วันเสาร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

เทคนิครับมือกับเด็ก ADHD สำหรับที่บ้าน

เทคนิครับมือกับเด็ก ADHD สำหรับที่บ้าน

 อย่างแรกต้องเข้าใจก่อนว่าสิ่งที่เด็กสมาธิสั้นแสดงออกมานั้น ทั้งทำเป็นไม่สนใจ สร้างความรำคาญ หรือทำให้อึดอัด นั้นไม่ได้เกิดจากความตั้งใจของเด็ก เด็กที่เป็นสมาธิสั้นต้องการที่จะนั่งอย่างเงียบๆ ต้องการให้ห้องเป็นระเบียบเรียบร้อย ต้องการทำตามที่คุณแม่ขอร้อง แต่เด็กไม่สามารถทำตามที่ตัวเองต้องการได้ ถ้าเราพยายามนึกถึงสิ่งต่างๆเหล่านี้ จะทำให้เราสามารถตอบสนองพฤติกรรมต่างในทางที่ดี และสามารถช่วยเหลือเด็กสมาธิสั้นเหล่านั้นได้
เชื่อในตัวเด็กและช่วยเหลือเด็ก
  • พยายายามนึกถึงเด็กในสิ่งที่ดี มีคุณค่าและเป็นเอกลักษณ์ของเด็กคนนั้น
  • เชื่อว่าเด็กสามารถเรียนรู้ ปรับเปลี่ยน มีวุฒิภาวะที่เหมาะสมตามวัย และจะประสบความสำเร็จ สนับสนุนความสามารถของเด็กและส่งเสริมความสามารถในทางที่ดีเหล่านั้น ซึ่งอาจจะทำให้เด็กประสบความสำเร็จในชีวิตได้
  • ให้เด็กเรียนรู้จากการกระทำของตัวเองแต่คอยอยู่เคียงข้าง เพื่อช่วยปลอบเมื่อความผิดพลาดนั้นทำให้เด็กเกิดการบาดเจ็บ
  • ส่งเสริมการสร้างความมั่นใจ โดยการเพิ่มทักษะต่างๆที่เด็กจำเป็นต้องใช้ และบอกให้เด็กรู้ถึงความรัก การช่วยเหลือและการสนับสนุนที่เรามีให้
มองโลกในแง่ดี
  • ระลึกเสมอว่าพฤติกรรมที่เด็กสมาธิสั้นแสดงออกมา เป็นเพราะโรคที่เด็กเป็น และส่วนใหญ่ทำโดยไม่เจตนา
  • นึกให้เป็นเรื่องสนุกเพราะพฤติกรรมที่เด็กสมาธิสั้นแสดงออกมาแล้วดูน่าอายในวันนี้ อาจเป็นเรื่องราวสนุกๆของครอบครัวในอีก 10 ปีข้างหน้าก็ได้
  • อย่าใส่ใจกับเรื่องเล็กน้อย เมื่อเด็กทำงานบางอย่างไม่สำเร็จ ถ้าหากเด็กสามารถทำงานอื่นๆได้หลายชิ้นแล้ว รวมทั้งการบ้านด้วย
  • พยายามที่จะใช้วิธีการพูดคุย ประนีประนอม บางทีเด็กอาจจะไม่ใช่คนเดียวที่ต้องมีการปรับเปลี่ยน ผู้เลี้ยงดูอาจจะต้องมีการปรับเปลี่ยนด้วย เช่น ถ้าพ่อแม่เป็นคนเจ้ากี้เจ้าการ ต้องทำตามแบบแผน
ให้ความสนใจกับญาติ พี่น้อง
  • ให้ความรู้ ข้อมูลเกี่ยวกับเด็กสมาธิสั้น
  • สร้างกฎ กติกาที่ชัดเจน ที่ทุกคนภายในบ้านต้องทำตาม
  • ใช้เวลากับลูกๆ โดยการเล่นเกมหรือทำกิจกรรมที่ทุกๆคนชอบ
  • อย่าให้ความสำคัญกับความสำเร็จของลูกที่ไม่ได้เป็นเด็กสมาธิสั้น แต่ควรให้คำชมถึงความสามารถ ความพยายาม และผลงานที่ได้รับมากกว่า
ให้ลูกคนที่ไม่ได้เป็นเด็กสมาธิสั้นเล่นเหมือนเด็กคนอื่นๆ ไม่ควรให้เล่นในบทบาทของผู้ช่วยของพ่อ แม่ หรือกล่าวโทษเด็กเมื่อลูกที่เป็นสมาธิสั้นมีพฤติกรรมที่ไม่ดี
ดูแลตัวเอง
  • พยายามดูแล รักษาสุขภาพร่างกายของตัวเอง และหาทางลดภาวะความเครียดที่อาจเกิดขึ้น
  • หาตัวช่วยต่างๆที่เราสามารถใช้พึ่งพาได้
  • ให้เวลาพักกับตัวเองบ้าง เมื่อลูกที่เป็นเด็กสมาธิสั้นไม่สามารถเปลี่ยนแปลงตามทีเราต้องการได้ อย่าลืมว่าเราเป็นพ่อ แม่ ไม่ใช่นักมายากล


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น