรียนควรขอความร่วมมือไปยัง โรงพยาบาล สถานบำบัดต่างๆ โรงพยาบาลโรคจิต ศูนย์สุขจิตวิทยา ฯลฯ ที่มีในชุมชน

6) หลักสูตรและการปรับหลักสูตร
หลักสูตร
หลักสูตรสำหรับเด็กที่มีปัญหาทางพฤติกรรมหรืออารมณ์ควรมีลักษณะสอดคล้องกับปัญหา
และความต้องการของเด็ก โดยควรปรับหลักสูตรให้ครอบคลุมเนื้อหาดังนี้
1. วิชาสามัญ
2. การพัฒนาความคิดรวบยอดต่อตนเอง
3. พฤติกรรมทางสังคมที่เหมาะสม
4. กลวิธีในการจัดการกับปัญหาทางพฤติกรรมหรืออารมณ์
การจัดหลักสูตรสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษจะต้องสอดคล้องกับปรัชญาของ
การจัดการศึกษาพิเศษ ปรัชญาการศึกษาพิเศษข้อหนึ่งระบุว่า ในการจัดการศึกษาพิเศษนั้น ควรจัดเพื่อสนองความต้องการและความสามารถของเด็กและเพื่อแก้ไขข้อบกพร่องของเด็ก หากข้อบกพร่องของเด็กได้รับการ หากเด็กที่มีปัญหาทางพฤติกรรมหรืออารมณ์สามารถเรียนร่วมกับเด็กปกติได้ ควรส่งเด็กเข้าเรียนร่วมกับเด็กปกติเต็มเวลา และมีบริการอื่นเพื่อช่วยขจัดข้อบกพร่องของเด็ก เด็กที่เรียนร่วมกับเด็กปกติได้นั้นเรียนหลักสูตรเดียวกันกับหลักสูตรสำหรับ เด็กปกติ แต่ถ้าหากเด็กมีพฤติกรรมที่รุนแรง จนกระทั่งไม่สามารถเรียนร่วมกับเด็กปกติได้ เด็กเหล่านี้จึงควรเรียนในหลักสูตรพิเศษ จนกระทั่งเด็กมีพฤติกรรมเป็นที่ยอมรับมากขึ้น พอที่จะเรียนร่วมกับเด็กปกติได้ จึงส่งเด็กเข้าเรียนร่วมกับเด็กปกติ ดังนั้นหลักสูตรสำหรับบุคคลที่มีปัญหาทางพฤติกรรมหรืออารมณ์ อาจมี 2 หลักสูตร คือ หลักสูตรสำหรับเด็กปกติ และหลักสูตรพิเศษ
หลักสูตรพิเศษสำหรับบุคคลที่มีปัญหาทางพฤติกรรมหรืออารมณ์ เป็นหลักสูตรที่มีเนื้อหาและวิธีการที่มุ่งขจัดความบกพร่องทางพฤติกรรมของเด็ก หลักสูตรดังกล่าวจึงควรเน้นทักษะทางสังคม เนื่องจากบุคคลที่มีปัญหาทางพฤติกรรมหรืออารมณ์ ขาดทักษะทางสังคม ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการเรียนของเด็ก ทักษะทางสังคมหมายถึง พฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับปฏิสัมพันธ์ระหว่างเด็กกับเพื่อนและผู้อื่น
1. หลักสูตรในระดับประถมศึกษา
ACCEPTS ซึ่งย่อมาจาก A Curriculum for Children’s Effective Peer and Teacher Skill
(Walker, et.al.,1983) หลักสูตรนี้มีจุดมุ่งหมายสำคัญคือ เพื่อเตรียมเด็กที่มีปัญหาทางพฤติกรรมหรืออารมณ์ ตั้งแต่ระดับอนุบาลจนถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ให้มีความพร้อมที่เรียนร่วมกับเด็กปกติ เนื้อหาของ หลักสูตรเกี่ยวกับการฝึกให้เด็กมีทักษะในการปรับตัวของเด็ก ให้เป็นที่ยอมรับของเพื่อน ในหลักสูตรที่มีทักษะนักเรียนจะต้องเรียนทั้งหมด 28 ทักษะ แบ่งออกเป็น 5 หมวด คือ
3. ทักษาในชั้นเรียน
4. ทักษะเบื้องต้นในการติดต่อกับผู้อื่น
5. ทักษะในการคบเพื่อน
6. ทักษะในการรักษาความเป็นมิตรกับผู้อื่น
7. ทักษะในการแก้ปัญหา
ทักษะในการชั้นเรียนเป็นทักษะที่จำเป็น ที่จะช่วยให้นักเรียนสามารถเรียนหนังสือได้ เช่น
ทักษะในการฟังคำสั่ง คำสอนของครูด้วยความตั้งใจ ทักษะในการปฏิบัติตามคำสั่งครู เป็นต้น ส่วนทักษะอื่น ๆ เป็นทักษะในการปฏิบัติต่อเพื่อนและผู้อื่น
2. หลักสูตรในระดับมัธยมศึกษา
Structured Learning Curriculum (Golstien,et sl.1980) เป็นหลักสูตรในระดับมัธยมศึกษาที่มี
ความคล้ายคลึงกับหลักสูตรแรก แต่มีเนื้อหาต่างกัน หลักสูตรนี้ประกอบด้วยทักษะที่จำเป็น 50 ทักษะ จำแนกได้เป็น 6 หมวด คือ
3. ทักษะเบื้องต้นทางสังคม
4. ทักษะก้าวหน้าทางสังคม
5. ทักษะเกี่ยวกับความรู้สึกนึกคิด
6. ทักษะในการขจัดความก้าวร้าว
7. ทักษะในการขจัดความเครียด
8. ทักษะในการวางแผน
หลักสูตรนี้มีจุดมุ่งหมายเฉพาะ แต่ละพฤติกรรมมีวิธีฝึกทักษะ ตลอดจนวิธีประเมินผล
เมื่อเด็กเรียนจบหลักสูตรนี้แล้ว เด็กจะถูกส่งไปเรียนร่วมกับเด็กปกติ
