เด็กที่มีความบกพร่องทางการมองเห็น
เด็กที่มีความบกพร่องทางการมองเห็น
การปรับและพฤติกรรม
การปรับตัวของเด็กตาบอดจะดีหรือไม่ขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อมที่เด็กอาศัยอยู่ ได้เอื้อในเรื่องการปรับตัวมากน้อยเพียงใด นอกจากนั้นยังขึ้นอยู่กับฐานะทางเศรษฐกิจของเด็กในครอบครัว การยอมรับของสังคมและการยอมรับสภาพของตนเองถ้าเด็กได้รับการยอมรับทางสังคมมาก มีความสำเร็จส่วนตัวดี ก็สามารถทำให้เด็กปรับตัวให้อยู่ในสังคมได้ดียิ่งขึ้น
หลักการฝึกการเลี้ยงดูและส่งเสริม - การเลี้ยงดูเพื่อให้เคลื่อนไหวร่างกายอย่างคล่องแคล่ว
- การเลี้ยงดูเพื่อให้มีพัฒนาการทางอารมณ์ สังคม
- การเลี้ยงดูเพื่อส่งเสริมสติปัญญา
การป้องกันอันตราย
- ระวังเกี่ยวกับปลั๊กไฟ ความร้อนและเตาไฟ
- ของแหลม ของมีคม ของใช้ที่วางไม่เป็นที่
- การพลัดตกจากที่สูง การลื่นล้ม สิ่งที่เป็นพิษ
เด็กพิการทางการเห็น
ความหมายและประเภทของเด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็น
1. เด็กตาบอด เป็นเด็กที่สูญเสียสายตาโดยสิ้นเชิง ไม่สามารถใช้สายตาในการเรียน
2. เด็กที่มองเห็นเลือนลาง ตาบอดเป็นบางส่วน มีการมองเห็นเหลืออยู่มาก จึงมองเห็นได้ลางๆ 20 - 70 ฟุต หรือน้อยกว่านั้น ในสายตาข้างที่ดีหลังจากการช่วยเหลือแก้ไขแล้ว สามารถเรียนได้
ลักษณะอาการที่มีความผิดปกติของสายตา
1. มีอาการคันตาเรื้อรัง น้ำตาไหลอยู่เสมอ หรือมีอาการตาแดงบ่อยๆ
2. มักมองเห็นภาพซ้อน วิงเวียนศีรษะ มอไม่เห็นชัดเจนในบางครั้ง
3. เวลามองวัตถุระยะไกลๆ ต้องขยี้ตา หรือทำหน้าย่น ขมวดคิ้ว
4. เวลาเดินต้องมองอย่างระมัดระวัง หรือเดินช้าๆ โดยกลัวจะสะดุดสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ขวางหน้า
5. ไม่มีความสนใจดูภาพที่ติดตามฝาผนัง หรือข้อความที่เขียนบนกระดานดำ
6. มักขยี้ตาบ่อยๆ กระพริบตาบ่อย อ่านหนังสือได้ระยะเวลาสั้น
7. สายตาสู้แสงสว่างไม่ได้
การช่วยเหลือ การเตรียมความพร้อมด้านความคุ้นเคยกับสภาพแวดล้อมและการเคลื่อนไหว เช่น การใช้สายตา การฟังเสียง การสัมผัส การดมกลิ่น เป็นต้น
การเตรียมความพร้อมในการช่วยตนเอง เช่น การทานอาหาร การแต่งกาย
ลักษณะของคนตาบอด
