วันเสาร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

เด็กสมาธิสั้น


เด็กสมาธิสั้นและซนผิดปกติ
(Attention Deficit&Hyperactive Disorders: ADHD)
 update 21/7/51
  ADHD
                   Attention Deficit Hyperactivity Disorder: สมาธิสั้นและซนผิดปกติ หรือเรียกสั้นๆว่า ADHD เป็นหนึ่งในหลายๆพฤติกรรมที่ผิดปกติที่สามารถเกิดขึ้นกับเด็ก เด็กส่วนใหญ่ที่มีปัญหาด้านพฤติกรรมแล้วถูกส่งไปยังผู้เชี่ยวชาญทางด้านสุขภาพจิต มักจะแสดงภาวะADHD มากกว่ากลุ่มอาการอื่นๆ ซึ่งเด็ก ADHD มักจะมีปัญหาในเรื่องของการดำรงชีวิต ทั้งที่บ้าน โรงเรียนและการรักษาความสัมพันธ์กับผู้อื่น
 ADHDคืออะไร
                   Attention Deficit Hyperactivity Disorder เป็นความบกพร่องในการทำงานของระบบประสาท ซึ่งส่งผลต่อพฤติกรรมที่แตกต่างกันไป 4 ด้าน ดังนี้
                   สมาธิ เป็นสาเหตุที่ทำให้เด้กมีปัญหาในการจดจ่อหรือมีสมาธิอยู่กับกิจกรรมที่กำลังกระทำ หรือเป็นการทำกิจกรรมนั้นๆให้สำเร็จ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในกิจกรรมที่ไม่น่าสนใจมากนัก
                  ยุกยิก เป็นสาเหตุทำให้เกิดการขาดการควบคุมตัวเอง พฤติกรรมนี้อาจส่งผลต่อความไม่มั่นคงในการรักษาความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล การทำงาน โรงเรียนหรือชีวิต
                   อยู่ไม่นิ่ง เด็ก ADHD ส่วนใหญ่ (ไม่ใช่ทั้งหมด) มักจะไม่ค่อยนิ่งกระโดดไปมา และดูเหมือนจะไม่เหนื่อยเลยทีเดียว
                  เบื่อง่าย นอกจากว่ากิจกรรมหรืองานนั้นๆน่าตื่นเต้นหรือน่าสนใจมาก เช่น การเล่นวิดีโอเกม ดูโทรทัศน์หรือการเล่นนอกบ้าน โดยสำหรับเด็กที่บกพร่อง ทางสมาธิ มักจะเบื่อการทำกิจกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการบ้าน การคำนวน การทำบัญชีรายรับ รายจ่าย และการคิดภาษี และดูเหมือนว่างานต่างๆ เหล่านี้จะ ไม่มี วันสำเร็จเลย
                   จากพฤติกรรมที่พบด้านบน มักจะพบโดยทั่วๆไป ไม่เฉพาะที่บ้านหรือที่โรงเรียน เพราะถ้าเกิดเพียงที่บ้าน อาจเป็นไปได้ว่าเด็กเกิดความเบื่อหน่ายหรือไม่ อยากจะร่วมทำกิจกรรมที่บ้านและพฤติกรรมต่างๆ เหล่านี้มักจะสังเกตได้ก่อนอายุ 7 ปี เนื่องจากADHD เป็นความผิดปกติของการทำงานของระบบประสาท เราจึง สันนิษฐานว่าเด็กๆเหล่านี้ได้เกิดมาพร้อมกับความผิดปกติ ถึงแม้ว่าพฤติกรรมหรืออาการต่างๆจะไม่ได้ส่งผลมากนักจนกระทั่งถึงชั้นประถมต้นเนื่องจากการเรียนที่ ยากมากขึ้น จึงสรุปได้ว่าพฤติกรรมต่างๆมักจะสังเกตได้ก่อนอายุ 7 ปี