หลักสูตรทั้งสองนี้ ได้นำมาทดลองแล้ว ปรากฎว่าเป็นหลักสูตรที่มีผลต่อพฤติกรรมของเด็กเป็นอย่างดี แต่ยังไม่สามารถแก้ปัญหาพฤติกรรมของเด็กได้ทุกปัญหา จึงมีข้อเสนอแนะว่า ในการใช้หลักสูตรนี้ ควรใช้วิธีการปรับพฤติกรรมของเด็กควบคู่กันไปด้วยจึงจะได้ผลสมบูรณ์
การเรียนร่วมระหว่างเด็กที่มีปัญหาทางพฤติกรรมหรืออารมณ์กับเด็กปกติ
การจัดการศึกษาให้กับบุคคลที่มีปัญหาทางพฤติกรรมหรืออารมณ์เข้าเรียนร่วมกับเด็กปกตินั้น ควรพิจารณาองค์ประกอบสำคัญ ดังนี้
2. ทัศนคติของเด็กต่อการเรียนร่วม
3. ทัศนคติของครู ผู้ปกครอง ต่อการเรียนร่วม
4. พฤติกรรมของเด็กตลอดจนความรุนแรงของพฤติกรรม
5. พฤติกรรมของเด็กในการควบคุมตนเอง ตลอดจนทักษะทางสังคมของเด็กโดยเฉพาะอย่างยิ่งการคบเพื่อน การเข้ากับคนอื่น
6. ความพร้อมของครูปกติที่จะรับเด็กที่มีปัญหาทางพฤติกรรมหรืออารมณ์เข้าเรียนร่วมในชั้นปกติ
7. ความร่วมมือจากผู้ปกครองในการปรับพฤติกรรมเด็ก
8. ปัจจัยทีเกี่ยวข้องอื่น ๆ
เด็กที่จะเรียนร่วมได้อย่างประสบผลสำเร็จนั้นควรเป็นเด็กที่ได้รับการปรับพฤติกรรแล้ว เด็กมี
พฤติกรรมใกล้เคียงกับเด็กปกติ ผู้มีหน้าที่ในการจัดการศึกษาควรพิจารณาว่า สมควรให้เด็กเข้ารับการเรียนร่วมในลักษณะใด หากเป็นการเรียนร่วมเต็มเวลา เด็กควรมีพฤติกรรมใกล้เคียงกับเด็กปกติ หากเด็กยังมีปัญหาทางพฤติกรรมหรืออารมณ์อยู่บ้าง ก็ให้เรียนร่วมเต็มเวลาได้ แต่จะต้องได้รับบริการแนะแนวและให้ คำปรึกษา หรือรับบริการจากครูเสริมวิชาการ
ในบางครั้งเด็กที่มีปัญหาทางพฤติกรรมหรืออารมณ์ จะถูกส่งไปเรียนในหลักสูตรพิเศษ ซึ่งการ
กระทำเช่นนี้อาจทำให้เด็กบางคน มีความรู้สึกว่าถูกลงโทษ ส่วนครูที่สอนอาจมีความรู้สึกว่าโล่งใจ ที่เด็กเกเรได้ถูกนำออกไปจากชั้นของตน และไม่อยากรับเด็กคนนี้กลับเข้ามาเรียนร่วมในชั้นปกติอีก แม้ว่าเด็กจะได้รับการปรับพฤติกรรมแล้วก็ตาม สิ่งเหล่านี้เป็นปัญหาสำคัญที่ผู้เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา สำหรับเด็กประเภทนี้จะต้องร่วมกันพิจารณาและหาทางแก้ไขต่อไป
ความสำคัญจำเป็นในการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนสำหรับเด็กที่มีปัญหาทางอารมณ์และพฤติกรรม
เด็กที่มีปัญหาทางอารมณ์และพฤติกรรม ก่อให้เกิดอุปสรรคในการจัดการเรียนการสอน และเป็นอุปสรรคต่อการเรียนรู้ของตน ดังนั้นจึงควรได้รับการปรับพฤติกรรมอย่างเหมาะสมเพื่อปรับปรุง เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของนักเรียนจากพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ ซึ่งกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน จะมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งเนื่องจากเป็นกิจกรรมที่ช่วยให้นักเรียนได้รู้และเข้าใจตนเอง เข้าใจถึงศักยภาพและข้อบกพร่องต่างๆ จากการทำกิจกรรมกลุ่ม การเข้าชุมนุม ชมรม ฯลฯ เพื่อให้สามารถอยู่ในสังคมได้โดยไม่ก่อปัญหาให้แก่ตนเอง ครอบครัว และสังคม
การเตรียมความพร้อม
- การเตรียมความพร้อมของสถานศึกษา
- การจัดระบบข้อมูล เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับบุคลากร เครือข่าย และข้อมูลเกี่ยวกับสื่อ อุปกรณ์ แหล่งการเรียนรู้ เป็นต้น
- มีแหล่งข้อมูลเฉพาะทางสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ เช่น กองการศึกษาพิเศษเพื่อคนพิการ ศูนย์การศึกษาเพื่อคนพิการประจำเขตการศึกษา ศูนย์ภาค มูลนิธิ องค์กร เอกชน ที่ศึกษาเรื่องเด็กที่มีความต้องการพิเศษเป็นต้น
- จัดอบรมเข้ม หรือส่งครูที่รับผิดชอบเข้ารับการอบรมให้มีความรู้ความเข้าใจ ในการจัด
กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
- การส่งต่อนักเรียน ในกรณีที่มีอารมณ์รุนแรงและมีพฤติกรรมที่สร้างปัญหาแก่ตนเองและเพื่อน ไปให้จิตแพทย์ นักจิตวิทยา ทำการรักษาและฟื้นฟู

