วันอาทิตย์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ก า ร เ ล่ น ข อ ง เ ด็ ก autism

 ก า ร เ ล่ น ข อ ง เ ด็ ก autism

การประยุกต์ใช้ IPG model ในโรงเรียน
ครูประจำชั้นมักมีคำถามเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เกี่ยวกับออทิสติก เพราะว่าเด็กจำนวนมากถูกจะบุว่าอยู่ในกลุ่ม autism spectrum (Center for Disease Control and Prevention, n.d.) ครูอยากได้ซึ่งแนวทางการบำบัด ที่สามารถทำมาปรับใช้ในโรงเรียนเกี่ยวกับความบกพร่องในการสื่อสาร และพฤติกรรมทางสังคมที่ผิดปกติ อย่างเช่น พฤติกรรมย้ำคิดย้ำทำ พฤติกรรมซ้ำๆ เป็นต้น


The importance of play in Children’s Development
กระบวนการเล่นนั้นสำคัญต่อพัฒนาการของเด็กซึ่งส่งผลต่อความสามารถหรือทักษะทางสังคมในเวลาต่อมา (Stone & La Greca, 1986) อย่างไรก็ตามบ่อยครั้งที่นักการศึกษาก็ไม่อาจพิจารณาได้ถึงทักษะทางการเล่นสำหรับจัดทำโปรแกรมการเล่นให้กับเด็กเล็กในกลุ่มออทิสติก จากการเล่น ประสบการณ์ ความคิดของเด็ก สังคม ภาษา การเคลื่อนไหว และพัฒนาการทางอารมณ์ (Furmen & Robbins, 1985; Rubin,1980; Rubin, Fein&Vandenberg, 1983) กิจกรรมนี้สำคัญใสการที่จะนำเด็กไปสูงการสำรวจบทบาททางสังคมที่หลากหลายและกฎระเบียบ และนำพวกเขาไปสู่โอกาสในการทำงานผ่านความวิตกกังวลและความขัดแย้งทางสังคม (Sroufe, Cooper&DeHart,1996) ปฏิสัมพันธ์ทางด้านบวกขณะเล่นกับเพื่อนจะช่วยพัฒนาในด้านความมั่นใจในตนเองและความสามารถทางสังคม (Cosaro&Schwartz, 1991; Furman&Robbins)
แบบอย่างที่เป็นไปตามธรรมชาติของพัฒนาการเด็กในการเล่นพบว่าจะมีความพึงพอใจ จินตนาการและปฏิสัมพันธ์ทางสังคมในทางตรงกันข้าม เด็กออทิสติกไม่ได้เป็นไปตามนั้นเด็กที่มีความบกพร่องมักขาดความสามารถในการเล่นที่เกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติและจินตนาการความคิด จึงทำให้มีข้อจำกัดในการเล่น บ่อยครั้งที่จะมีการเล่นซ้ำๆ เล่นไม่ถูกวิธีและไม่มีการเลียนแบบพฤติกรรมทางสังคม (APA, 2000) เด็กออทิสติกมีการเล่นที่ไม่หลากหลาย สนใจแต่รายละเอียดเล็กๆน้อยๆและสนับสนุนส่งเสริมให้เกิดลักษณะเหล่านั้นมากกว่า ลักษณะการเล่นที่เป็นแบบอย่างขอบเด็กทั่วไปหรือเด็ก Downs syndrome (Jackson et al.,2003; Williams, Reddy&Costall, 2001)


เด็กออทิสติกมีลักษณะที่ขัดขวางต่อพัฒนาการทางการเล่น คือ
1. เด็กที่มีทักษะทางการสื่อสารที่บกพร่องทำให้จำกัดบทบาทในการปฏิสัมพันธ์ทางการเล่น (e.g. Guralnick, 1990)
2. บ่อยครั้งที่เด็กออทิสติกยากที่จะตีความหมายหรือคาดเดาความคิด ความรู้สึกและพฤติกรรมของเด็กคนอื่นๆ ซึ่งเรียกว่า theery of mind ซึ่งผลกระทบต่อพัฒนาการของมิตรภาพของเพื่อน (Tager-Flusberg, 1999)
3. เนื่องจากความบกพร่องนี้ทำให้บ่อยครั้งที่ขัดขวางต่อความสนใจ พวกเขามักจะต่อต้านต่อการสำรวจการเล่นใหม่ๆ ร่วมกับเพื่อนคนอื่น
4. เมื่อเด็กที่มีความบกพร่องเหล่านี้ได้รับการชักชวนให้มาเล่น แต่ระดับการเล่นของเขานั้นต่ำกว่าของเด็กคนอื่น พวกเขาจึงไม่เข้าใจที่จะเล่น (Beckman&Kohl, 1987; Guralnick&Groom,1987)

