การประยุกต์ใช้ IPG model ในโรงเรียน
The importance of play in Children’s Development
เด็กออทิสติกมีลักษณะที่ขัดขวางต่อพัฒนาการทางการเล่น คือ
Description of Integrated Play Groups
Composition and Structure of IPGs (ส่วนประกอบและโครงสร้างของ IPG)
Guided Paticipation in IPGs (การชี้แนะการปฏิสัมพันธ์ใน IPGs)
IPG ใช้การสนับสนุนจากผู้ใหญ่อยู่ 3 ระดับ คือ
Benefits of the IPG approach (ประโยชน์ของ IPG approach)
มอนเตสซอรี่ หลักสูตรการเรียนที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ
ถ้าจะพูดถึงข่าวคราวการศึกษาในประเทศไทยที่มีการสำรวจจากต่างประเทศออกมาแล้วว่า เด็กไทยเรียนหนังสือหนักเป็นอันต้น ๆ ของโลก แต่แทนที่เด็กไทยจะมีผลการทดสอบทางวิชาการที่ดี กลับกลายเป็นคะแนนตกต่ำลงทุกวัน ซึ่งส่วนหนึ่งนั้นอาจเป็นผลจากการจัดระบบการเรียนการสอนที่ไม่สอดคล้องกับความต้องการของเด็ก วันนี้กระปุกดอทคอมเลยขอนำเสนอหลักสูตรการเรียนการสอนที่มีจุดมุ่งหมายในการให้การศึกษาเป็นการปลูกฝังให้เด็กได้เจริญเติบโตไปตามความต้องการตามธรรมชาติ หรือที่เรียกว่า หลักสูตรมอนเตสซอรี่
หลักสูตรมอนเตสซอรี่ คืออะไร?
คงเป็นคำถามที่หลายคนสงสัย...หลักสูตรนี้คือการจัดการเรียนการสอนที่มีแนวคิดคำนึงถึงความสนใจ ความต้องการและความมุ่งมั่นตั้งใจในการเรียนรู้ รวมทั้งแก้ไขข้อผิดพลาดด้วยตนเองของเด็กเพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างอิสระในขอบเขตที่กำหนดไว้ให้ ได้ใช้จิตในการซึมซับสิ่งแวดล้อมรอบตัว จนเกิดความอยากรู้ อยากเห็น และแสวงหาความรู้อย่างมีสมาธิ มีวินัยในตนเอง ให้เด็กเกิดการพัฒนาการทุก ๆ ด้านไปในเวลาเดียวกัน
ที่มาของหลักสูตร มอนเตสซอรี่
โดยหลักสูตรมอนเตสซอรี่ เกิดขึ้นจากการที่ ดร.มาเรีย มอนเตสซอรี่ แพทย์หญิงคนแรกชาวอิตาลี ได้ทำงานกับเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา จึงค้นพบว่า ได้สังเกตเด็กในสภาพที่เป็นจริงของเด็ก ไม่ใช่สภาพที่ผู้ใหญ่ต้องการให้เด็กเป็นและควรเอาใจใส่ดูแลเด็กมากกว่าสนใจเรื่องเหตุทางการแพทย์ จึงได้พัฒนาวิธีการสอน การจัดเตรียมสิ่งแวดล้อม และอุปกรณ์การสอนต่างๆ ขึ้นมาใช้ เพื่อช่วยให้เด็กมีพัฒนาการทางสติ ปัญญา และอารมณ์ โดยเริ่มต้นจากการทดลองที่โรงเรียนที่มอนเตสซอรี่เข้าไปรับผิดชอบ ที่เรียกว่า Casa Dei Bambini หรือ Children's House แล้ววิธีการสอนนี้จึงได้แพร่หลายต่อไปจนทั่วโลกเช่นในปัจจุบัน