- การเตรียมความพร้อมของครู
- ศึกษากิจกรรมในเอกสารคู่มือการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนสำหรับเด็กที่มีปัญหาทางอารมณ์และพฤติกรรมให้เข้าใจ
- ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับจิตวิทยาพัฒนาการตามวัยของนักเรียนในช่วงชั้นที่รับผิดชอบ
- วางแผนการจัดกิจกรรมในเรื่องของเวลา การเตรียมทรัพยากร สื่ออุปกรณ์ในการจัด กิจกรรม
- จัดเตรียมเครื่องมือในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของนักเรียน
- เตรียมวิธีการประเมินผลการจัดกิจกรรมให้เป็นไปตามจุดประสงค์ของกิจกรรมและเป็นไปตามเกณฑ์การประเมินที่สถานศึกษากำหนด
บทบาทของผู้เกี่ยวข้อง
1) บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษา
ผู้บริหารสถานศึกษาเป็นบุคลากรสำคัญที่จะต้องบริหารการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนให้ดำเนินไปด้วยความเรียบร้อยมีประสิทธิภาพและให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนาตนเองอย่างมี คุณภาพ ผู้บริหารสถานศึกษาควรมีบทบาท ดังนี้
2) จัดบุคลากรที่รับผิดชอบกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน อาจเป็นครูที่ปรึกษาครูแนะแนว ในสถานศึกษาขนาดใหญ่ หรือครูประจำชั้นในสถานศึกษาขนาดเล็ก พร้อมกำหนดหน้าที่ให้ชัดเจน
3) จัดเวลาเรียนในโครงสร้างของหลักสูตรสถานศึกษาในแต่ละช่วงชั้นและกำหนดเกณฑ์การวัดผล ประเมินผลการจัดกิจกรรมของสถานศึกษา
4) มีการประเมินการปฏิบัติงานของครูที่รับผิดชอบและสรุปในรายงานผลการจัดกิจกรรมของสถานศึกษาเมี่อสิ้นปีการศึกษา
5) จัดสิ่งแวดล้อมและบรรยากาศ ทั้งในสถานศึกษาและในห้องเรียนให้เอื้อต่อการเรียนรู้ การปรับตัว และอารมณ์ของนักเรียน
1) สิ่งแวดล้อมในสถานศึกษา มีความสะอาด ร่มรื่น สวยงามเป็นระเบียบ ปลูกต้นไม้ มีสวนหย่อม ที่พัก สนามกีฬา สนามเด็กเล่น เป็นต้น เพื่อให้ร่มเงาและให้นักเรียนได้เรียนรู้และนันทนาการ
2) บรรยากาศในห้องเรียน มีความสะอาด เป็นระเบียบ ทาสีของห้องเรียนให้นักเรียนและครูมีความรู้สึกอบอุ่น จัดมุมส่งเสริมการอ่าน จัดบอร์ด/มุมสาระการเรียนรู้ที่ให้ประโยชน์ต่อการเรียนรู้
6) ประชาสัมพันธ์ให้บุคลากรในสถานศึกษา ผู้ปกครอง และชุมชนเข้าใจและให้ความร่วมมือส่งเสริมสนับสนุนการดำเนินการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนของสถานศึกษา
7) สนับสนุนงบประมาณและทรัพยากรอื่นๆ ที่จะส่งเสริมให้การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนดำเนินการได้ด้วยดี
8) บทบาทของครู
กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนถือเป็นหน้าที่และงานประจำของครูนอกเหนือจากการจัดการเรียนการสอนใน 8 กลุ่มสาระ ครูจึงควรมีบทบาทดังนี้
9) ปฐมนิเนศ ให้นักเรียนเข้าใจเป้าหมายและวิธีดำเนินการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
10) จัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตามเวลาที่กำหนดไว้ในโครงสร้างเวลาเรียนในหลักสูตรสถานศึกษา
11) ประเมินการปฏิบัติกิจกรรมของนักเรียน โดยประเมินเป็นระยะอย่างต่อเนื่องทั้งการประเมินตนเอง ประเมินเพื่อนร่วมกิจกรรมและครูประเมินโดยพิจารณาจากพฤติกรรม คุณภาพงาน และเวลาที่เข้าร่วมกิจกรรมให้เป็นไปตามจุดประสงค์ของแต่ละกิจกรรม
12) ให้คำปรึกษา ติดตาม อำนวยความสะดวก จัดสรรทรัพยากรตามความเหมาะสม
13) สรุปและรายงานผลการจัดกิจกรรมต่อผู้บริหารสถานศึกษา
14) บทบาทของครูที่เกี่ยวข้อง
ครูที่ทำหน้าที่สอนในกลุ่มสาระอื่น ควรให้ความช่วยเหลือและร่วมมือกับครูที่รับผิดชอบการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ในเรื่องการให้ข้อมูลสารสนเทศที่เกี่ยวกับนักเรียน ให้ความช่วยเหลือในการจัดกิจกรรมช่วยในการสังเกตพฤติกรรมนักเรียน บันทึกพฤติกรรมนักเรียน และช่วยประเมินผลการจัดกิจกรรมร่วมกับครูที่รับผิดชอบ