ท้ายที่สุดเด็กเหล่านั้นก็ไม่เลือกที่จะปฏิสัมพันธ์กับเด็กที่มีความบกพร่องดังกล่าว (e.g.,Guralnick, Connor, Hammond, Gottman&Kinnish, 1995) หรือ มีความจำเป็นต้องฝึกฝนให้เกิดประสิทธิภาพในการเล่นแก่พวกเขา (Myles, Simpson, Ormsbee&Erikson, 1993)
ในที่สุดนักการศึกษาได้เลือกการจัดโปรแกรมในห้องเรียนโดยมีเป้าหมายคือ พัฒนาการและประโยชน์ทางด้านสังคมการเล่น เมื่อมีการพัฒนาจุดประสงค์สำหรับเด็กเล็กที่เป็นออทิสติก อย่างไรก็ตาม มีหลายๆ หลักการที่จะนำมาใช้สอนทักษะการเล่น ที่กำลังได้รับความนิยมอยู่ขณะนี้มี 2 วิธี คือ
1. ใช้เด็กปกติเป็นตัวอย่าง หรือการสอนโดยตรง
2. การใช้การรักษาในการจัดสิ่งแวดล้อมตามปกติธรรมดา
เพื่อสนับสนุนให้เกิดกระบวนการเกิดทักษะทางสังคมของเด็ก (e.g. Goldstein, Kaczmarek, Penningtan&Shafer, 1992; Kamps et al., 2002; Odom et al., 1999; Rogers, 2000; Strain, Kerr&Ragland, 1979) ในบทความนี้เราได้แนะนำ IPG ซึ่งพัฒนาโดย Pamela Wolfberg ซึ่งได้มีการพบก่อนหน้านี้ เราได้อธิบายถึงทำอย่างไรที่จะประสบความสำเร็จในการประยุกต์ใช้โปรแกรมนี้ในโรงเรียน


Description of Integrated Play Groups
IPG เป็นพื้นฐานจาก Lev Vygotsky’s social constructivist theory วัตถุประสงค์แรกของ IPG คือเพื่อปรับปรุงทักษะทางสังคมและ Symbolic play ในเด็กออทิสติก อายุระหว่าง 3-11 ปี สิ่งที่ยากสำหรับการเล่นคือ โมเดลนี้ให้ความสำคัญกับพัฒนาการการเล่นที่มาจากแรงขับภายในของตัวเด็กเองที่จะเล่นและปฏิสัมพันธ์กับคนอื่นๆ (Wolfberg, 1999)
ตามที่ Wolfberg และทีมงานได้มีการจัดเตรียมเด็กที่มีความสามารถต่างๆ กันมาช่วยกันคิดกิจกรรมการเล่นทั้งหมดร่วมกัน สิ่งที่จะนำไปสู่ทักษะทางสังคมและจินตนาการ รวมไปถึงความสนุกสนานและการมีเพื่อน สิ่งนี้เป็นอะไรที่น่าสนใจที่สามารถนำมาประกอบในคู่มือในหัวข้อ Peer Play and the Autism Spectrum: The Art of Guiding Children’s Socialization and Imagination, โดย Pamela Wolfberg (2003) สำหรับเป็นข้อมูลแนะแนวทางในการใช้โมเดลนี้


Composition and Structure of IPGs (ส่วนประกอบและโครงสร้างของ IPG)
IPG ประกอบด้วย Guides, Expert players, Novice players

  • Guides คือ กลุ่มผู้กระตุ้น ผู้ซึ่งจะฝึกและดำเนินการเกี่ยวกับ IPG model ซึ่งเป็นบุคคลที่มีประสบการณ์ในการทำงานกับเด็กออทิสติก


  • Expert players คือ กลุ่มเด็กที่มีทักษะทางสังคมดี การสื่อสารดี และมีทักษะจินตนาการการเล่นที่ดี โดยเลือกกลุ่มเด็กเหล่านี้จากหลายๆ ความสามารถและความสนใจ


  • Novice players ประกอบด้วยเด็กในกลุ่มออทิสติกและในกลุ่มที่มีความสามารถใกล้เคียงกัน