"Children, teens, and adults can all suffer from Attention Deficit Hyperactivity Disorder"
                    ภาวะสมาธิสั้นส่งผลต่อเด็กและวัยรุ่นประมาณ 5% และส่งผลต่อผู้ใหญ่ประมาณ 3% มีเด็กADDน้อยกว่าครึ่งหนึ่งที่เติบโตเป็นผู้ใหญ่ได้อย่างสมบูรณ์ ถ้าไม่ รับการรักษาอาการหรือพฤติกรรมต่างๆอาจส่งผลระยะยาวไปถึงช่วงวัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่ จาก American Psychiatric Association’s DSM IV ได้แบ่งชนิดของADHD เป็น
                      ADHD Inattentive Type
                     ADHD Impulsive-Hyperactive Type
                     ADHD Combined Type
ซึ่งในช่วงที่ผ่านมาได้มีการใช้คำว่า ภาวะสมาธิสั้นร่วมกับภาวะอยู่ไม่นิ่ง หรือ สมาธิสั้นอย่างเดียว โดยที่ADHD มีค่อนข้างหลากหลายและแน่นอนว่า ADD และ ADHD ย่อมมีลักษณะไม่เหมือนกัน
ภาวะสมาธิสั้นและซนผิดปกติเป็นความบกพร่องที่มาจากพื้นฐานทางระบบประสาท
ยังมีข้อโต้แย้งค่อนข้างมากที่หลายๆคนไม่อยากจะให้มีการวินิจฉัยภาวะสมาธิสั้นและซนผิดปกติ เนื่องจากยังขาดหลักฐานทางระบบประสาทหรือการวิจัยทางการแพทย์ หรือCriteriaกว้างเกินไป จริงๆแล้วยังมีการวิจัยจำนวนมากที่สนับสนุนว่าภาวะสมาธิสั้นและซนผิดปกติมาจากความบกพร่องทางระบบประสาท
 ภาวะสมาธิสั้นและซนผิดปกติไม่ได้เป็นผลมากจากการเลี้ยงดูที่ไม่ดี หรือเป็นความท้าทาย น่ารังเกียจของตัวเด็ก
เพราะเด็กๆทุกคนย่อมชอบที่จะท้าทายอยู่แล้วไม่ว่าเด็กคนนั้นจะมีภาวะสมาธิสั้นและซนผิดปกติหรือไม่ การท้าทาย ไม่เชื่อฟังและความเห็นแก่ตัว น่าจะมาจากเรื่อง ของนิสัยหรือศิลธรรมมากกว่าความผิดปกติทางระบบประสาท เพราะมีหลายคนที่ไม่ได้เป็น ADD, ADHD แต่ก็ยังมีนิสัยต่างๆเหล่านี้ได้
ในความเป็นจริงแล้ว ผู้ปกครองที่ต้องดูแลเด็กๆที่มีพฤติกรรมต่างๆเหล่านี้ควรต้องได้รับการอบรมหรือทราบข้อมูลเบื้องลึกในการดูแลเด็กๆเหล่านี้อย่างสมบูรณ์ ซึ่งใน ปัจจุบันต้องยอมรับว่าพ่อแม่รุ่นใหม่ก็ได้เติบโตมาจากครอบครัวที่ไม่ค่อยมีเวลาให้กันมาก่อน โดยที่พ่อแม่เหล่านี้ก็ได้พยายามดูแลลูกๆของตัวเองอย่างดีที่สุด แต่เขาไม่ได้ มีแบบอย่างมาก่อนเลย ซึ่งปัญหาเหล่าก็สามารถแก้ไขได้โดยการอบรม                
 โมสาร์ท นักประพันธ์เพลงผู้ยิ่งใหญ่ โทมัส อัลวา เอดิสัน ผู้คิดค้นการทำงานของหลอดไฟที่ใช้กันในปัจจุบัน กระทั่ง อับบราฮัม ลินคอร์น ผู้ที่ยกเลิกระบบทาสในประเทศสหรัฐอเมริกาได้สำเร็จ ก็ล้วนมีประวัติว่าเป็นโรคสมาธิสั้นทั้งสิ้น