15) บทบาทของผู้ปกครอง
ผู้ปกครองควรใหความร่วมมือกับครูในเรื่องการให้ข้อมูลเกี่ยวกับนักเรียน ในกรณีที่ นักเรียนมีปัญหาทาางอารมณ์และพฤติกรรมมีการตอบแบบสอบถามและช่วยประเมิน พฤติกรรมนักเรียน เพื่อให้ครูที่รับผิดชอบรู้และเข้าใจนักเรียนมากยิ่งขึ้น
วิธีการจัดการเรียนการสอนสำหรับเด็กที่มีปัญหาทางพฤติกรรมหรืออารมณ์
การจัดการเรียนการสอนอาจกระทำได้ในลักษณะใดลักษณะหนึ่งต่อไปนี้
7. จัดให้เรียนในชั้นพิเศษ และได้รับความช่วยเหลือเพิ่มเติมในด้านการปรับพฤติกรรม
8. จัดให้เรียนในชั้นพิเศษในโรงเรียนปกติ โดยนักเรียนอยู่ในชั้นพิเศษตลอดเวลา
9. จัดให้เรียนในชั้นพิเศษในโรงเรียนปกติ โดยให้เด็กมีโอกาสไปเรียนร่วมกับเด็กปกติในชั้นปกติในบางเวลา
10. จัดให้เรียนในชั้นพิเศษในโรงเรียนพิเศษหรือศูนย์การศึกษาพิเศษ
11. จัดให้ครูการศึกษาพิเศษไปสอนตามบ้าน โดยเฉพาะในกรณีที่เด็กมีปัญหาทางพฤติกรรมใน ขั้นรุนแรง ไม่อาจเข้ารับการบริการทางการศึกษาจากโรงเรียนได้
ชั้นพิเศษควรเป็นชั้นเล็ก ๆ มีนักเรียนไม่มากนัก และควรมีครูผู้ช่วยอย่างน้อย 1 คน สำหรับ
นักเรียน 1 กลุ่ม ในการเรียนการสอนครูควรนำกลวิธีในการปรับพฤติกรรมมาใช้กับนักเรียน เพื่อให้ นักเรียนเปลี่ยนแปลงพฤตกรรมจากพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์มาเป็นพฤติกรรมที่พึงประสงค์ ควรจัด กิจกรรมการเรียนการสอนให้นักเรียนมีโอกาสประสบความสำเร็จในการเรียน นักเรียนจะได้รับการกระตุ้นให้เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทีละน้อยและตามลำดับขั้นโดยเน้นความสำเร็จของนักเรียนเป็นหลักการเรียนการสอนควรมีทั้งการสอนเป็นรายบุคคล และสอนเป็นกลุ่มย่อย ๆ เมื่อนักเรียนมีพัฒนาการอยู่ในเกณฑ์ที่ดีพอ ที่จะสอนเป็นกลุ่มย่อยได้ ควรสอนเป็นกลุ่มย่อย ทั้งนี้เพื่อให้นักเรียนได้มีโอกาสฝึกและพัฒนาทักษะทางสังคม และการเข้ากับเพื่อนก่อนที่นักเรียนจะกลับเข้าไปเรียนในโรงเรียนปกติ
นักเรียนทุกคนควรมีแผนการสอนเฉพาะบุคคล การประเมินผลความก้าวหน้าของนักเรียน จะต้องเป็นไปตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้ในแผนนี้ จุดมุ่งหมายที่กำหนดในแผนการศึกษาเฉพาะบุคคล ควรเน้นความสำเร็จทางการเรียน การสร้างทัศนคติที่ถูกต้องต่อตนเอง พัฒนาการทางสังคม ตลอดจนการรู้จักปรับตัวให้เข้ากับคนอื่นและสิ่งแวดล้อม
การวัดผล ประเมินผลการเรียน
การวัดผลประเมินผลการเรียน เป็นสิ่งหนึ่งที่จะพัฒนาความก้าวหน้าของผู้เรียนสำหรับเด็กที่มีปัญหาทางพฤติกรรมหรืออารมณ์ควรคำนึงถึงการวัดผลประเมินผลดังนี้
1. หลักการวัดผล ประเมนผลการเรียน
o ให้มีการวัดผล ประเมินผลในแต่ละกิจกรรมที่เป็นการส่งเสริมพัฒนาการ
o ให้มีการวัดผล ประเมินผลก่อน ระหว่าง และสิ้นสุดการจักกิจกรรม
o การวัดผล ประเมินผลการจัดกิจกรรม ให้ดำเนินทุกขั้นตอนของการจัดกิจกรรมเพื่อดูความก้าวหน้าของพัฒนาการและการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้เรียน
2. จุดมุ่งหมายของการวัดผล ประเมินผลการจัดกิจกรรม
o การวัดผล ประเมินผลก่อนการจัดกิจกรรม เพื่อประเมินความพร้อมและความรู้พื้นฐานของผู้เรียน เพื่อวางแผนการจัดกิจกรรมให้มีความเหมาะสมในแต่ละรายบุคคล
o การวัดผล ประเมินผลระหว่างการจัดกิจกรรม เพื่อทราบความก้าวหน้าในการเรียนของ ผู้เรียนและปรับปรุงการจัดกิจกรรมให้มีความเหมาะสมมากยิ่งขึ้น
o การวัดผล ประเมินผล เมื่อสิ้นสุดการจัดกิจกรรม เพื่อประเมินความก้าวหนาพัฒนาการของผู้เรียน
3. การวัดผล ประเมินผล
o ต้องประเมินพัฒนาการของผู้เรียนครบทุกด้านเป็นรายบุคคลอย่างสม่ำเสมอต่อเนื่อง ตลอดปี