  • ในกลุ่มประกอบด้วยผู้เล่น 3-5 คน และมีอัตราส่วนของ Expert players มากกว่า Novice players
    IPG จัดขึ้นอย่างน้อย 2ครั้ง / สัปดาห์ แต่ละครั้งใช้เวลาประมาณ 30นาที ถึง 1 ชั่วโมง ในสิ่งแวดล้อมธรรมดาที่จัดขึ้น เช่น โรงเรียน ชุมชน ศูนย์พัฒนาการเด็กหรือที่บ้าน กลุ่มนี้คือ กลุ่มที่มากไปด้วยองค์ประกอบ มีความคงที่ของบทบาทและกฎ ข้อตกลง และร่วมกับการช่วยเหลือแบบซ้ำๆ เป็นรายบุคคลในเด็กออทิสติก กลุ่มนี้ถ้าเป็นไปได้จะทำในสถานที่เดียวกัน กับผู้ร่วมกลุ่มกลุ่มเดียวกัน จุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุด ถูกใช้เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับผู้ร่วมกลุ่มในการกำหนดหัวข้อในการเล่น บทบาทและข้อตกลง และวางแผนสำหรับครั้งต่อไป สิ่งสนับสนุนทางสายตา เช่น picture schedules และ choice board ถูกนำมาใช้แสดงถึงเรื่องที่จะทำในแต่ละครั้งรวมถึงการเตรียมสำหรับการสื่อสารและการชี้นำพฤติกรรมของผู้ร่วมกลุ่ม IPG โปรแกรมมีระบบการประเมินที่ค่อนข้างกว้าง มีจุดประสงค์เพื่อ

  • การสำรวจเกี่ยวกับศักยภาพของผู้เล่นอย่างเป็นระบบ


  • ช่วยในการจัดระเบียบของกลุ่ม


  • นำมาซึ่งข้อสรุปของความสามารถทางสังคมและความสามารถในการเล่นแบบ Symbolic play รวมถึงความสนใจของผู้ร่วมกลุ่ม


  • การประมาณถึงความก้าวหน้าใน Novice group



  • Guided Paticipation in IPGs (การชี้แนะการปฏิสัมพันธ์ใน IPGs)
    กิจกรรมบำบัดจะใช้การชี้แนะการปฏิสัมพันธ์ สิ่งซึ่ง Wolfberg ได้อธิบายว่า “กระบวนการนี้เป็นไปตามลำดับพัฒนาการโดยมีการเริ่มต้นการปฏิสัมพันธ์เองในกิจกรรมที่นิยมเล่น รวมถึงการชี้แนะและสนับสนุนการกระตุ้นให้เกิดการเล่นของเพื่อนในกลุ่ม ซึ่งจะผันผวนไปตามทักษะและสถานะของเขาเหล่านั้น” IPG โปรแกรมประกอบด้วย 5 วิธีการการบำบัดรักษา คือ
    1. Structuring play sessions.
    2. Monitoring play initiations.
    3. Scaffolding play.
    4. Social-communication guidance.
    5. Play guidance (Wolfberg, 2003)


    IPG ใช้การสนับสนุนจากผู้ใหญ่อยู่ 3 ระดับ คือ
    1. Modeled and directed play ผู้ใหญ่จะเข้าไปชี้แนะโดยตรงต่อกลุ่มในการปฏิสัมพันธ์
    2. Verbal guidance ใช้เสียงในการสั่งให้มีการปฏิสัมพันธ์อยู่ห่างออกไป
    3. Supervision ยังคงมองดูอยู่แต่ไม่ได้เข้าไปร่วมในกลุ่ม


    Benefits of the IPG approach (ประโยชน์ของ IPG approach)
    งานวิจัยของ IPG ได้สนับสนุนประสิทธิภาพของเทคนิคนี้ (Wolfberg, 2003) ตัวอย่างที่มีประโยชน์ต่อ novice players คือ
    1. มีความถี่และความทนได้ต่อการปฏิสัมพันธ์มากขึ้น
    2. ปรับปรุงทักษะทางภาษา
    3. มีการเล่นอย่างมีคุณภาพมากขึ้น เช่น มีการเล่นแบบ pretend play และ Symbolic play มากขึ้น
    4. มีองค์ประกอบการเล่นที่สมบูรณ์ดีขึ้น
    5. มีการพัฒนาของความเป็นเพื่อน


