วันเสาร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

เด็กที่มีความบกพร่องทางการสื่อสาร


เด็กอัจฉริยะ เด็กปรีชาญาณ เด็กเก่ง และคำสุดท้ายที่นำมาใช้ในวงการศึกษา คือ เด็กปัญญาเลิศคำภาษาอังกฤษที่ใช้ในวงการนี้มีหลายคำเช่นกัน เช่น
Gifted หมายถึง ผู้ที่มีความฉลาดเฉลียวหรือผู้มีปัญญาเลิศ
Talented หมายถึง ผู้ที่มีความสามารถเฉพาะทาง เช่น ด้านดนตรี ศิลปะ กีฬา
Genius หมายถึง ผู้ที่ระดับสติปัญญาสูง มีผลงานการประดิษฐ์คิดค้นทางวิทยาศาสตร์มากมาย
เด็กปัญญาเลิศ หมายถึง เด็กที่มีความสามารถทางสมองสูงกว่าเด็กทั่วไป
เป็นเด็กที่มีระดับสติปัญญาที่วัดได้จากการทดสอบมาตรฐานมีค่าเฉลี่ยเบี่ยงเบนมาตรฐานสูงกว่าค่าเฉลี่ยตั้งแต่ 2 ขึ้นไป
แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มย่อย ดังนี้
1. เด็กที่มีระดับสติปัญญาสูง คือ กลุ่มเด็กที่มี ระดับสติปัญญา (IQ) ตั้งแต่ 130 ขึ้นไป
2. เด็กที่มีความสามารถพิเศษเฉพาะด้าน อาจไม่ใช่เด็กที่มีระดับสติปัญญาสูง แต่มีความสามารถพิเศษเฉพาะด้านที่โดดเด่นกว่าคนอื่นในวัยเดียวกันอาจเป็นด้าน
คณิตศาสตร์ - ตรรกศาสตร์การใช้ภาษา ศิลปะ ดนตรี กีฬา การแสดง ฯลฯ
3. เด็กที่มีความคิดสร้างสรรค์
ลักษณะบางอย่างที่พอสังเกตได้ คือ เด็กปัญญาเลิศเป็นเด็กที่มีสติปัญญาสูง มีความเฉลียวฉลาดกว่าเด็กทั่วไป
ความฉลาดได้ส่อแววมาตั้งแต่ในวัยเด็กเล็กเด็กอาจจะเดินได้วิ่งได้ตั้งแต่อายุยังน้อย มีพัฒนาการล้ำหน้ากว่าเด็กอื่นในวัยเดียวกัน
เรียนรู้ได้รวดเร็วหากมีการทดสอบทางด้านสติปัญญาหรือความถนัด เด็กเหล่านี้จะได้คะแนนสูงกว่าเด็กทั่วไป เด็กปัญญาเลิศมักจะเก่งในด้านต่อไปนี้
1. ด้านภาษา เช่น พูดเก่ง, ใช้ศัพท์สูง, อ่านหนังสือได้ไม่ว่าจะเป็นหนังสือที่ใช้เรียนในระดับชั้นของตนหรือหนังสือที่ใช้เรียนในชั้นที่สูงกว่า
2. ด้านความคิดรวบยอด เช่น เป็นคนช่างสังเกต, มีความจำเป็นเยี่ยม
3. ด้านสังคม เช่น แสดงออกซึ่งความเป็นผู้นำ, มีอารมณ์ขันอย่างมีเหตุผลและเหมาะสม
4. ด้านบุคลิกภาพ เช่น มีพละกำลังมากมายทั้งในด้านร่างกาย, พลังสมองและความคิด, มีจุดมุ่งหมายในการทำงานและในชีวิตมีช่วงความสนใจยาว 1 / 1