o ต้องประเมินตามสภาพความเป็นจริงจากการสังเกตพฤติกรรม การบันทึกข้อมูล การใช้แบบประเมินผลพัฒนาการ แฟ้มสะสมงานที่แสดงถึงความสามารถหรือพัฒนาการ แต่ละทักษะของผู้เรียนเป็นรายบุคคล
4. การวัดผล ประเมินผลการจัดกิจกรรม
การวัดผล ประเมินผลการจัดกิจกรรม ให้ประเมินจากสภาพจริงของการจัดกิจกรรม (Authentic-Assessment) ซึ่งต้องคำนึงถึงประเด็นดังนี้
4.1 วิธีการวัดผล วิธีการวัดผลอาจทำได้หลายวิธี โดยผู้สอนเลือกใช้ให้เหมาะสมกับ
นักเรียน ธรรมชาติของวิชาและจุดประสงค์การเรียนรู้ในแต่ละรายวิชา ซึ่งวิธีการวัดผล
อาจใช้ดังนี้
วิธีที่ 1 แบบสังเกตพฤติกรรมของผู้เรียน โดยใช้แบบสำรวจรายการและแบบบันทึกพฤติกรรม
• แบบสำรวจรายการ (Checklists) จะช่วยบันทึกพฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียน โดยเน้นการพัฒนาการเรียนรู้ตามจุดประสงค์การเรียนรู้ในแต่ละรายวิชา
• แบบบันทึกพฤติกรรม ครูจะต้องใช้บันทึกพฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียน ทุกคนในแต่ละระดับชั้นเรียน และทุกเรื่องที่จัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรแล้วนำคะแนนที่ประเมินได้จากการสำรวจมาหาคะแนนเฉลี่ยของนักเรียนแต่ละคน

วิธีที่ 2 แฟ้มสะสมงาน
แฟ้มสะสมผลงาน คือ การประเมินความสำเร็จของผู้เรียนจากผลงานที่เป็นชิ้นงานที่ดีที่สุด
หรืองานที่แสดงความก้าวหน้าที่ผู้เรียนเก็บสะสมในแฟ้ม สมุด กล่อง หรือกระเป๋าแล้วแต่ลักษณะของงาน อาจมีหนึ่งชิ้นหรือมากกว่า ซึ่งเพียงพอที่จะแสดงถึงความพยายามความก้าวหน้าและผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนในเรื่องที่มอบหมายตามจุดประสงค์การเรียนรู้
1) การประเมินผลการเรียนจากแฟ้มสะสมผลงาน การประเมินผลการเรียนจากแฟ้มสะสมผลงานสามารถประเมินได้จากแฟ้มสะสมของผู้เรียนแต่ละคน และจากแฟ้มสะสมผลงานกลุ่ม
2) การประเมินค่าผลงาน
(1) เป็นการประเมินเพื่อดูความพยายามและพัฒนาการส่วนบุคคล
มากกว่าที่จะไปเปรียบเทียบกับคนอื่น ๆ
(2) ให้คะแนนของงานทุกชิ้น เพื่อเป็นการประเมินสะสมการเรียนรู้ของ
ผู้เรียน
2. เกณฑ์การประเมินผล ใช้เกณฑ์การประเมินตามที่โรงเรียนกำหนด
การจัดสภาพแวดล้อมสำหรับเด็กที่มีปัญหาทางพฤติกรรมหรืออารมณ์
การจัดควรพิจารณาถึงองค์ประกอบทางด้านสภาพแวดล้อมในปัจจุบันของแต่ละคน อาทิ ที่พักอาศัย สภาพแวดล้อมในโรงเรียน / ที่ทำงาน และในชุมชน โดยอาศัยการสังเกตว่าสภาพแวดล้อมนั้นเอื้ออำนวยหรือเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติตนอย่างไร และให้จัดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ที่มีลักษณะสำคัญ 3 ประการ คือ
5. ให้โอกาสในการดำรงชีวิตการศึกษา ตลอดจนการใช้เวลาว่างและนันทนาการ
6. ส่งเสริมให้มีความเป็นอยู่ที่ดี ทั้งทางกาย จิตใจ วัตถุและสังคม
7. ส่งเสริมความมั่นคง เพิ่มพูนความรู้ มิตรภาพ และการให้ความช่วยเหลือทางสังคม
สำหรับการจัดสิ่งแวดล้อมที่โรงเรียนโดยเฉพาะห้องเรียนมีหลายอย่างที่จะช่วยปรับปรุงปัญหาได้ ดังนี้
1) เด็กควรนั่งใกล้ ๆ โต๊ะของครู ให้ครูมีโอกาสได้รับรู้ว่าเด็กทำอะไรและควบคุมเขา
4. สิ่งที่ทำให้เขาไขว้เขวควรมีน้อยที่สุด เช่น พัดลม หน้าต่าง หรือประตูที่เปิด สถานที่มีรถติดเยอะๆ
5. เด็กควรนั่งข้างหน้าห้อง และหันหลังให้คนอื่น
6. เด็กควรอยู่ร่วมกับนักเรียนคนอื่นหลายคนที่เป็นตัวอย่างที่ดี
7. การเปลี่ยนโรงเรียน หรือความเปลี่ยนแปลงในโรงเรียนเป็นเวลาที่ให้เด็กมีปัญหามาก ครูต้องเข้าใจสิ่งนี้ และช่วยเด็ก
8. ครูต้องสนใจเด็กเมื่อเขาทำกิจกรรมไม่ต้องสนใจเด็กเมื่อเขาวุ่นวายเท่านั้น
9. เมื่อครูออกคำสั่งให้เด็ก ครูต้องจ้องตาเด็กและให้ความรู้กับเด็กที่ชัดเจนและ สั้นกะทัดรัด
10. คำสั่งที่ใช้ประจำและสิ่งที่คาดหายเอาไว้ของครูควรมีความมั่นคง
11. ครูควรให้รางวัลมากกว่าการลงโทษ ให้เด็กมีโอกาสคิดเกี่ยวกับตัวเอง
12.