คนที่จัดว่าตาบอด คือ บุคคลที่มองอะไรไม่เห็นเลย ไม่สามารถอาศัยสายตาในการศึกษาเล่าเรียนได้เป็นบุคคลที่มองเห็นได้ในระดับ 20/200 คือมองเห็นได้ในระยะ 20 ฟุต ในขณะที่คนธรรมดามองเห็นได้ในระยะ 200 ฟุต
Abel ได้จำแนกให้เห็นถึงความสามารถในการมองเห็นของคนตาบอดไว้ 5 จำพวก คือ
ตาบอดสนิท (Total Blindness) คือ คนที่มองเห็นได้ไม่มากกว่า 2/200 และไม่สามารถมองเห็นการโบกมือในระยะห่าง 3 ฟุต ได้เลย
ผู้มองเห็นได้ในระยะ 5/200 แต่ไม่สามารถนับนิ้วมือได้ในระยะห่างออกไป 1 ฟุต
ผู้มองเห็นได้ในระยะ 10/200 แต่ไม่อาจอ่านพาดหัวข่าวหนังสือพิมพ์ได้ สามารถรับรู้การเคลื่อนไหวได้บ้าง
ผู้มองเห็นได้ในระยะ 20/200 สามารถอ่านพาดหัวหนังสือพิมพ์ตัวโตๆได้ แต่อ่านได้ไม่เกิน 14 จุด
ผู้มองเห็นได้ในระยะ 20/200 สามารถอ่านได้ 10 จุด แต่ไม่สามารถใช้สายตาให้เป็นประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้
ประเภทของผู้ที่มีปัญหาทางสายตา Lowenfeld (1955) ได้จำแนกผู้บกพร่องทางสายตาออกเป็น 6 ประเภท คือ
1. พวกที่บอดสนิทโดยกำเนิดหรือบอดภายหลังอายุครบ 5 ขวบ
2. ภายหลังมีอายุ 5 ขวบไปแล้วจึงบอดสนิท
3. พวกที่มองเห็นอย่างเลือนลางมาตั้งแต่กำเนิด
4. ตาบอดไม่สนิทโดยกำเนิด
5. ตาบอดไม่สนิทแต่ต่อมาเกิดบอดสนิท
6. พวกที่พอมองเห็นบ้าง แต่ต่อมาบอดสนิท
เด็กที่มีความบกพร่องทางสายตาโดยทั่วไปจะเคลื่อนไหวช้าประสาทสัมผัสบางส่วนจะทำงานได้ดีกว่าคนปกติเช่น ประสาทหู และความสามารถด้านความจำส่วนสุขภาพโดยทั่วไปจะไม่แตกต่างจากเด็กปกติ รวมทั้งการพูดจาก็จะใช้ภาษาพูดตามปกติแต่จะเรียนการพูดได้ช้ากว่าเด็กปกติ เด็กตาบอดจะพูดเสียงดัง แต่น้ำเสียงปกติจะไม่มีการใช้มือประกอบท่าทางการพูด และเวลาพูดจะเผยอริมฝีปากเล็กน้อย
อาการที่บอกถึงความผิดปกติของสายตา (symptoms of Visual Impairment)
1. มีอาการคันตาเรื้อรัง มีน้ำตาไหลอยู่เสมอ หรือตาแดงอยู่บ่อยๆ
2. มักมองเห็นภาพซ้อน วิงเวียนศีรษะ มองเห็นไม่ชัดในบางครั้ง
3. เวลามองวัตถุไกลๆ ต้องขยี้ตา หรือทำหน้าย่นขมวดคิ้ว
4. เวลาเดินต้องมองอย่างระมัดระวังหรือเดินช้าๆ โดยกลัวจะสะดุดสิ่งที่ขวางหน้า
5. ไม่มีความสนใจดูภาพที่ติดตามฝาผนัง หรือข้อความที่เขียนบนกระดานดำ
6. มักบ่นเรื่องสายตาอยู่เสมอ
7. ไม่ชอบการทำงานที่ต้องใช้สายตา
8. กระพริบตาบ่อยๆ ขณะอ่านหนังสือ
9. วางหนังสือในลักษณะผิดปกติขณะอ่านใกล้หรือไกลเกินไป