บุคคลพิการซ้ำซ้อน

บุคคลพิการซ้ำซ้อน หมายถึง คนที่มีความบกพร่องหรือความพิการมากกว่าหนึ่งประเภทในบุคคลคนเดียวกัน เช่น คนปัญญาอ่อนที่สูญเสียการได้ยิน เป็นต้น
ลักษณะความพิการบุคคลพิการซ้ำซ้อน
1.มีปัญหาในการช่วยเหลือตนเอง เช่น การแต่งตัว การรับประทานอาหาร การขับถ่ายอย่างถูกต้อง
2.มีปัญหาในการสื่อสาร เช่น ไม่สามารถบอกความต้องการของตนเอง ไม่เข้าใจเมื่อผู้อื่นสื่อสาร
3.มีปัญหาในการเคลื่อนไหว เช่น ไม่สามารถเดินหรือวิ่งได้ด้วยตนเอง
4.มีปัญหาทางพฤติกรรม เช่น โยกตัวไปมา ทำร้ายตนเอง
5.มีปัญหาทางสังคม จะมีปัญหาในการสร้างปฏิสัมพันธ์กันผู้อื่น บางคนไม่ปฏิกิริยาใด ๆต่อสิ่งที่อยู่รอบตัว ไม่ได้ยินดียินร้ายกับสิ่งแวดล้อม

บุคคลออทิสติก ( Autistic Disorder )

บุคคลออทิสติก ( Autistic Disorder ) หรือ ออทิสซึม (Autism ) เป็นโรคทางจิตเวช ที่สามารถวินิจฉัยได้ตั้งแต่วัยเด็กเล็ก ซึ่งยังไม่สามารถหาสาเหตุของโรคได้ชัดเจน โดยเด็กจะมีลักษณะชอบแยกตัวอยู่ตามลำพังคล้ายมีโลกของตัวเอง ขาดการรับรู้จากสิ่งแวดล้อมรอบตัว โดยจะพบความผิดปกติ 4 ด้าน คือ

1.พฤติกรรมซ้ำๆ

2.พัฒนาการด้านสังคมผิดปกติ

3.พัฒนาการด้านการสื่อความหมาย การพูด การใช้ภาษาผิดปกติ

4.ขาดจินตนาการ

สาเหตุ เชื่อว่ามีสาเหตุทางชีวภาพ เช่น กรรมพันธุ์ ความผิดปกติทางสมอง ภาวะการตั้งครรภ์ และการคลอดที่ผิดปกติ

เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา

คำจำกัดความ

บุคคลที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา โดยทั่วไปแล้วจะใช้ที่คะแนนจากแบบทดสอบ ทางเชาว์ปัญญา (IQ TEST) เป็นตัวบ่งชี้บุคคลโดยทั่ว ๆ ไปจะมีระดับเชาว์ปัญญา (IQ) อยู่ ระหว่าง 90-109 หรือ 90-110 หากมีระดับเชาว์ปัญญา (IQ) สูงกว่า 110 ขึ้นไป จัดว่าเป็นจัดว่าเป็นบุคคลที่ค่อนข้างฉลาด (bright) ไปจนถึงฉลาดมาก (very Superior) และถ้ามีระดับเชาว์ปัญญา (IQ) ต่ำกว่า 90 ลงมา ถือว่าเป็นบุคคลบกพร่องทางสติปัญญา แต่อย่างไรก็ตามการใช้ระดับเชาว์ปัญญาก็อาจจะไม่เพียงพอ ต้องพิจารณาระดับความสามารถด้านอื่นๆ