การใช้สื่อส่งเสริมพัฒนาการเรียนรู้
สื่อ หมายถึง เครื่องมือต่าง ๆ ที่ครูนำมาใช้ประกอบการสอนเพื่อช่วยถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์จากนามธรรมสู่รูปธรรมไปสู่เด็ก ทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ตามจุดมุ่งหมายอย่างมีประสิทธิภาพ
การเรียนรู้ต่าง ๆ ของเด็กที่มีปัญหาทางพฤติกรรมหรืออารมณ์ ต้องเรียนรู้จากสิ่งที่เป็นรูปธรรม ดังนั้น จึงมีความจำเป็นอย่างมากสำหรับผู้เรียนกลุ่มนี้ การเรียนรู้ที่จะให้ได้ผลดีที่สุด คือ การเรียนรู้จากประสบการณ์ ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติกิจกรรมโดยประสาทสัมผัสทั้ง 5 สื่อจะต้องเป็นสิ่งเร้าที่ทำให้ผู้เรียนเกิดความสนในอยากที่จะสัมผัสสื่อที่ดีต้องเป็นสื่อที่ส่งเสริมกิจกรรมการเรียนรู้ได้หลายทักษะ สำหรับผู้เรียนประเภทนี้โดยทั่วไปแล้วครูสามารถส่งเสริมพัฒนาการ เช่นเดียวกับผู้เรียนปกติ แต่ขั้นตอนในการสอน อาจจะแบ่งย่อยเป็นหลายขั้นตอน
สื่อสำหรับบุคคลที่มีปัญหาทางพฤติกรรมหรืออารมณ์
1. เป็นสื่อของจริง สื่อธรรมชาติ
2. เป็นสื่อที่ผู้เรียนคุ้นเคย พบเห็นบ่อย ๆ
3. เป็นสื่อที่มีความปลอดภัยต่อตัวผู้เรียน
4. เป็นสื่อที่พัฒนาผู้เรียนในด้านต่าง ๆ ให้ครบทุกด้าน

• ด้วยเอกสาร วัสดุและอุปกรณ์และสื่อ
อิเล็กทรอนิกส์
• การเรียนรู้ด้วยตัวเอง (Self Access Learning Center)
ตารางแสดงลักษณะสื่อแต่ละประเภท
ประเภทสื่อ ลักษณะสื่อ ตัวอย่าง
1. สื่อสิ่งพิมพ์ 1. สื่อส่งเสริมพัฒนาการเรียนรู้และภาษา
2. สื่อส่งเสริมทักษะการเตรียมความพร้อมด้าน
อาชีพ
3. สื่อส่งเสริมพัฒนาทักษะการช่วยเหลือตนเอง
4. คู่มือการใช้สื่อแต่ละประเภท - หนังสือนิทานต่าง ๆ
- หนังสือเรียน ของจริง ภาพ
- โปสเตอร์,หนังสือ.ของจริง
- หนังสือ/แผ่นปลิว
2. สื่อวัสดุอุปกรณ์ 1. สื่อส่งเสริมพัฒนาการกล้ามเนื้อมัดใหญ่
2. สื่อส่งเสริมพัฒนาการกล้ามเนื้อมัดเล็ก
3. สื่อส่งเสริมพัฒนาการทางภาษา
4. สื่อส่งเสริมพัฒนาการเรียนรู้
5. สื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านประสาทสัมผัส
6. สื่อกายภาพบำบั - บันได ,กระดานทรงตัว
- กรรไกร , ลูกปัด ,เกม
- เกมการศึกษา,หุ่น,ของเล่น
- ของจริง ฯลฯ
- ของเล่น , ของจริง
- อ่างน้ำวน,ลูกบอลยักษ์

ประเภทสื่อ ลักษณะสื่อ ตัวอย่าง
7. สื่อกิจกรรมบำบัด
8. สื่อส่งเสริมทักษะด้านสังคมนิสัย
9. สื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านการช่วยเหลือตนเอง
10. สื่อส่งเสริมทักษะการเตรียมความพร้อม - เกม / ของเล่น
- เกม / ของเล่น
- ของจริง ,หุ่นจำลอง,ของเล่น
- ของจริง ,หุ่นจำลอง,ของเล่น
3. สื่ออิเล็กทรอนิกส์ 1. วิดีทัศน์
2. สื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
3. สื่อส่งเสริมพัฒนาการทางภาษา - เกม,สารคดี,นิทาน,ภาพยนตร์
- เกม / บทเรียน / โปรแกรม
- เกม, โปรแกรม
4. สื่อประสม 1. ชุดการเรียนรู้ด้วยตนเอง - ชุดการเรียนต่าง ๆ
ขั้นตอนการใช้สื่อ
การใช้สื่อประกอบการเรียนการสอนของครู สามารถใช้ได้ทุกขั้นตอนหรือสื่อบางชนิด อาจใช้ได้เฉพาะตอนใดตอนหนึ่งเท่านั้น สื่ออาจใช้ได้ตามขั้นตอนต่อไปนี้
1. ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน เป็นการกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความสนใจอยากที่จะรู้เรื่องราวต่อไป หรือโยงเนื้อหาที่เรียนมาแล้วให้ต่อเนื่องกัน เช่น เทปเพลง เทปนิทาน รูปภาพ เป็นต้น