10. ขณะอ่านต้องเอียงศีรษะ
11. อ่านหนังสือได้ในระยะเวลาสั้น
12. ขณะอ่านหนังสือต้องปิดตาข้างใดข้างหนึ่ง
13. สายตาสู้แสงสว่างไม่ค่อยได้
สาเหตุของความบกพร่องทางสายตา (Causes of Umpaired Vision)
สาเหตุโดยทั่วไปของความบกพร่องทางสายตาเกิดได้จากการใช้ยาหยอดตาพร่ำเพรื่อ ใช้เองโดยไม่ปรึกษาแพทย์ อาจเกิดเป็นต้อหินได้ อาจเกิดได้จากการเป็นโรคเนื้องอกที่ตาหรือได้รับบาดเจ็บที่ตาอันมาจากอุบัติเหตุต่างๆ หรืออาจเกิดจากสาเหตุอื่นๆ ซึ่งพอสรุปได้ สาเหตุใหญ่ๆ ด้วยกันคือ
- เกิดจากการได้รับบาดเจ็บเกี่ยวกับตา
- เกิดจากพันธุกรรม
Kerby (1958) ได้ศึกษาพบว่าเด็กตาบอดประมาณ 14 - 15 % มีสาเหตุมาจากพันธุกรรมสาเหตุของความบกพร่องทางสายตา อันเกิดจากพันธุกรรมนั้น ได้แก่ ความผิดปกติของดวงตา ทำให้กลายเป็นคนสายตาสั้นหรือสายตายาวได้
การปรับตัวส่วนตัวและการปรับตัวทางสังคมของเด็กตาบอด (Personal and Social Adjustment)
การปรับตัวของเด็กตาบอดไม่ว่าจะเป็นด้านส่วนตัวหรือทางสังคมขึ้นอยู่กับฐานะทางเศรษฐกิจของเด็กแต่ละคน คือ เด็กที่มีฐานะดี ก็จะได้รับการเลี้ยงดูอย่างดี ส่วนเด็กที่ครอบครัวยากจน ขาดความอบอุ่น ตามปกติ เด็กตาบอดมักจะไม่คิดว่าตนเองอยู่ในโลกมืดไม่เศร้าเสียใจ กับความบกพร่องทางสายตาของตนเท่าไรนัก มีบางคนเท่านั้นที่มีความรู้สึกหดหู่ที่มองไม่เห็นเนื่องมาจากได้ยินคำบอกเล่าหรือคำพูดเปรียบเทียบ ความสุขของเด็กตาบอดขึ้นอยู่กับ 3 ประการ คือ 1. การยอมรับของสังคม
2. ความสำเร็จส่วนตัว
3. การยอมรับสภาพของตน
การเป็นอยู่ของคนตาบอดมักไม่เกี่ยวข้องกับคนปกติมากนัก กิจกรรมของพวกเขามักเป็นกิจกรรมซ้ำๆ เช่น การร้องเพลง คนตาบอดมักร้องเพลงได้ดี คนปกติทั่วไปมักเข้าใจว่า คนตาบอดจะสติปัญญาทึบ หรือมีลักษระเป็นคนไร้ความสามารถซึ่งความจริงแล้วไม่เป็นเช่นนั้นเลย พัฒนาการทางด้านร่างกาย ความบกพร่องทางสายตาไม่ได้มีอิทธิพลต่อความเจริญเติบโตของเด็ก นำหนัก ส่วนสูง เหมือนคนปกติจะเสียเปรียบตรงที่การกระทำที่ต้องใช้ทักษะต่างๆ ซึ่งคนตาบอดมักได้รับการฝึกฝนใช้กล้ามเนื้อส่วนต่างๆ การมองไม่เห็น ทำให้เด็กคลานช้า เดินช้า และขาดการฝีกฝนในกิจกรรมที่ต้องใช้ความรวดเร็วทุกชนิดเช่น การขี่จักรยาน การเล่นฟุตบอล หรือกีฬาอื่นๆ