    ตัวอย่างของประโยชน์ทางด้านอื่นๆ คือ
    1. การรับรู้ความรู้สึกและทนทานดีขึ้นในเด็กที่มีความบกพร่อง
    2. มีพัฒนาการด้านความรู้สึก ความเอใจใส่ดีขึ้น
    3. มีพัฒนาการของความเป็นเพื่อนกับเด็กที่มีความบกพร่อง
    4. ปรับปรุงความมั่นใจในตัวเอง
    พบว่ามีเปอร์เซ็นต์ที่ดีขึ้นต่อการเล่น ของเล่นตามหน้าที่ของของเล่นใน Symbolic play และทักษะทางการเล่นหลังจากมีการบำบัดโดย IPG ในกลุ่ม novice players (Wolfberg and Schuler, 1993)

    มอนเตสซอรี่ หลักสูตรการเรียนที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ


    เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม

              ถ้าจะพูดถึงข่าวคราวการศึกษาในประเทศไทยที่มีการสำรวจจากต่างประเทศออกมาแล้วว่า เด็กไทยเรียนหนังสือหนักเป็นอันต้น ๆ ของโลก แต่แทนที่เด็กไทยจะมีผลการทดสอบทางวิชาการที่ดี กลับกลายเป็นคะแนนตกต่ำลงทุกวัน ซึ่งส่วนหนึ่งนั้นอาจเป็นผลจากการจัดระบบการเรียนการสอนที่ไม่สอดคล้องกับความต้องการของเด็ก วันนี้กระปุกดอทคอมเลยขอนำเสนอหลักสูตรการเรียนการสอนที่มีจุดมุ่งหมายในการให้การศึกษาเป็นการปลูกฝังให้เด็กได้เจริญเติบโตไปตามความต้องการตามธรรมชาติ หรือที่เรียกว่า หลักสูตรมอนเตสซอรี่

    หลักสูตรมอนเตสซอรี่ คืออะไร?


              คงเป็นคำถามที่หลายคนสงสัย...หลักสูตรนี้คือการจัดการเรียนการสอนที่มีแนวคิดคำนึงถึงความสนใจ ความต้องการและความมุ่งมั่นตั้งใจในการเรียนรู้ รวมทั้งแก้ไขข้อผิดพลาดด้วยตนเองของเด็กเพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างอิสระในขอบเขตที่กำหนดไว้ให้ ได้ใช้จิตในการซึมซับสิ่งแวดล้อมรอบตัว จนเกิดความอยากรู้ อยากเห็น และแสวงหาความรู้อย่างมีสมาธิ มีวินัยในตนเอง ให้เด็กเกิดการพัฒนาการทุก ๆ ด้านไปในเวลาเดียวกัน

    ที่มาของหลักสูตร มอนเตสซอรี่

              โดยหลักสูตรมอนเตสซอรี่ เกิดขึ้นจากการที่ ดร.มาเรีย มอนเตสซอรี่ แพทย์หญิงคนแรกชาวอิตาลี ได้ทำงานกับเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา จึงค้นพบว่า ได้สังเกตเด็กในสภาพที่เป็นจริงของเด็ก ไม่ใช่สภาพที่ผู้ใหญ่ต้องการให้เด็กเป็นและควรเอาใจใส่ดูแลเด็กมากกว่าสนใจเรื่องเหตุทางการแพทย์ จึงได้พัฒนาวิธีการสอน การจัดเตรียมสิ่งแวดล้อม และอุปกรณ์การสอนต่างๆ ขึ้นมาใช้ เพื่อช่วยให้เด็กมีพัฒนาการทางสติ ปัญญา และอารมณ์ โดยเริ่มต้นจากการทดลองที่โรงเรียนที่มอนเตสซอรี่เข้าไปรับผิดชอบ ที่เรียกว่า Casa Dei Bambini หรือ Children's House แล้ววิธีการสอนนี้จึงได้แพร่หลายต่อไปจนทั่วโลกเช่นในปัจจุบัน