สมาธิ คือ กระบวนการที่คนเรามีจุดสนใจ จดจ่อ และเอาใจใส่เฉพาะกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งอาจเลือกที่จะสนใจเป็นระยะเวลาสั้นๆ หรือเป็นระยะเวลานานๆ ก็ได้ตามความต้องการของคนๆ นั้น รวมถึงความสามารถที่จะเบนความสนใจจากสิ่งหนึ่งไปยังอีกสิ่งหนึ่งได้เมื่อเราต้องการ

เด็ก


ความสนใจเกี่ยวข้องกับสมาธิอย่างไร?
ความสนใจ เป็นองค์ประกอบสำคัญอย่างหนึ่งของสมาธิ การก่อให้เกิดสมาธินั้นต้องอาศัยความสนใจเป็นหลัก รวมทั้งองค์ประกอบอื่นๆ ความสนใจจึงเป็นการรวบรวมความคิดให้จดจ่อในจุดนั้นๆ ซึ่งการรวบรวมความคิดให้ยาวนานและต่อเนื่องจึงสามารถทำให้เกิดเป็นสมาธิขึ้นมาได้


สมาธิมีผลอย่างไรต่อเด็กในวัยเรียน 
สมาธิเป็นสิ่งสำคัญที่สุดที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ในคนทุกวัย ไม่เพียงแต่ในเด็กเท่านั้น แต่เด็กซึ่งอยู่ในวัยที่กำลังเรียนรู้นั้นหากมีสมาธิดีจะได้เปรียบกว่า ทั้งในด้านการฟัง การคิด การรับรู้ และมีความสามารถในการจดจำได้มากกว่าเด็กที่มีสมาธิสั้น เพราะเด็กที่มีสมาธิสั้นนั้นยากที่จะบังคับจิตใจให้จดจ่อหรือสนใจอยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเป็นงานที่ต้องทำอยู่เป็นระยะเวลานาน จะวอกแวกได้ง่ายได้ ซึ่งนอกจากสมาธิสั้นจะมีผลต่อการเรียนรู้แล้ว ยังมีผลเสียอื่นๆ ที่เกิดขึ้นอีกหลายอย่างต่อตัวเด็ก และต่อครอบครัวตามมาด้วย


สมาธิสั้นคืออะไร 
คุณคงเคยได้ยินคุณพ่อ คุณแม่ หรือคุณครูบ่นเด็กๆ ที่อยู่ไม่นิ่งว่า “ดื้อ” “อยู่ไม่สุข” “ทำไมไม่อยู่นิ่งๆ บ้าง” “ไม่ฟังครูเลย” “ใจลอย” “ขี้ลืม” “ขี้เกียจจัง” “อย่าพูดแทรก” “ซนหกล้มอยู่เรื่อย” “ซุ่มซ่าม” แน่นอนค่ะว่าเด็กที่มีภาวะสมาธิสั้นจะส่งผลกระทบต่อครอบครัวและตัวเด็กเองเป็นอย่างมาก เพราะเด็กจะไม่รู้จักระวังอันตรายและคำนึงถึงความปลอดภัยของตนเอง ซึ่งจะทำให้พ่อแม่รู้สึกเครียดเพราะกังวลเป็นห่วงลูกตลอดเวลา เมื่อเป็นห่วงมากก็แสดงออกด้วยการตักเตือนหรือบ่นมากเป็นธรรมดา ส่งผลให้เด็กรู้สึกว่ามีปมด้อย เพราะถูกตำหนิอยู่เสมอ บางคนอาจถูกทำโทษจากพ่อแม่ หรือครู บางคนทะเลาะกับเพื่อน เข้ากับเพื่อนไม่ได้ เรียนหนังสือไม่ทัน ผลการเรียนแย่ลงอาจสอบไม่ผ่าน จึงมักจะคิดว่าตัวเองเป็นคนโง่ เรียนรู้อะไรยาก ไม่มีใครอยากคบด้วย เด็กจะยิ่งเครียด แล้วอาจแยกตัวออกไปอยู่คนเดียว เพราะรู้สึกว่าไม่ประสบความสำเร็จ ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดอาการซึมเศร้าได้