พัฒนาการทางสมอง
เด็กตาบอดจะเสียเปรียบเพราะขาดการรับรู้ทางสายตา เป็นเหตุให้พัฒนาการทางสมองช้าไปด้วย แต่ความสามารถทางสมองของพวกเขาไม่ได้ลดหรือเพิ่ม อันเนื่องมาจากการมองไม่เห็นแต่อย่างใด เพียงแต่สติปัญญาของเด็กตาบอดไม่อาจพัฒนาได้ดีได้จนถึงที่สุดเท่านั้น ได้ทำการทดสอบวัดของเด็กตาบอดจากโรงเรียนต่างๆ สรุปไว้ว่า เด็กตาบอดนั้นยังคงมีความสามารถทางสมองเป็นปกติ
พัฒนาทางการทางอารมณ์
เด็กตาบอดมีความต้องการเช่นเดียวกับคนปกติทุกประการ แต่จะมีช่วงที่สร้างความปั่นป่วนให้คนตาบอดมากคือ เมื่อต้องพึ่งพาผู้อื่นในด้านสายตาเพราะเขาทำเองไม่ได้ ิต่อมาระยะที่เขาจำเป็นต้องหางานทำ ความวิตกกังวลในการดำรงชีวิตต่อไปโดยให้ได้รับความปลอดภัย และเกิดเป็นความหวาดกลัวที่จะไปไหนมาไหน กลัวอันตรายต่างๆ
พัฒนาการทางสังคม
การมองไม่เห็นมีอิทธิพลต่อพัฒนาการทางสังคมของเด็กตาบอดมาก พวกเขาต้องการที่จะเรียนรู้ประสบการณ์ต่างๆ มากกว่าเด็กธรรมดาเพื่อเขาจะได้ไม่ว้าเหว่ ต้องการเรียนรู้การเป็นผู้ให้และผู้รับด้วยเพื่อทำให้อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขเช่นเดียวกับเด็กทั่วไป
การปรับและพฤติกรรม
การปรับตัวของเด็กตาบอดจะดีหรือไม่ขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อมที่เด็กอาศัยอยู่ ได้เอื้อในเรื่องการปรับตัวมากน้อยเพียงใด นอกจากนั้นยังขึ้นอยู่กับฐานะทางเศรษฐกิจของเด็กในครอบครัว การยอมรับของสังคมและการยอมรับสภาพของตนเองถ้าเด็กได้รับการยอมรับทางสังคมมาก มีความสำเร็จส่วนตัวดี ก็สามารถทำให้เด็กปรับตัวให้อยู่ในสังคมได้ดียิ่งขึ้น
หลักการฝึกการเลี้ยงดูและส่งเสริม - การเลี้ยงดูเพื่อให้เคลื่อนไหวร่างกายอย่างคล่องแคล่ว
- การเลี้ยงดูเพื่อให้มีพัฒนาการทางอารมณ์ สังคม
- การเลี้ยงดูเพื่อส่งเสริมสติปัญญา
การป้องกันอันตราย
- ระวังเกี่ยวกับปลั๊กไฟ ความร้อนและเตาไฟ
- ของแหลม ของมีคม ของใช้ที่วางไม่เป็นที่
- การพลัดตกจากที่สูง การลื่นล้ม สิ่งที่เป็นพิษ
เด็กพิการทางการเห็น
ความหมายและประเภทของเด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็น
1. เด็กตาบอด เป็นเด็กที่สูญเสียสายตาโดยสิ้นเชิง ไม่สามารถใช้สายตาในการเรียน