              สำหรับการสอนเด็กโดยใช้หลักสูตรมอนเตสซอรี่นั้น จะเน้นเรื่องความต้องการของเด็กในการเรียน จึงต้องมีการเตรียมสิ่งแวดล้อม จัดห้องเรียนให้เหมาะสมกับวัยของเด็ก ต้องมีพื้นที่ว่างสำหรับให้เด็กได้ทำงานทั้งบนเก้าอี้ บนพรม บนเสื่อ มีเครื่องมืออุปกรณ์ต่าง ๆ ที่มีสีอ่อนและน้ำหนักเบาเพื่อให้เด็กได้สามารถควบคุมการใช้วัสดุเหล่านั้นด้วยตัวเอง ซึ่งจะเน้นให้เด็กรับรู้ถึงโครงสร้างของอุปกรณ์ที่จัดไว้ เพื่อทําให้เกิดการรับรู้โดยผ่านทางประสาทสัมผัส และการเคลื่อนไหว อุปกรณ์แต่ละชิ้นครูจะต้องสาธิตวิธีการใช้อุปกรณ์ให้เด็กดูก่อน ด้วยวิธีการที่ทําให้เด็กเกิดความสนใจและอยากทํางานกับอุปกรณ์นั้นมาใช้ต่อไป อุปกรณ์จะมีลําดับความยากง่ายต่อเนื่องกันไปและมีความสัมพันธ์กับวิชาที่เรียนต่อไปซึ่งตอบสนองความต้องการสําหรับช่วงเวลาหลักของชีวิต


    การแบ่งหลักสูตรมอนเตสซอรี่

              ทั้งนี้ มีการแบ่งหลักสูตรพื้นฐานสำหรับเด็กอายุ 3-6 ปีเป็นสามกลุ่มใหญ่ ๆ ได้แก่

               1.การศึกษาทางด้านทักษะกลไก (Motor Education)

               2. การศึกษาทางด้านประสาทสัมผัส (Education of the Senses)

               3. การตระเตรียมสำหรับการเขียนและคณิตศาสตร์ (Preparation for Writing and Arithmetic)

              โดยการสอนแบบมอนเตสซอรี่เพื่อเชื่อมโยงภาษากับอุปกรณ์หรือสิ่งของจะมี 3 ขั้นตอนด้วยกัน คือ

               ขั้นที่ 1 การสังเกตเห็นลักษณะเฉพาะของสิ่งนั้น ทํ าให้เชื่อมโยงสิ่งที่ครูสาธิตให้ดูกับ ชื่อของสิ่งนั้นได้"นี่คือ........"

               ขั้นที่ 2 การสังเกตเห็นความแตกต่าง เพื่อให้มั่นใจว่า เด็กเข้าใจเมื่อบอกเด็กว่า "อันไหน....."

               ขั้นที่ 3 การ เห็นความแตกต่างระหว่างสิ่งที่คล้ายคลึงกัน และสามารถบอกชื่อของสิ่งของสิ่งนั้นได้ขั้นตอนนี้เพื่อจะได้ทราบว่า เด็กจําชื่อสิ่งต่างๆ ที่ครูสาธิตให้ดูได้หรือไม่ เช่น ชี้ที่สิ่งของแล้วถามว่า "อันนี้อะไร ....."


     หลักสูตรมอนเตสซอรี่ ใช้กับเด็กกลุ่มการศึกษาใดได้บ้าง

              การเรียนการสอนแบบมอนเตสซอรี่ สามารถพัฒนาเด็กตั้งแต่วัยทารกจนถึงระดับมัธยม ทั้งเด็กที่มีความต้องการพิเศษและเด็กปกติ ทุกชนชาติ ศาสนา แต่ส่วนใหญ่รูปแบบการสอนนี้จะใช้กันอย่างแพร่หลายในระดับเด็กเล็ก หากปัจจุบันบางประเทศเช่น เยอรมนี และสหรัฐอเมริกา ได้นำเอารูปแบบการสอนแนวมอนเตสเซอรี่ไปใช้กับเด็กในระดับประถม และมัธยมแล้ว ส่วนในประเทศไทยเองก็มีโรงเรียนที่เปิดสอนด้วยหลักสูตรนี้อยู่ที่โรงเรียนอนุบาลกรแก้ว ซึ่งตั้งอยู่ 124 ซอยระนอง 1 ถนนพระรามที่ 5 เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300 และเปิดสอนมากว่า 15 ปีแล้ว
             
              เป็นอย่างไรบ้างกับการได้รู้จักหลักสูตรมอนเตสซอรี่ หลายคนคงเห็นแล้วว่าหลักสูตรนี้มีการเรียนการสอนที่น่าสนใจและหากได้นำมาประยุกต์กับการเรียนการสอนในระบบการศึกษา ก็น่าจะช่วยพัฒนาคุณภาพการศึกษาบ้านเราไปไม่มากก็น้อย

    ไม่มีความคิดเห็น:

    แสดงความคิดเห็น