โดยทั่วไปแล้วในเด็กวัยเรียนจะพบเด็กสมาธิสั้นได้ร้อยละ 3-5 ซึ่งพบในเด็กชายมากกว่าเด็กหญิงถึงร้อยละ 4 สำหรับในประเทศไทยพบว่ามีเด็กสมาธิสั้นร้อยละ 5 โดยเฉลี่ยแล้วในห้องเรียนห้องหนึ่งจะพบเด็กสมาธิสั้นประมาณ 2- 3 คน !

ส่วนผู้ใหญ่ที่มีอาการสมาธิสั้นนั้นก็มีเหมือนกัน สังเกตได้ว่าจะเป็นคนที่มีความสนใจอะไรน้อยเกินไป ซึ่งอาจขาดความสนใจบางส่วนหรือทั้งหมดทำให้ขาดสมาธิในการทำงาน โดยเฉพาะงานที่ต้องทำเป็นประจำ เขาจะรู้สึกเบื่อหน่ายและไม่สามารถอดทนที่จะรอคอย หรือทำงานที่ต้องใช้ระยะเวลานานๆ ได้


แล้วอะไรคือสาเหตุของสมาธิสั้น?
โรคสมาธิสั้นนั้นเกิดจากการทำงานที่ไม่ปกติของระบบประสาทชีววิทยาภายในร่างกาย อันได้แก่ สมองส่วนหน้า (Frontal Lobe of Cerebral Hemisphere) ทำงานน้อยกว่าปกติ ซึ่งสมองส่วนนี้เป็นสมองส่วนที่ควบคุมความคิด การเกิดสมาธิ การจัดระเบียบและการทำกิจกรรมแบบมีจุดมุ่งหมาย ส่วนความผิดปกติอีกประการหนึ่งก็คือ การเกิดปัญหาของการหลั่งสารเคมีในสมองที่เรียกว่า Dopamine และ Norepinephrine ซึ่งเป็นสารเคมีในสมองที่ช่วยกระตุ้นทำให้มีการเคลื่อนไหว ไม่สามารถทำงานได้อย่างเป็นปกติ เนื่องจากการขาดหรือมีสารเคมีดังกล่าวในปริมาณที่ไม่สมดุล และจะส่งผลให้แสดงพฤติกรรมผิดปกติจนไม่สามารถหยุดการกระทำได้ นอกจากนี้ การเป็นโรคภูมิแพ้ การที่สมองของเด็กได้รับความกระทบกระเทือนระหว่างการคลอด หรือได้รับการติดเชื้อหลังคลอด และการที่เด็กได้รับสารเคมี ที่เป็นอันตรายต่างๆ เช่น สารตะกั่วล้วนอาจเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคสมาธิสั้นได้

พ่อแม่บางคนที่มีลูกสมาธิสั้น มักจะโทษตัวเองว่าเป็นเพราะตนเองเลี้ยงลูกไม่ดี ....ซึ่งขออธิบายค่ะว่า การเลี้ยงดูของพ่อแม่ไม่ได้เป็นสาเหตุที่ทำให้เด็กเกิดโรคสมาธิสั้น แต่การเลี้ยงดูและการดูแลที่ไม่เหมาะสมหรือไม่ถูกต้อง สามารถส่งผลให้เด็กที่มีอาการสมาธิสั้นอยู่แล้วมีอาการมากขึ้น ซึ่งในทางตรงกันข้าม การดูแลที่ดีกลับจะช่วยให้เด็กสามาธิสั้นมีอาการดีขึ้นได้