2. เด็กที่มองเห็นเลือนลาง ตาบอดเป็นบางส่วน มีการมองเห็นเหลืออยู่มาก จึงมองเห็นได้ลางๆ 20 - 70 ฟุต หรือน้อยกว่านั้น ในสายตาข้างที่ดีหลังจากการช่วยเหลือแก้ไขแล้ว สามารถเรียนได้
ลักษณะอาการที่มีความผิดปกติของสายตา
1. มีอาการคันตาเรื้อรัง น้ำตาไหลอยู่เสมอ หรือมีอาการตาแดงบ่อยๆ
2. มักมองเห็นภาพซ้อน วิงเวียนศีรษะ มอไม่เห็นชัดเจนในบางครั้ง
3. เวลามองวัตถุระยะไกลๆ ต้องขยี้ตา หรือทำหน้าย่น ขมวดคิ้ว
4. เวลาเดินต้องมองอย่างระมัดระวัง หรือเดินช้าๆ โดยกลัวจะสะดุดสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ขวางหน้า
5. ไม่มีความสนใจดูภาพที่ติดตามฝาผนัง หรือข้อความที่เขียนบนกระดานดำ
6. มักขยี้ตาบ่อยๆ กระพริบตาบ่อย อ่านหนังสือได้ระยะเวลาสั้น
7. สายตาสู้แสงสว่างไม่ได้
การช่วยเหลือ การเตรียมความพร้อมด้านความคุ้นเคยกับสภาพแวดล้อมและการเคลื่อนไหว เช่น การใช้สายตา การฟังเสียง การสัมผัส การดมกลิ่น เป็นต้น
การเตรียมความพร้อมในการช่วยตนเอง เช่น การทานอาหาร การแต่งกาย
ลักษณะของคนตาบอด
คนที่จัดว่าตาบอด คือ บุคคลที่มองอะไรไม่เห็นเลย ไม่สามารถอาศัยสายตาในการศึกษาเล่าเรียนได้เป็นบุคคลที่มองเห็นได้ในระดับ 20/200 คือมองเห็นได้ในระยะ 20 ฟุต ในขณะที่คนธรรมดามองเห็นได้ในระยะ 200 ฟุต
Abel ได้จำแนกให้เห็นถึงความสามารถในการมองเห็นของคนตาบอดไว้ 5 จำพวก คือ
ตาบอดสนิท (Total Blindness) คือ คนที่มองเห็นได้ไม่มากกว่า 2/200 และไม่สามารถมองเห็นการโบกมือในระยะห่าง 3 ฟุต ได้เลย
ผู้มองเห็นได้ในระยะ 5/200 แต่ไม่สามารถนับนิ้วมือได้ในระยะห่างออกไป 1 ฟุต
ผู้มองเห็นได้ในระยะ 10/200 แต่ไม่อาจอ่านพาดหัวข่าวหนังสือพิมพ์ได้ สามารถรับรู้การเคลื่อนไหวได้บ้าง
ผู้มองเห็นได้ในระยะ 20/200 สามารถอ่านพาดหัวหนังสือพิมพ์ตัวโตๆได้ แต่อ่านได้ไม่เกิน 14 จุด
ผู้มองเห็นได้ในระยะ 20/200 สามารถอ่านได้ 10 จุด แต่ไม่สามารถใช้สายตาให้เป็นประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้
ประเภทของผู้ที่มีปัญหาทางสายตา Lowenfeld (1955) ได้จำแนกผู้บกพร่องทางสายตาออกเป็น 6 ประเภท คือ
1. พวกที่บอดสนิทโดยกำเนิดหรือบอดภายหลังอายุครบ 5 ขวบ
2. ภายหลังมีอายุ 5 ขวบไปแล้วจึงบอดสนิท
3. พวกที่มองเห็นอย่างเลือนลางมาตั้งแต่กำเนิด
4. ตาบอดไม่สนิทโดยกำเนิด
5. ตาบอดไม่สนิทแต่ต่อมาเกิดบอดสนิท