สำหรับการสอนเด็กโดยใช้หลักสูตรมอนเตสซอรี่นั้น จะเน้นเรื่องความต้องการของเด็กในการเรียน จึงต้องมีการเตรียมสิ่งแวดล้อม จัดห้องเรียนให้เหมาะสมกับวัยของเด็ก ต้องมีพื้นที่ว่างสำหรับให้เด็กได้ทำงานทั้งบนเก้าอี้ บนพรม บนเสื่อ มีเครื่องมืออุปกรณ์ต่าง ๆ ที่มีสีอ่อนและน้ำหนักเบาเพื่อให้เด็กได้สามารถควบคุมการใช้วัสดุเหล่านั้นด้วยตัวเอง ซึ่งจะเน้นให้เด็กรับรู้ถึงโครงสร้างของอุปกรณ์ที่จัดไว้ เพื่อทําให้เกิดการรับรู้โดยผ่านทางประสาทสัมผัส และการเคลื่อนไหว อุปกรณ์แต่ละชิ้นครูจะต้องสาธิตวิธีการใช้อุปกรณ์ให้เด็กดูก่อน ด้วยวิธีการที่ทําให้เด็กเกิดความสนใจและอยากทํางานกับอุปกรณ์นั้นมาใช้ต่อไป อุปกรณ์จะมีลําดับความยากง่ายต่อเนื่องกันไปและมีความสัมพันธ์กับวิชาที่เรียนต่อไปซึ่งตอบสนองความต้องการสําหรับช่วงเวลาหลักของชีวิต
การแบ่งหลักสูตรมอนเตสซอรี่
ทั้งนี้ มีการแบ่งหลักสูตรพื้นฐานสำหรับเด็กอายุ 3-6 ปีเป็นสามกลุ่มใหญ่ ๆ ได้แก่
1.การศึกษาทางด้านทักษะกลไก (Motor Education)
2. การศึกษาทางด้านประสาทสัมผัส (Education of the Senses)
3. การตระเตรียมสำหรับการเขียนและคณิตศาสตร์ (Preparation for Writing and Arithmetic)
โดยการสอนแบบมอนเตสซอรี่เพื่อเชื่อมโยงภาษากับอุปกรณ์หรือสิ่งของจะมี 3 ขั้นตอนด้วยกัน คือ
ขั้นที่ 1 การสังเกตเห็นลักษณะเฉพาะของสิ่งนั้น ทํ าให้เชื่อมโยงสิ่งที่ครูสาธิตให้ดูกับ ชื่อของสิ่งนั้นได้"นี่คือ........"
ขั้นที่ 2 การสังเกตเห็นความแตกต่าง เพื่อให้มั่นใจว่า เด็กเข้าใจเมื่อบอกเด็กว่า "อันไหน....."
ขั้นที่ 3 การ เห็นความแตกต่างระหว่างสิ่งที่คล้ายคลึงกัน และสามารถบอกชื่อของสิ่งของสิ่งนั้นได้ขั้นตอนนี้เพื่อจะได้ทราบว่า เด็กจําชื่อสิ่งต่างๆ ที่ครูสาธิตให้ดูได้หรือไม่ เช่น ชี้ที่สิ่งของแล้วถามว่า "อันนี้อะไร ....."
การเรียนการสอนแบบมอนเตสซอรี่ สามารถพัฒนาเด็กตั้งแต่วัยทารกจนถึงระดับมัธยม ทั้งเด็กที่มีความต้องการพิเศษและเด็กปกติ ทุกชนชาติ ศาสนา แต่ส่วนใหญ่รูปแบบการสอนนี้จะใช้กันอย่างแพร่หลายในระดับเด็กเล็ก หากปัจจุบันบางประเทศเช่น เยอรมนี และสหรัฐอเมริกา ได้นำเอารูปแบบการสอนแนวมอนเตสเซอรี่ไปใช้กับเด็กในระดับประถม และมัธยมแล้ว ส่วนในประเทศไทยเองก็มีโรงเรียนที่เปิดสอนด้วยหลักสูตรนี้อยู่ที่โรงเรียนอนุบาลกรแก้ว ซึ่งตั้งอยู่ 124 ซอยระนอง 1 ถนนพระรามที่ 5 เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300 และเปิดสอนมากว่า 15 ปีแล้ว
เป็นอย่างไรบ้างกับการได้รู้จักหลักสูตรมอนเตสซอรี่ หลายคนคงเห็นแล้วว่าหลักสูตรนี้มีการเรียนการสอนที่น่าสนใจและหากได้นำมาประยุกต์กับการเรียนการสอนในระบบการศึกษา ก็น่าจะช่วยพัฒนาคุณภาพการศึกษาบ้านเราไปไม่มากก็น้อย