รู้ได้อย่าง...ว่าเด็กเป็นโรคสมาธิสั้น
การที่จะสรุปว่าเด็กคนใดเป็นโรคสมาธิสั้นหรือไม่นั้น ต้องมีผู้เชี่ยวชาญ ได้แก่ กุมารแพทย์ และจิตแพทย์ เป็นผู้วินิจฉัย ซึ่งในประเทศไทยจะใช้คู่มือของ DSMIV 1994 (Diagnostic and Statistical Manual of Mental Disorder) ของสมาคมจิตแพทย์อเมริกัน (Psycho American Association) ซึ่งลักษณะเฉพาะของสมาธิสั้น มีอยู่ 3 อย่างคือ

• อาการขาดสมาธิ (Inattention) จำแนกได้ 9 อาการ
• ซุกซนไม่อยู่นิ่ง (Hyperactivity) จำแนกได้ 6 อาการ
• อาการหุนหันพลันแล่น (Impulsiveness) จำแนกได้ 3 อาการ
• อาการดังกล่าวต้องแสดงออกก่อนอายุ 7 ปี


อาการขาดสมาธิ (Inattention) ประกอบด้วย
1. มีความเลินเล่อในการทำกิจกรรมหรือการทำงานอื่นๆ และมักจะละเลยในรายละเอียด
2. ไม่มีสมาธิในการทำงานหรือการเล่น
3. ดูเหมือนไม่เชื่อฟังและไม่สนใจเมื่อมีคนพูดด้วย
4. ทำกิจกรรมไม่เสร็จ ทำตามคำสั่งไม่จบ
5. มีความลำบากในการจัดระเบียบงานหรือกิจกรรมที่ทำ
6. หลีกเลี่ยงงานที่ต้องใช้สมาธิ
7. ทำของหายบ่อยๆ
8. วอกแวกง่าย
9. ขี้ลืมเป็นประจำ


เด็ก, สมาธิสั้นDonald Getz, O.D. เล่าว่า คุณแม่ของเด็กชายชาวอเมริกันชื่อเอ็ดดี้ อายุ 7 ปี บอกว่าบางทีเอ็ดดี้เขียนหนังสือได้ 1-2 ตัว ก็จะลุกขึ้นวิ่งเล่นหรือเลิกทำไปเสียเฉยๆ บางทีเขียนหนังสือหรือระบายสีได้นิดเดียวก็เปลี่ยนที่ เพราะเขาขาดสมาธิ แล้วอาจมีปัญหาทางสายตาด้วยการเขียนหนังสือกลับทาง เช่น การเขียนหนังสือจะเขียนกลับจาก “was” เป็น “saw”, “on” เป็น “no” หรือเขียนตัวเลขกลับ จาก “6” เป็น “9” หรือ “12” เป็น “21”เป็นต้น

อาการซนไม่อยู่นิ่ง (Hyperactivity) ประกอบด้วย
1. นั่งไม่นิ่งขยับไปมา บิดตัวไปมา
2. ลุกจากที่นั่งในห้องเรียนหรือในที่อื่นที่ต้องนั่ง
3. วิ่งปีนป่านในสถานการณ์ที่ไม่เหมาะสม ( มีอาการกระวนกระวาย กระสับกระส่าย)
4. ไม่สมารถเล่นเงียบๆ คนเดียวได้
5. เคลื่อนไหวตลอดเวลา
6. พูดมากเกินไป


อาการหุนหันพลันแล่น (Impulsiveness) ประกอบด้วย
1. ไม่อดทนรอคอย
2. พูดโพล่งออกมาในขณะที่ยังถามไม่จบ
3. พูดแทรกขัดจังหวะการสนทนาหรือการเล่น