6. พวกที่พอมองเห็นบ้าง แต่ต่อมาบอดสนิท
เด็กที่มีความบกพร่องทางสายตาโดยทั่วไปจะเคลื่อนไหวช้าประสาทสัมผัสบางส่วนจะทำงานได้ดีกว่าคนปกติเช่น ประสาทหู และความสามารถด้านความจำส่วนสุขภาพโดยทั่วไปจะไม่แตกต่างจากเด็กปกติ รวมทั้งการพูดจาก็จะใช้ภาษาพูดตามปกติแต่จะเรียนการพูดได้ช้ากว่าเด็กปกติ เด็กตาบอดจะพูดเสียงดัง แต่น้ำเสียงปกติจะไม่มีการใช้มือประกอบท่าทางการพูด และเวลาพูดจะเผยอริมฝีปากเล็กน้อย
อาการที่บอกถึงความผิดปกติของสายตา (symptoms of Visual Impairment)
1. มีอาการคันตาเรื้อรัง มีน้ำตาไหลอยู่เสมอ หรือตาแดงอยู่บ่อยๆ
2. มักมองเห็นภาพซ้อน วิงเวียนศีรษะ มองเห็นไม่ชัดในบางครั้ง
3. เวลามองวัตถุไกลๆ ต้องขยี้ตา หรือทำหน้าย่นขมวดคิ้ว
4. เวลาเดินต้องมองอย่างระมัดระวังหรือเดินช้าๆ โดยกลัวจะสะดุดสิ่งที่ขวางหน้า
5. ไม่มีความสนใจดูภาพที่ติดตามฝาผนัง หรือข้อความที่เขียนบนกระดานดำ
6. มักบ่นเรื่องสายตาอยู่เสมอ
7. ไม่ชอบการทำงานที่ต้องใช้สายตา
8. กระพริบตาบ่อยๆ ขณะอ่านหนังสือ
9. วางหนังสือในลักษณะผิดปกติขณะอ่านใกล้หรือไกลเกินไป
10. ขณะอ่านต้องเอียงศีรษะ
11. อ่านหนังสือได้ในระยะเวลาสั้น
12. ขณะอ่านหนังสือต้องปิดตาข้างใดข้างหนึ่ง
13. สายตาสู้แสงสว่างไม่ค่อยได้
สาเหตุของความบกพร่องทางสายตา (Causes of Umpaired Vision)
สาเหตุโดยทั่วไปของความบกพร่องทางสายตาเกิดได้จากการใช้ยาหยอดตาพร่ำเพรื่อ ใช้เองโดยไม่ปรึกษาแพทย์ อาจเกิดเป็นต้อหินได้ อาจเกิดได้จากการเป็นโรคเนื้องอกที่ตาหรือได้รับบาดเจ็บที่ตาอันมาจากอุบัติเหตุต่างๆ หรืออาจเกิดจากสาเหตุอื่นๆ ซึ่งพอสรุปได้ สาเหตุใหญ่ๆ ด้วยกันคือ
- เกิดจากการได้รับบาดเจ็บเกี่ยวกับตา
- เกิดจากพันธุกรรม
Kerby (1958) ได้ศึกษาพบว่าเด็กตาบอดประมาณ 14 - 15 % มีสาเหตุมาจากพันธุกรรมสาเหตุของความบกพร่องทางสายตา อันเกิดจากพันธุกรรมนั้น ได้แก่ ความผิดปกติของดวงตา ทำให้กลายเป็นคนสายตาสั้นหรือสายตายาวได้
การปรับตัวส่วนตัวและการปรับตัวทางสังคมของเด็กตาบอด (Personal and Social Adjustment)