เด็กที่มีความบกพร่องทางการพูด และภาษา


เด็กที่มีความบกพร่องทางการพูด หมายถึง เด็กที่มีความบกพร่องซึ่งเกิดจาก การพูดผิดปกติ ในด้านความชัดเจนในการปรับปรุงแต่งระดับและคุณภาพของเสียง จังหวะและขั้นตอนของเสียงพูด ความบกพร่องทางการพูดพิจารณาได ้ 3 ด้าน ดังนี้ 1. ความบกพร่องในด้านการปรุงเสียง (Articulator Disorders) แบ่งเป็น 4 ลักษณะ คือ 1.1 เสียงบางส่วนของคำขาดหายไป เช่น "ความ" เป็น "คาม" เป็นต้น 1.2 ออกเสียงของตัวอื่นแทนตัวที่ถูกต้อง เช่น "กิน" "จิน" เป็นต้น 1.3 เพิ่มเสียงที่ไม่ใช่สียงที่ถูกต้องลงไปด้วย เช่น "หกล้ม" เป็น "หก-กะ-ล้ม" 1.4 เสียงเพี้ยนหรือเปล่งไป เช่น "แล้ว" เป็น "แล่ว" ทั้งนี้จะต้องพิจารณาว่าความบกพร่องเหล่านี้เกิดขึ้นบ่อยๆ เป็นประจำหรือไม่ ขนบธรรมเนียมหรือประเพณีของผู้พูดเป็นอย่างนั้นหรือไม่ ถ้าเกิดขึ้นนานๆ ครั้ง และเป็น วัฒนธรรมของผู้พูดก็ไม่ถือว่าผิดปกติ เช่น คนภาคใต้เรียกแมงกะพรุนว่า แมงพุนก็ไม่ถือว่า ผิดปกติแต่อย่างใด 2. ความบกพร่องของเสียงพูด (Voice Disorders) แบ่งเป็น 3 ลักษณะ คือ 2.1 ความบกพร่องของระดับเสียง เช่น เสียงสูงหรือต่ำตลอดเวลา หรือเสียงที่พูด อยู่ในระดับเดียวตลอด เสียงพูดผิดเพศ ผิดวัย 2.2 เสียงดังหรือค่อยเกินไป คล้ายๆ กับตะโกน หรือกระซิบอยู่ตลอดเวลา 2.3 คุณภาพของเสียงไม่ดี เช่น เสียงแตกพร่า เสียงกระด้าง เสียงแหบแห้ง ตลอดเวลา เป็นต้น 3. ความบกพร่องของจังหวะและขั้นตอนของเสียงพูด (Speech Flow Disorders)

บุคคลบกพร่องร่างกายหรือสุขภาพ


ความหมาย

บุคคลที่มีความบกพร่องทางด้านร่างกาย หรือสุขภาพ หมายถึง บุคคลที่มีอวัยวะ ไม่สมส่วน อวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งหรือหลายส่วนขาดหายไป

กระดูกและกล้ามเนื้อพิการ เจ็บป่วยเรื้อรังรุนแรงมีความพิการของระบบประสาท มีความลำบากในการเคลื่อนไหว ซึ่ง อุปสรรคต่อการศึกษาในสภาพปกติ
คำจำกัดความ

เด็กที่มีปัญหาทางพฤติกรรมหรืออารมณ์ หมายถึง เด็กที่แสดงพฤติกรรมหรืออารมณ์ ที่เบี่ยงเบนไปจากเด็กทั่วไปในวัยเดียวกันเป็นอย่างมาก แม้จะได้รับบริการทางการแนะแนว และการให้คำปรึกษาแล้ว ก็ยังมีความบกพร่องทางพฤติกรรมหรืออารมณ์อยู่ในขั้นรุนแรง และเป็นไปอย่างต่อเนื่อง พฤติกรรมที่เบี่ยงเบนนี้ส่งผลกระทบต่อการเรียนของเด็กและผู้อื่น ทำให้เด็กไม่สามารถเรียนรู้ได้อย่างที่ควรจะเป็น ขาดปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้างมีความเก็บ กดทางอารมณ์ และแสดงออกทางพฤติกรรมในลักษณะที่รุนแรงไม่เหมาะสมไม่เป็นที่ยอมรับ ของสังคมและวัฒนธรรม ทั้งนี้เป็นผลมาจากความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในตัวของเด็กเอง และ ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นกับเด็กกับสภาพแวดล้อมรอบกาย
ความหมายของเด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็นดร. ผดุง อารยะวิญญู ได้ให้ความหมายว่า เด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็น หมายถึง เด็กตาบอด หรือตาบอดบางส่วน กล่าวคือ เด็กตาบอด( blind ) หมายถึง เด็กที่มีสายตาเหลืออยู่น้อยมาก หรือไม่มีเลยแม้จะได้รับ การแก้ไขแล้ว จึงไม่สามารถใช้สายตาในการเรียนหนังสือได้และเป็นผู้ที่มีสายตา ภายหลัง การแก้ไขแล้วอยู่ในระหว่าง 20/200 - เด็กตาบอดบางส่วน( partially blind ) หมายถึง เด็กที่มีสายตาบกพร่องแต่ภายหลังจากการแก้ไขแล้วสามารถมองเห็นได้บ้าง จึงสามารถใช้สายตาในการเรียนหนังสือได้บ้างเป็นผู้ที่มีสายตาภายหลังการแก้ไขอยู่ระหว่าง 20/70