ซึ่งอาการเหล่านี้ต้องปรากฏขึ้น อย่างน้อยใน 2 สถานการณ์ ไม่ว่าจะเป็นที่บ้าน ในห้องเรียน สนามเด็กเล่น หรือในที่ชุมชน ที่สำคัญข้อมูลเหล่านี้นำเสนอเพื่อให้คุณผู้อ่านใช้สังเกตลูกหลานเท่านั้น อย่างไรก็ตามการวินิจฉัยว่าเด็กเป็นสมาธิสั้นหรือไม่ยังต้องเป็นหน้าที่ของแพทย์ค่ะ


เราจะช่วยเหลือเด็กสมาธิสั้นได้อย่างไร 
• หากสังเกตว่าเด็กเข้าข่ายมีอาการสมาธิสั้น ไม่อยู่นิ่ง ควรพาเด็กไปพบกุมารแพทย์ หรือจิตแพทย์ เพื่อรับการตรวจวินิจฉัย นอกจากนี้แพทย์ยังจะให้ตรวจโรคทางจิตอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น การตรวจสติปัญญาของเด็ก ซึ่งในเด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้นจะมีสติปัญญาอยู่ในเกณฑ์ปกติ อาจจะมีการสัมภาษณ์คุณพ่อ-แม่ และครู หากเด็กถูกวินิจฉัยว่าเป็นโรคสมาธิสั้น แพทย์จะให้การรักษาต่อไป

• การใช้พฤติกรรมบำบัดโดยนักจิตวิทยา ในกรณีที่เด็กมีอาการก้าวร้าวรุนแรง

• การทำกิจกรรมกลุ่มเพื่อให้เด็กได้พัฒนาทักษะทางสังคมในการอยู่ร่วมกับเพื่อนๆ

• ควรหลีกเลี่ยงไม่ให้เด็กรับประทานอาหารที่ใส่สี ใส่สารกันบูด สารแต่งกลิ่นรส หรือน้ำตาลมากเกินไป รวมถึงเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะกระตุ้นให้เด็กมีอาการสมาธิสั้นมากขึ้น

• การเลี้ยงดูเด็กโดยไม่มีกฎระเบียบที่ชัดเจน เช่น การที่พ่อแม่เร่งรีบในการทำกิจวัตรประจำวัน การให้เด็กเล่นเกมส์มากๆ หรือการปล่อยให้ดูโทรทัศน์ตลอดเวลา จะมีผลทำให้เด็กที่สมาธิสั้นอยู่แล้วมีอาการมากขึ้น และอาจทำให้เด็กปกติเกิดอาการที่เรียกว่า “สมาธิสั้นเทียม”ได้ หมายถึงว่าจากเด็กที่ไม่ค่อยอยู่นิ่งอยู่แล้วจะกลายเป็นไม่อยู่นิ่งมากขึ้น และไม่รู้จักควบคุมตนเอง ดังนั้นการจัดสิ่งแวดล้อมในบ้านให้เป็นระเบียบเรียบร้อย การตั้งกฎระเบียบภายในบ้าน และการสอนให้รู้จักการทำงานให้เป็นขั้นตอน ตามลำดับก่อนหลัง จึงเป็นสิ่งจำเป็นในการเลี้ยงดูเด็ก และนอกจากนี้พ่อแม่ยังต้องเป็นต้นแบบที่ดีให้แก่เด็ก การปรับทัศนคติที่ดีต่อเด็ก มีความเข้าใจเด็ก ให้กำลังใจ และไม่ตำหนิเด็กด้วย

• คุณครูที่โรงเรียนจะช่วยเด็กได้มากในการให้เวลากับเด็ก หาสิ่งที่เด็กชอบมาให้ทำ พร้อมทั้งให้กำลังใจ คำชมเชย และรางวัลแก่เด็ก