2. ขั้นดำเนินการ เป็นการสอนให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ ความเข้าใจในเนื้อหาของจริงหรือสิ่งที่ ผู้เรียนต้องการจะรู้ ผู้เรียนลงมือปฏิบัติจริงกับสื่อนั้น ๆ โดยใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้า เช่น เครื่องมือทดลองต่าง ๆ พืชผัก ผลไม้ เครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ เป็นต้น
3. ขั้นสรุป เป็นการใช้สื่อสรุปเนื้อหาสำคัญในเวลาสั้น ๆ เช่น บัตรภาพ บัตรคำ เทปคำคล้องจอง เทปเพลง แบบทดสอบ เป็นต้น
การประเมินสื่อ
ในการใช้สื่อการเรียนการสอนต้องมีการประเมินสื่อทุกชิ้นที่นำมาใช้ ไม่ว่าจะเป็นสื่อสำหรับครูหรือสื่อสำหรับผู้เรียน เพื่อดูว่าสื่อที่ใช้มีปัญหาอย่างไร เมื่อไปใช้แล้วมีผลสัมฤทธิ์อย่างไร บรรลุ วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้หรือไม่ สำหรับนำผลที่ได้ไปปรับปรุงพัฒนาสื่อให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ขั้นตอนการประเมินการใช้สื่อ

ก่อนใช้ สภาพสื่อเป็นอย่างไร
ระหว่างการใช้ เป็นไปตามขั้นตอนหรือกระบวนการที่ตั้งไว้หรือไม่
หลังใช้ เกิดการเรียนรู้มากน้อยเพียงใด
7) เทคนิคการสอน
7.1 การปรับพฤติกรรม
สมมุติฐานเบื้องต้นในการปรับพฤติกรรมอันเป็นแนวทางในการทำความเข้าใจกับการปรับ พฤติกรรม มีดังนี้
1. พฤติกรรมของมนุษย์สามารถเปลี่ยนแปลงได้ พฤติกรรมบางอย่างสามารถเปลี่ยนแปลงได้ เช่น อารมณ์ฉุนเฉียว การก้าวร้าว ความกลัว การท้อถอย เป็นต้น เพราะปัญหาดังกล่าวมิได้มีสาเหตุมาจากกรรมพันธุ์ หรือความบกพร่องทางชีววิทยา
2. การเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมมิได้ขึ้นแก่กัน หมายความว่าการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมที่หนึ่งอาจไม่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมที่สอง เช่น เมื่อสามารถแก้พฤติกรรมที่แสดงอารมณ์ฉุนเฉียวของเด็กได้แล้ว มิได้หมายความว่าพฤติกรรมที่ก้าวร้าวของเด็กจะหายตามไปด้วย เราจะต้องแก้ พฤติกรรมนั้นๆทุกอย่างไป ถ้าพฤติกรรมนั้นๆไม่หายไปเอง
3. วิธีการปรับพฤติกรรม มีงานวิจัยจำนวนมากยืนยันแน่ชัดว่าวิธีการปรับพฤติกรรมสามารถนำมาใช้ในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอันไม่พึงประสงค์ได้เป็นอย่างดี ถ้าใช้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
4. เด็กจะแสดงพฤติกรรมอันไม่พึงประสงค์เมื่ออยู่ในสภาวะหนึ่งเท่านั้น เด็กมักจะแสดงพฤติกรรมที่ต่างกันในสภาวะแวดล้อมที่ต่างกัน เมื่ออยู่ที่บ้านเด็กบางคนอาจแสดงพฤติกรรมอันไม่พึงประสงค์ แต่เมื่ออยู่ในโรงเรียนเด็กจะเป็นคนเรียบร้อยก็ได้ อาจแสดงอารมณ์โกรธเมื่อแม่ไม่ตามใจ แต่ไม่เคยแสดงอารมณ์โกรธเมื่ออยู่ต่อหน้าพ่อ จะเห็นได้ว่าสภาวะแวดล้อมเป็นสิ่งสำคัญที่เด็กเลือกแสดงพฤติกรรมอันไม่พึงประสงค์ด้วย
5. การปรับพฤติกรรมจะต้องมีจุดมุ่งหมายที่แน่นอนและเฉพาะเจาะจง ครูต้องกำหนดจุดมุ่งหมายให้ชัดเจนแน่นอน ว่าต้องการให้เด็กเปลี่ยนพฤติกรรมใด และเปลี่ยนไปในลักษณะใด มิใช่ช่วยให้เด็กบรรลุเป้าหมายในสิ่งที่เด็กต้องการ แต่เป็นเพียงให้เปลี่ยนพฤติกรรมภายใต้สภาวะหนึ่งเท่านั้น
การกำหนดจุดมุ่งหมายในการปรับพฤติกรรม
การกำหนดจุดมุ่งหมายในการปรับพฤติกรรมของเด็กต้องเป็นจุดมุ่งหมายที่เด่นชัดว่าต้องการปรับพฤติกรรมใดของเด็ก ต้องเป็นจุดมุ่งหมายเชิงพฤติกรรมที่สามารถวัดได้ สังเกตได้ เพื่อเป็นแนวทางในการกำหนดจุดมุ่งหมายในการปรับพฤติกรรมของเด็ก ผู้ตั้งจุดมุ่งหมายควรตั้งคำถามไว้ในใจดังนี้