คณะอนุกรรมการคัดเลือกและจำแนกความพิการเพื่อการศึกษาได้ให้ความหมาย ของเด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็นว่า เด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็น หมายถึง เด็กที่สูญเสียการเห็นตั้งแต่ระดับเล็กน้อย จนถึงตาบอดสนิท แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. เด็กตาบอด( blind ) หมายถึง เด็กที่สูญเสียการเห็นมากจนต้องสอนให้อ่านอักษรเบรลล์ หรือใช้วิธีการฟังเทปหรือแผ่นเสียง
2. เด็กเห็นเลือนราง( low vision ) หมายถึง เด็กที่สูญเสียการเห็นแต่ยังสามารถอ่านอักษร ตัวพิมพ์ที่ขยายใหญ่ได้หรือต้องใช้แว่นขยายอ่าน

เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน


ความหมายของเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน
บุคคลที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน หมายถึง บุคคลที่บกพร่องหรือสูญเสียทางการ ได้ยินเป็นเหตุให้การรับฟังเสียงต่างๆ ได้ ไม่ชัดเจน ตั้งแต่ระดับรุนแรงถึงระดับน้อย อาจแบ่งได้ เ
ป็น 2 ประเภท
คือ เด็กหูและเด็กหูตึง
เด็กหูหนวก หมายถึง เด็กที่สูญเสียการได้ยินมากจนไม่สามารถเข้าใจ หรือใช้ภาษาพูดได้ หากไม่ได้รับการฝึกฝนเป็นพิเศษ และถ้าวัดระดับการได้ยินที่ 500 - 2000 จะมีการพูดตอบสนอง ของหูข้างที่ดีกว่าต่อเสียงบริสุทธิ์ตั้งแต่ 91 dB ขึ้นไป
เด็กหูตึง หมายถึง เด็กที่สูญเสียการได้ยินจนไม่สามารถเข้าใจคำพูดและการสนทนา ซึ่ง จำแนกตามเกณฑ์การพิจารณา อัตราการของหูของสมาคมโสต ศอ นาสิก แพทย์แห่งประเทศไทย โดยใช้ค่าเฉลี่ยการได้ยินที่ความถี่ 500, 1000 และ 2000 ในหูข้างที่ดีกว่า

เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้


คำจำกัดความ คณะอนุกรรมการคัดเลือก และจำแนกความพิการเพื่อการศึกษาของกระทรวง- ศึกษาธิการ (พ.ศ.2543) ได้ให้คำจำกัดความของบุคคลที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ ไว้ว่า “ บุคคลที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ หมายถึง บุคคลที่ความบกพร่องเกี่ยวกับกระบวน การทางจิตวิทยา ความบกพร่องเกี่ยวกับการใช้ภาษาของเด็ก ทั้งภาษาพูดและภาษาเขียน บุคคล เหล่านี้อาจมีปัญหาทางด้านการฟัง การคิด การพูดคุยกับผู้อื่น การอ่าน การสะกดคำ หรือการเรียนวิชาคณิตศาสตร รวมไปถึงผู้ที่มีความบกพร่องทางการรับรู้การได้รับบาดเจ็บ ทางสมอง ดิสเล็กเซีย (Dyslexsia) , ดิสกราเซีย (Dysgraphia) และ อะฟาเซีย (Aphasia) แต่ไม่รวมถึงความบกพร่องทางการได้ยิน ทางการเคลื่อนไหว ทางสติปัญญา ปัญหาทาง อารมณ์ และความเสียเปรียบทางสังคม ” ดังนั้นเมื่อพูดถึง บุคคลหรือเด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ หรือ LD นักจิตวิทยาและ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น