สมาธิสั้นหากไม่ได้รับการรักษาจะส่งผลทำให้เด็กเกิดความรู้สึกว่าตัวเองต่ำต้อย ขาดความภาคภูมิใจและความมั่นใจในตนเอง คิดว่าตัวเองมีปมด้อย ไม่เก่ง ไม่ดีเหมือนคนอื่น ความรู้สึกนึกคิดเช่นนี้จะทำให้เด็กต่อต้านสังคม ก้าวร้าว ทำตัวผิดระเบียบ บางคนอาจถึงขั้นหันไปใช้ยาเสพติดเพื่อชดเชยความรู้สึก ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าเป็นห่วงเป็นอย่างมาก ซึ่งการรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ จะช่วยให้เด็กมีอาการดีขึ้นได้

การรักษาโรคสมาธิสั้นอาจต้องใช้เวลาในการรักษาตั้งแต่วัยเด็กจนกระทั่งถึงวัยผู้ใหญ่ซึ่ง โรคสมาธิสั้นในวัยผู้ใหญ่ นอกจากจะได้รับการรักษาโดยยาแล้ว การรู้จักและยอมรับตนเองว่าเป็นโรคสมาธิสั้นและพยายามจัดระเบียบให้กับตนเองก็เป็นสิ่งสำคัญในการรักษา ซึ่งจะช่วยให้สามารถทำงานได้ อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขและอาจจะมีโอกาสได้แสดงความสามารถพิเศษในเรื่องใดเรื่องหนึ่งออกมาก็ได้ เพราะคนที่เป็นโรคสมาธิสั้นจะมีสติปัญญาปกติ จนถึงดีเลิศ ตัวอย่างบุคคลสำคัญที่ประสบความสำเร็จ ได้แก่โมสาร์ท นักประพันธ์เพลงผู้ยิ่งใหญ่ โทมัส อัลวา เอดิสัน ผู้ที่สามารถคิดค้นการทำงานของหลอดไฟที่ใช้กันในปัจจุบัน หรือแม้กระทั่ง อับบราฮัม ลินคอร์น ผู้ที่ยกเลิกระบบทาสในประเทศสหรัฐอเมริกาได้สำเร็จ บุคคลเหล่านี้ล้วนมีประวัติว่าเป็นโรคสมาธิสั้นทั้งสิ้น แต่พวกเขาเหล่านี้ได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งเขาสามารถแสดงศักยภาพที่โดดเด่นของเขาออกไปทั่วโลก

ดังนั้น สมาธิสั้นรักษาได้ โดยเฉพาะการรักษาที่เริ่มตั้งแต่ในวัยเด็กจะช่วยเหลือให้เด็กมีอาการดีขึ้นได้ โดยต้องอาศัยความร่วมมือจากพ่อแม่ และครู ร่วมมือกับแพทย์ผู้รักษา ช่วยเหลืออย่างต่อเนื่อง และพยายามทำความเข้าใจอาการของโรค ทำความเข้าใจเด็ก ลดทัศนคติที่ไม่ดี และลดคำตำหนิติเตียน รวมถึงการให้กำลังใจ ให้ความสำคัญแก่เด็ก ส่งเสริมให้เด็กมีความภาคภูมิใจในตนเอง สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้เด็กมีอาการดีขึ้นได้

นอกจากการร่วมมือช่วยเหลือกันระหว่างพ่อแม่และครูแล้ว ความเข้าใจของบุคคลในสังคมก็เป็นสิ่งสำคัญ เพราะนอกจากเราจะช่วยเหลือเด็กแล้วเรายังช่วยเหลือครอบครัวของเขาด้วย แล้วอาจจะส่งผลทำให้เด็กบางคนได้แสดงความสามารถพิเศษของเขาออกมา เขาอาจจะมีความสามารถโดดเด่นเช่น โมสาร์ทหรือบุคคลสำคัญอื่นๆ ก็เป็นได้ ซึ่งจะทำให้เกิดประโยชน์แก่สังคม และประเทศชาติต่อไปในอนาคตด้วย 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น