- พฤติกรรมที่เด็กแสดงออกนั้นสามารถวัดได้ สังเกตได้หรือไม่
- สามารถนับจำนวนครั้งที่เด็กแสดงพฤติกรรมนั้นๆได้หรือไม่ ในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง
- สามารถแยกแยะพฤติกรรมนั้นเป็นพฤติกรรมย่อยๆลงไปกว่านั้นอีกได้หรือไม่ และพฤติกรรมย่อยนั้นสังเกตได้ง่ายกว่าหรือไม่
ขั้นตอนในการปรับพฤติกรรม
การปรับพฤติกรรมนั้นต้องกระทำเป็นลำดับจึงจะเกิดผลดี ขั้นตอนในการปรับพฤติกรรมมีดังนี้
1. เลือกพฤติกรรมที่ต้องการปรับ คือระบุให้ชัดเจนว่าต้องการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอันไม่พึงประสงค์ใด ไปเป็นพฤติกรรมอันพึงประสงค์ใด
2. กำหนดวิธีการในการสังเกตพฤติกรรม ต้องระบุว่าจะสังเกตพฤติกรรมนั้นๆอย่างไร เมื่อใดจึงจะบอกได้ว่าเด็กได้แสดงพฤติกรรมนั้นแล้ว
3. เตรียมบันทึกความก้าวหน้าของเด็ก พฤติกรรมบางอย่างของเด็กจะค่อยๆเปลี่ยนไปทีละน้อย ต้องคอยบันทึกความก้าวหน้าของพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไป
4. เลือกวิธีการที่จะนำมาใช้ในการปรับพฤติกรรม ต้องให้เหมาะสมกับการปรับพฤติกรรมนั้นๆ วิธีปรับพฤติกรรมมีหลายวิธี เช่น การให้แรงเสริม การงดให้แรงเสริม การลงโทษ ฯลฯ
5. คาดผลและปัญหาที่จะเกิดขึ้นหลังจากเริ่มลงมือปรับพฤติกรรม ต้องวางแผนล่วงหน้าว่าเมื่อเริ่มใช้วิธีการปรับพฤติกรรมนั้น เด็กจะมีปฏิกิริยาในลักษณะใด ถ้าเด็กยังไม่เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมจะปฏิบัติอย่างไร เป็นต้น
6. กำหนดระยะเวลาให้แน่นอน ต้องกำหนดเวลาว่าจะเริ่มต้นการปรับพฤติกรรมเมื่อใด ใช้เวลาในการปรับนานเท่าใด และจะสิ้นสุดลงเมื่อใด เพื่อให้การประเมินผลมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
7. กำหนดรายละเอียดในการปรับพฤติกรรม ว่าครูต้องปฏิบัติอย่างไรบ้างในการปรับพฤติกรรม
8. ลงมือปฏิบัติงาน
9. บันทึกผลการปฏิบัติงาน ต้องบันทึกตลอดระยะเวลาของการปรับพฤติกรรม ว่าเด็กมีพฤติกรรมไปในลักษณะใด ถ้าไม่ได้ผลได้ใช้วิธีการอื่นแทนอย่างไร หรือจะใช้หลายๆวิธีพร้อมกันก็ได้ตามความ เหมาะสม
10. ติดตามผล
ขั้นตอนในการปรับพฤติกรรมดังกล่าวนี้ไม่รวมถึงการศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับตัวเด็ก เช่น การศึกษาประวัติ การรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับตัวเด็ก ฯลฯ เพราะวิธีการดังกล่าวอยู่ในขั้นวิเคราะห์ข้อมูล และการศึกษาสาเหตุของพฤติกรรม ขั้นตอนในการปรับพฤติกรรมเหล่านี้จะใช้เมื่อทราบสาเหตุของพฤติกรรมแล้ว
การสังเกตและการบันทึกพฤติกรรม
การสังเกตและการบันทึกพฤติกรรมนั้นต้องบันทึกลงในแบบฟอร์ม ในที่นี้จะกล่าวถึง 2 ลักษณะ คือ
1. การบันทึกที่ยึดเวลาเป็นหลัก ใช้บันทึกพฤติกรรมเด็กขณะประกอบกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง
เลือกระยะเวลาในการสังเกต จะสังเกตนานเท่าใด ขึ้นอยู่กับพฤติกรรมของเด็กและความเหมาะสม

6 ความคิดเห็น:

  1. การสังเกตและการบันทึกพฤติกรรม เนื้อหาไม่ครบครับ (รบกวนด้วยนะครับ)

    ตอบลบ
  2. ขอบคุณสำหรับเนือหาบทดีมากๆนะค่ะ

    ตอบลบ
  3. เด็กมีพฤติกรรมทำร้ายตัวเองเมื่อรู้ตัวเองทำผิด

    ตอบลบ
  4. ไม่เข้าห้องเรียนหนีเรียนจนครูระอาไม่ให้ไปโรงเรียน

    ตอบลบ
  5. แต่เขาเรียนรู้ได้ไวบอกอะไรทำได้หมด

    ตอบลบ