การปรับตัวของเด็กตาบอดไม่ว่าจะเป็นด้านส่วนตัวหรือทางสังคมขึ้นอยู่กับฐานะทางเศรษฐกิจของเด็กแต่ละคน คือ เด็กที่มีฐานะดี ก็จะได้รับการเลี้ยงดูอย่างดี ส่วนเด็กที่ครอบครัวยากจน ขาดความอบอุ่น ตามปกติ เด็กตาบอดมักจะไม่คิดว่าตนเองอยู่ในโลกมืดไม่เศร้าเสียใจ กับความบกพร่องทางสายตาของตนเท่าไรนัก มีบางคนเท่านั้นที่มีความรู้สึกหดหู่ที่มองไม่เห็นเนื่องมาจากได้ยินคำบอกเล่าหรือคำพูดเปรียบเทียบ ความสุขของเด็กตาบอดขึ้นอยู่กับ 3 ประการ คือ 1. การยอมรับของสังคม
2. ความสำเร็จส่วนตัว
3. การยอมรับสภาพของตน
การเป็นอยู่ของคนตาบอดมักไม่เกี่ยวข้องกับคนปกติมากนัก กิจกรรมของพวกเขามักเป็นกิจกรรมซ้ำๆ เช่น การร้องเพลง คนตาบอดมักร้องเพลงได้ดี คนปกติทั่วไปมักเข้าใจว่า คนตาบอดจะสติปัญญาทึบ หรือมีลักษระเป็นคนไร้ความสามารถซึ่งความจริงแล้วไม่เป็นเช่นนั้นเลย พัฒนาการทางด้านร่างกาย ความบกพร่องทางสายตาไม่ได้มีอิทธิพลต่อความเจริญเติบโตของเด็ก นำหนัก ส่วนสูง เหมือนคนปกติจะเสียเปรียบตรงที่การกระทำที่ต้องใช้ทักษะต่างๆ ซึ่งคนตาบอดมักได้รับการฝึกฝนใช้กล้ามเนื้อส่วนต่างๆ การมองไม่เห็น ทำให้เด็กคลานช้า เดินช้า และขาดการฝีกฝนในกิจกรรมที่ต้องใช้ความรวดเร็วทุกชนิดเช่น การขี่จักรยาน การเล่นฟุตบอล หรือกีฬาอื่นๆ
พัฒนาการทางสมอง
เด็กตาบอดจะเสียเปรียบเพราะขาดการรับรู้ทางสายตา เป็นเหตุให้พัฒนาการทางสมองช้าไปด้วย แต่ความสามารถทางสมองของพวกเขาไม่ได้ลดหรือเพิ่ม อันเนื่องมาจากการมองไม่เห็นแต่อย่างใด เพียงแต่สติปัญญาของเด็กตาบอดไม่อาจพัฒนาได้ดีได้จนถึงที่สุดเท่านั้น ได้ทำการทดสอบวัดของเด็กตาบอดจากโรงเรียนต่างๆ สรุปไว้ว่า เด็กตาบอดนั้นยังคงมีความสามารถทางสมองเป็นปกติ
พัฒนาทางการทางอารมณ์
เด็กตาบอดมีความต้องการเช่นเดียวกับคนปกติทุกประการ แต่จะมีช่วงที่สร้างความปั่นป่วนให้คนตาบอดมากคือ เมื่อต้องพึ่งพาผู้อื่นในด้านสายตาเพราะเขาทำเองไม่ได้ ิต่อมาระยะที่เขาจำเป็นต้องหางานทำ ความวิตกกังวลในการดำรงชีวิตต่อไปโดยให้ได้รับความปลอดภัย และเกิดเป็นความหวาดกลัวที่จะไปไหนมาไหน กลัวอันตรายต่างๆ
พัฒนาการทางสังคม
การมองไม่เห็นมีอิทธิพลต่อพัฒนาการทางสังคมของเด็กตาบอดมาก พวกเขาต้องการที่จะเรียนรู้ประสบการณ์ต่างๆ มากกว่าเด็กธรรมดาเพื่อเขาจะได้ไม่ว้าเหว่ ต้องการเรียนรู้การเป็นผู้ให้และผู้รับด้วยเพื่อทำให้อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขเช่นเดียวกับเด็กทั่วไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น